วัดทรงธรรมวรวิหาร



วัดทรงธรรมวรวิหาร (Wat Songdham Worawihan) อำเภอพระประแดง เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองนครเขื่อนขันธ์ ในสังกัดรามัญนิกาย วัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นเป็นวัดแรกพร้อมการสร้างเมือง ที่มีประวัติความเป็นมานานกว่า 200 ปี เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวมอญที่อยู่ในถิ่นฐานพระประแดง ภายในวัดมีพระมหาธาตุรามัญเจดีย์ในรูปแบบมอญ เสาหงส์ ธงตะขาบ สัญลักษณ์แสดงตัวตนของชาวมอญ ที่ได้รับการสืบทอดทางวัฒนธรรมประเพณีมาจนถึงปัจจุบัน และที่วัดยังเป็นศูนย์กลางการจัดงานประเพณีแห่หงส์ ธงตะขาบ ในช่วงสงกรานต์ประจำทุกปีอีกด้วย การเดินทางมาวัดสะดวก หาง่าย อยู่ใกล้ตลาดพระประแดง

วัดทรงธรรมวรวิหาร เป็นวัดที่มีเส้นทางเข้าออกได้หลายทาง เดินทางมาได้จากถนนหลายสาย ประตูทางเข้าออกวัดมี 2 ประตู ประตูนึงติดถนนทรงธรรม ส่วนอีกประตูอยู่บนถนนเพชรหึงษ์ วัดตั้งอยู่ติดกับโรงเรียนวัดทรงธรรม ไม่ไกลจากตลาดพระประแดง ท่าน้ำพระประแดง และสวนสุขภาพลัดโพธิ์ ภายในวัดมีลานจอดรถสะดวก

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 พระองค์โปรดให้ ชาวมอญที่อพยพมาจากประเทศพม่า ได้เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยให้ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ต่อมาในปี พ.ศ.2357 - 2358 ทรงรับสั่งให้สร้างป้อมปราการ และตั้งเมืองใหม่ขึ้นในเขตปากน้ำ จึงได้ขอให้ย้ายครัวชาวมอญกว่า 300 ครอบครัว มาช่วยสมทบในการสร้างป้อมเพื่อเป็นหน้าด่านทางทะเล และเป็นชาวเมืองใหม่ ประจำ ณ ที่แห่งนี้ โดยให้กรมพระราชวังบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ (จุ้ย)* เป็นแม่กองในการสร้้างเมือง และพระราชทานชื่อเมืองนี้ว่า "นครเขื่อนขันธ์" พร้อมกันนั้นได้สร้่างวัดทรงธรรม ให้เป็นศูนย์รวมจิตใจแก่ชาวมอญ ได้ใช้ประกอบกิจต่างๆ ในทางพระพุทธศาสนา หลังจากกรมพระราชวังบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์สิ้น ก็โปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพ มาเป็นแม่กองช่วยสานต่อเนื่อง สร้างเมืองเพิ่มเติม ในปีพ.ศ.2363 และมาสร้างป้อมปราการที่ชื่อว่า “ป้อมเพชรหึง” ไว้ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณหน้าวัดทรงธรรม

* กรมพระราชวังบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ (หรือสมเด็จพระบวรเจ้ามหาเสนานุรักษ์) เป็นน้องชายร่วมมารดาเดียวกันกับรัชกาลที่ 2 ได้รับการโปรดเกล้าให้เป็นพระราชวังบวรสถานมงคล (มักเรียกว่าวังหน้า คือผู้มีสิทธิ์เป็นกษัตยริย์องค์ต่อไป) เป็นผู้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระเชษฐาหลายอย่าง แต่ได้สวรรคตลงเสียก่อน ส่วนพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพ นับเป็นน้องชายต่างมารดากับรัชกาลที่ 2 ซี่งต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเป็นกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพในสมัยรัชกาลที่ 3

เดิมวัดทรงธรรมที่สร้างขึ้นในครั้งแรกนั้นอยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา วัดหันหน้าไปทางแม่น้ำที่เป็นเส้นทางสัญจรหลัก ด้านหน้าวัดมีเจดีย์เก่าสไตล์มอญอยู่หนึ่งองค์* ส่วนโบสถ์จะอยู่ถัดไปด้านใน ชาวบ้านจึงเรียกวัดเป็นภาษามอญว่า แผ่เมิกแซม หรือ วัดหน้าโบสถ์ ครั้นเมื่อรัชกาลที่ 2 โปรดให้สร้างป้อมเพชรหึง** ไว้บริเวณริมแม่น้ำ วัดจึงต้องขยับย้ายเข้าไปด้านในแผ่นดินมากขึ้น เพื่อให้อยู่ภายในกำแพงป้อมปราการ ขณะย้ายวัดได้มีการสร้างศาลาการเปรียญ และกุฏิขึ้นใหม่ 3 หลัง ซึ่งกล่าวกันว่าศาลาการเปรียญหลังนี้ เคยเป็นศาลาทรงธรรมของรัชกาลที่ 2 และกรมพระราชวังบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ (พระอนุชา)

ล่วงมาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ครั้งที่พระองค์ทรงเสด็จมาถวายผ้าพระกฐินที่วัดทรงธรรม เมื่อเห็นวัดทรุดโทรม จึงโปรดให้พระยาดำรงราชพลขันธ์ (จั้ว คชเสนีย์) เจ้าเมืองนครเขื่อนขันธ์ลำดับที่ 2 ที่ปกครองเมืองอยู่ในขณะนั้น ได้ทำการบูรณะวัดขึ้นใหม่ และรื้อกุฏิ 3 หลังที่มีอยู่ มารวมเป็นหลังเดียวกัน

ชื่อวัดทรงธรรมนั้น ครั้งนึงชาวบ้านเคยเรียกว่า แผ่พระครู หรือ วัดพระครู ด้วยคำว่าพระครูนี้ มาจากวัดทรงธรรมเป็นวัดหลวง เจ้าอาวาสที่ประจำวัดจะต้องมีสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร ในเวลาต่อมา รัชกาลที่ 4 ทรงเปลี่ยนชื่อวัดใหม่ให้เป็น วัดดำรงค์ราชธรรม แต่ก็เรียกเพียง วัดทรงธรรม ซึ่งกล่าวกันว่า เพราะเป็นวัดที่มีศาลาทรงธรรม ของรัชกาลที่ 2 นั่นเอง

* รามัญเจดีย์เก่าแก่ที่สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างวัดนั้น ปัจจุบันยังคงมีให้เห็นอยู่ ตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียนอำนวยวิทย์ ที่อยู่ตรงริมเขื่อน จึงเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่บ่งชี้ว่า วัดแห่งนี้เคยตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยามาก่อนจริงๆ

** ป้อมเพชรหึง ปัจจุบันเหลือซากกำแพงให้เห็นเพียงเล็กน้อย (ไม่สามารถเข้าไปดูได้) อยู่ในบริเวณด้านหลังสถานสงเคราะห์คนพิการและทุพพลภาพพระประแดง ที่ถัดจากโรงเรียนอำนวยวิทย์ไปหน่อย


พระมหาธาตุรามัญเจดีย์

พระมหาธาตุรามัญเจดีย์ ที่เห็นอยู่ภายในวัดทรงธรรม เป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดให้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากพระบรมมหาราชวังมาบรรจุไว้ที่องค์เจดีย์ 8 องค์ ทั้งยังอัญเชิญพระพุทธรูปมาให้กับทางวัดอีกจำนวนหนึ่ง พระบรมสารีริกธาตุนั้น อัญเชิญขึ้นบรรจุในองค์พระเจดีย์ 4 องค์ และทรงเลือกพระพุทธรูป 1 องค์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนที่เหลือไว้ในพระเกศา ส่วนพระพุทธรูปอื่นๆ ที่นำมาด้วย เก็บไว้ภายในพระมหาธาตุเจดีย์

เจดีย์ย่อมุมสิบสองสีขาวองค์ใหญ่ภายในวัด นับเป็นสถาปัตยกรรมที่แสดงอัตลักษณ์ของเจดีย์รูปแบบรามัญ ประกอบด้วยเจดีย์ประธานตรงกลาง มีขนาดกว้าง 10 วา 2 ศอก (21 เมตร) และสูงจากฐานถึงยอดฉัตร 11 วา 3 ศอก (23.5 เมตร) ฐานเจดีย์มีลักษณะกว้าง แล้วค่อยๆ ลดหลั่นไปจนถึงยอด ปลายยอดคลุมด้วยยอดฉัตร 9 ชั้น รอบฐานองค์เจดีย์ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างไว้โดยรอบ ถัดจากองค์เจดีย์ มีลานประทักษิณ แล้วล้อมด้วยกำแพงแก้วอีกชั้นหนึ่ง มุมทั้งสี่ของกำแพงแก้วมีเจดีย์องค์เล็ก ขนาดกว้าง 5 ศอก สูง 3 วา 1 ศอก ประดับไว้ทั้ง 4 ทิศ
 

วิหารบูรพาจารย์ และหลวงพ่อทันใจ

วิหารบูรพาจารย์​ เป็นวิหารที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2518 ลักษณะวิหารเป็นอาคารยกพื้นแบบซุ้มศาลาแนวยาว มีผนังด้านเดียว ส่วนด้านหน้าและด้านข้างเปิดโล่ง มีเพียงระเบียงกั้น ด้านหน้าตัวอาคารมีมุขยื่นออกมา ผนังและเสาประดับด้วยกระจกแผ่นเล็กๆ ทั้งอาคาร คันทวยประดับรับเชิงชายคาบริเวณบัวหัวเสา เป็นคอหงส์โค้งงอน

อาคารวิหาร มีบันไดทางขึ้นอยู่ด้านข้าง บันไดเพียงไม่กี่ขั้นไปสู่ตัวอาคาร บนวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปและพระเกจิอาจารย์วางเรียงหันหน้าไปในทิศทางเดียวกัน ประธานองค์แรกเป็นหลวงทันใจ จากนั้นจะเป็นรูปหล่ออดีตเจ้าอาวาสวัดทรงธรรมแต่ละองค์ บริเวณด้านหลังรูปเหมือนรูปปั้นบูรพาจารย์แต่ละท่าน ประดับตกแต่งผนังด้วยแผ่นประดับที่มีลวดลายละเอียดงดงามตามรูปแบบรามัญ

- หลวงพ่อทันใจ เป็นศิลปะตามแบบมอญรามัญ ส่วนใหญ่จะพบเห็นได้ในประเทศพม่า พุทธลักษณะนั่งขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย  พระพักตร์กว้างดูอวบอิ่ม พระเกศาม้วนกลมเป็นมวยด้านบน ไม่มีเปลวพระเกศ พระพุทธรูปนี้ตั้งชื่อตามการสร้างที่รวดเร็วทันใจ ใช้เวลาสร้างเพียง 1 คืน ตั้งแต่เริ่มสร้างตอนเที่ยงคืน และต้องเสร็จก่อนตะวันตกดิน

- รูปปั้นเทพทันใจ นัตโบโบจี เทพทันใจชี้นิ้วที่คนไทยไปพม่าแล้วต้องไปขอพร (ไม่ใช่พระ) ก็ได้จำลองมาวางไว้ใกล้กับหลวงพ่อทันใจ เวลาขอพรจะต้องเอาหน้าผากไปแตะตรงนิ้วชี้ที่ยื่นออกมา

นอกจากนี้ในวิหาร ยังประดิษฐานรูปหล่ออดีตเจ้าอาวาสของวัด ดังนี้

- ท่านเจ้าคุณพระอุดมญาณ (หลวงปู่แหล่ว) อดีตเจ้าคณะจังหวัดนครเขื่อนขันธ์
- ท่านเจ้าพระคุณอุดมวิจารณ์ (หลวงปู่กลั่น) เป็นผู้สร้างโรงเรียนวัดกลางนา และโรงเรียนวัดทรงธรรม
- ท่านเจ้าคุณพระราชธรรมวิสารท (หลวงปู่สุก) เจ้าคุณแข้งดำ หรือเจ้าคุณดุ๊ เป็นพระผู้รักษาวินัยอย่างเคร่งครัด
- ท่านเจ้าพระคุณราชวิสารทะ (หลวงปู่เจิน)
- ท่านพระครูสมุทรวราภรณ์ (หลวงพ่อมหาวารี)
 

พระอุโบสถ

พระอุโบสถของวัด ตั้งอยู่ในที่เดิมเมื่อครั้งเริ่มสร้างวัด แต่เดิมสร้างด้วยเครื่องไม้ฝากระดาน ต่อมาสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงรับสั่งให้พระยาดำรงราชพลขันธ์ (จุ้ย คชเสนี)​ ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ จึงได้มีการรื้อโบสถ์ สร้างใหม่ให้เป็นแบบก่ออิฐถือปูน หลังคาประดับช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ เสารอบพระอุโบสถ เป็นเสากลมคู่รองรับชายคาด้านนอก มีทั้งหมด 28 คู่ (56 ต้น) ประตูทางเข้าด้านหน้ามี 2 บาน ด้านข้างเจาะช่องหน้าต่าง ทั้งประตูหน้าต่างเป็นแบบเรียบๆ ไม่ประดับซุ้มกรอบใดๆ ถัดจากตัวอาคารพระอุโบสถ โดยรอบเป็นลานประทักษิณกว้าง และมีกำแพงแก้วล้อมรอบทั้งสี่ด้าน ซุ้มประตูกำแพงแก้วเป็นทรงกลมมน ประดับลวดลายดอกบัว

ภายในพระอุโบสถ ประดิษฐานพระประธาน เป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยปางมารวิชัยที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงเลือกอัญเชิญมาถวาย เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในการถวายผ้าพระกฐิน พระอุโบสถหลังนี้ยังเคยได้ใช้เป็นสถานที่ที่ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการในสมัยที่ยังเป็นจังหวัดพระประแดงด้วย
 

วิหาร

วิหารของวัดทรงธรรม สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2401-2405) ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าพระอุโบสถ ใกล้กับพระมหารามัญเจดีย์ เป็นวิหารที่ไม่มีกำแพงแก้วล้อมรอบ  

ลักษณะวิหารก่ออิฐถือปูน ประดับช่อฟ้าใบระกาทำด้วยไม้สัก หน้าบันเป็นลายเทพนม ภายในวิหารประดิษฐานพระประธานชื่อว่า "พระพุทธทรงธรรม" พระพุทธรูปไม้ในพุทธลักษณะปางห้ามญาติ (ห้ามสมุทร) ประทับยืนอยู่ภายในซุ้มที่ทำจากโลหะ เป็นกรอบฉลุลวดลายละเอียดงดงามตามรูปแบบของมอญ ด้านหน้าพระประธานมีพระพุทธปฏิมาหลายองค์ บางองค์เป็นพระพุทธรูปไม้เก่าแก่ มีทั้งปางสมาธิ และปางมารวิชัย ต่อมาทางวัดได้จัดสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองไว้บริเวณด้านหน้าพระประธาน และจัดให้มีงานปิดทองพระพุทธบาทจำลองขึ้นทุกปี
 

พระมณฑปกลางน้ำ

พระมณฑป ตั้งอยู่ไม่ไกลจากวิหารบูรพาจารย์ เป็นมณฑปทรงจตุรมุข ฐานยกสูง ใต้ฐานทำเป็นบ่อปลาบ่อเตา ภายในพระมณฑปประดิษฐานพระมหาเศรษฐีนวโกฏิ* ซึ่งเป็นพระภิกษุชั้นพระโสดาบัน พระอริยบุคคล 9 รูป เป็นการสร้างขึ้นเพื่อบูชาอานิสงค์ของการเสียสละของแต่ละรูป มักจะสร้่างเหมือนพระพุทธรูปมี 9 พระพักตร์ ในเศียรเดียว การบูชาพระเศรษฐีนวโกฏิ เชื่อว่าจะให้โชคลาภ มีความเจริญรุ่งเรือง ปกปักษ์รักษา คุ้มครองให้เป็นสุขร่มเย็น

* พระมหาเศรษฐีนวโกฏิ มีลักษณะเหมือนพระพุทธรูป แต่ไม่ใช่พระพุทธเจ้า หรือปางใดของพระพุทธเจ้า เป็นรูปเคารพที่สร้างแทนมหาเศรษฐี 9 ท่านเมื่อครั้งพุทธกาล เป็นคติความเชื่อที่ได้มาจากตำราของล้านช้าง ว่าเป็นยอดของมหาเศรษฐีที่บริจาคทานเป็นจำนวนมาก จึงมีการนำพระคาถามากล่าวนามสรรเสริญ และสร้างเป็นรูปเคารพในท่านั่งคล้ายพระพุทธรูป

สิ่งที่น่าสนใจอื่นๆ ภายในวัด

- ตุ๊กตาไม้รูปชูชก และอมิตดา เป็นตุ๊กตาไม้ค้นพบได้ในวัด ปัจจุบันตั้งอยู่ในกุฏิเจ้าอาวาส สันนิษฐานว่าน่าจะอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยศึกษาจากเครื่องนุ่งห่ม และลายผ้าตุ๊กตา และเป็นที่มาของวัตถุมงคล เมตตามหานิยม ช่วยเรื่องการติดต่อค้าขาย
- พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดทรงธรรม เป็นการจัดเก็บ จัดแสดงของเก่าของโบราณ ข้าวของเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้านชาวมอญ ที่รวบรวมได้ เช่น รถลาก กระติกน้ำ ขันน้ำ เครื่องปั้นดินเผาต่างๆ เป็นต้น

 

งานประจำปีของวัดทรงธรรม

- วันที่ 7-9 เมษายน ของทุกปี มีการทำบุญประจำปีของทางวัด
- วันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปี มีการถวายสลากภัตร จับสลากถวายของพระ เป็นการถวายทานตามกาล
- ก่อนวันออกพรรษา 1 วัน (เวลา 15.30 น.) มีการแห่ผ้าแดง และนำขึ้นห่มเพื่อเป็นการถวายสักการะแก่พระมหาธาตุรามัญเจดีย์
- วันที่ 13 เมษายน ของทุกปี (วันสงกรานต์) มีขบวนแห่หงส์-ธงตะขาบ และชักธงตะขาบขึ้นสู่เสาหงส์
 

การแห่หงส์ -ธงตะขาบ

ธงตะขาบ ถือเป็นเครื่องสูง เครื่องบูชา เป็นธงที่ทำขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา ถวายการสักการะแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในวันออกพรรษา ซึ่งตามพระพุทธประวัติกล่าวว่า ในช่วงเข้าพรรษาพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อโปรดพุทธมารดาเป็นเวลา 3 เดือน หลังจากนั้นพระพุทธองค์จะเสด็จกลับลงมาโลกมนุษย์ ก็จะมีผู้คนและเทวดามาเฝ้ารอรับพระองค์ โดยมีการทำธงผ้า ตุง(ธงทางเหนือ) หรือพระบฏ (ผืนผ้าที่มีรูปพระพุทธเจ้าสำหรับบูชา) คอยต้อนรับ

สำหรับชาวมอญแล้ว จะทำธงตะขาบนำแขวนบนยอดเสาในวัดมอญ เพื่อถวายแด่พระพุทธเจ้าในวันสงกรานต์  ลักษณะธงตะขาบนี้จะทำเป็นความกว้างของลำตัวแบ่งเป็น 5 ช่อง (เปรียบดั่งศีล 5) และมีความยาวเป็นปล้องๆ ลงมา 9 ปล้อง รวมทั้งสิ้น 45 ช่องตามจำนวนพรรษาของพระพุทธเจ้า บนธงนี้มีตา 2 ข้าง หนวด และเขี้ยว หมายถึงสติสัมปชัญญะ หิริโอตัปปะ และความกตัญญูกตเวที

 

การสรงน้ำพระมหาธาตุรามัญเจดีย์

ทางวัดจัดพิธีสรงน้ำพระมหาธาตุรามัญเจดีย์ ในวันสงกรานต์ของทุกปี โดยมีผู้แทนพระองค์อัญเชิญเครื่องสรงน้ำพระราชทานมายังวัด มีการสวดแบบรามัญ ซึ่งเป็นเพียงวัดเดียวที่ยังคงสวดแบบมอญ ชาวมอญในพื้นที่ต่างแต่งกายตามแบบมอญ การสรงน้ำจะเริ่มจากประธานในพิธีเป็นตัวแทนสรงน้ำพระราชทาน โดยการชักรอกขึ้นไปยังยอดพระเจดีย์ หลังจากนั้นประชาชนทั่วไปก็สามารถสรงน้ำพระเจดีย์ได้

ข้อแนะนำ

- พระมหาธาตุรามัญเจดีย์ มีทางขึ้นไปบนองค์เจดีย์ ซึ่งปกติจะไม่อนุญาตให้ผู้หญิงขึ้นไป ส่วนผู้ชายสามารถขึ้นไปได้
- ในวันธรรมดา พระอุโบสถของวัดมักจะไม่เปิดให้เข้าไปภายใน ส่วนวิหารสามารถเข้าไปกราบสักการะพระภายในได้
 

สถานที่น่าสนใจบริเวณใกล้เคียง

- สวนสุขภาพลัดโพธิ์ และประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์
- ตลาดพระประแดง
- ป้อมแผลงไฟฟ้า
- ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองพระประแดง
- ศาลเจ้าพ่อเสื้อเมือง

การเดินทาง

ห่างจากสวนสุขภาพลัดโพธิ์   300 เมตร
ห่างจากศาลหลักเมืองพระประแดง   500 เมตร
ห่างจากป้อมแผลงไฟฟ้า   1 กิโลเมตร
ห่างจากตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง   5 กิโลเมตร
 

เส้นทางรถยนต์

เส้นทาง ถนนสุขสวัสดิ์ -> เลี้ยวเข้าอำเภอพระประแดง (ถนนศรีเขื่อนขันธ์)

1 ใช้เส้นทางถนนสุขสวัสดิ์ มุ่งหน้าอำเภอพระประแดง จากนั้นเลี้ยวเข้าไปทางตัวอำเภอพระประแดง จนกระทั่งสุดทาง เส้นทางจะบังคับเลี้ยวซ้าย (ถนนเส้นนี้คือถนนเพชรหึงษ์)  จากนั้นตรงตามเส้นทางไปเรื่อยๆ
2 ใช้เส้นทางถนนสุขสวัสดิ์ มุ่งหน้าไปทางพระประแดง พอผ่านแยกขึ้นสะพานภูมิพลไปไม่ไกลนัก เลี้ยวซ้ายไปทาง อ.พระประแดง
3 เมื่อเลี้ยวซ้ายมาแล้ว (เป็นถนนนครเขื่อนขันธ์) ตรงตามถนนเส้นนี้ไปราว 1 กิโลเมตร จะผ่านซุ้มประตูเมืองนครเขื่อนขันธ์ตลาดพระประแดง จากนั้นถนนจะบังคับเลี้ยวซ้าย
4 พอเส้นทางเลี้ยวซ้ายไปหน่อย วัดทรงธรรมอยู่ทางซ้ายมือ

* หากใช้ทางด่วนเฉลิมมหานคร ตามป้ายบอกทางดาวคะนองมาเรื่อยๆ พอข้ามสะพานพระราม 9 (สะพานแขวน) ชิดซ้าย ออกถนนสุขสวัสดิ์ จากนั้นตรงไปอีกไม่ไกลนัก จะเป็นสามแยกพระประแดง จึงเลี้ยวซ้ายเข้าอำเภอพระประแดง

** หากใช้วงแหวนอุตสาหกรรม สะพานภูมิพล (จากถนนปู่เจ้าสมิงพราย หรือ ถนนพระราม 3) ตามป้ายลงถนนสุขสวัสดิ์ จากนั้นตามป้ายพระประแดง พอเลี้ยวเข้าถนนสุขสวัสดิ์ไปไม่ไกล ก็เป็นแยกพระประแดงแล้ว เลี้ยวซ้ายเพื่อเข้าอำเภอพระประแดง

*** หากใช้ถนนกาญจนาภิเษก (จากทั้งฝั่งตะวันออก และตะวันตก) ออกถนนสุขสวัสดิ์ จากนั้นตามป้ายพระประแดง

 

รถโดยสารประจำทาง (ดูรายละเอียด เส้นทางรถประจำทาง)

รถเมล์

- ขึ้นรถเมล์ที่เข้าไปยังท่าน้ำพระประแดง รถเมล์สายที่ผ่าน ได้แก่ สาย 6, 82, 138 (สาย 138 คันที่เขียนว่าเข้าท่าน้ำพระประแดง) มาลงป้ายตลาดพระประแดง จากนั้นเดินตรงต่อไปอีกหน่อย เลี้ยวเข้าถนนบ้านแซ่ ข้าง 7-11 (ซอยอยู่ตรงข้ามซุ้มศาลหลักเมือง) เดินตรงจนสุดทาง ประมาณ 300 เมตรจะเป็นทางเข้าวัดทรงธรรม
- หากนั่งรถเมล์สาย 140 (ทางด่วน), 142 (ทางด่วน) พอลงจากทางด่วนแล้ว ให้ลงรถเมล์ป้ายแรก (เรียกว่าป้ายวัดสน) แล้วต่อรถเมล์สาย 82, 138 (ที่เขียนว่าเข้าท่าน้ำพระประแดง) ลงตลาดพระประแดงแล้วเดินไป

 

เรือข้ามฟาก  (ดูเพิ่มเติมเรื่อง เรือข้ามฟาก)

- แนะนำให้นั่งเรือข้ามฟากจากท่าเรือเภตรา** (ตรงสุดถนนปู่เจ้าสมิงพราย) จะมาขึ้นตรงท่าน้ำพระประแดง แถวหน้าที่ว่าการอำเภอพระประแดง จากนั้นเดินตรงตามถนนไปทางหน้าตลาด เข้าซอยบ้านแซ่ ข้าง 7-11 ไปราว 300 เมตร

** ท่าเรือนี้มีแพขนานยนต์ รับรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ จักรยาน ข้ามฟากมาได้ มาขึ้นฝั่งพระประแดงตรงหน้าสถานีตำรวจ ขึ้นมาแล้วเลี้ยวขวา จากนั้นเลี้ยวซ้ายข้างที่ว่าการ แล้วเลี้ยวขวาแยกแรก (ข้างแว่นท็อปเจริญ) ตรงไปราว 400 เมตร วัดอยู่ซ้ายมือ

 

ข้อมูลการติดต่อ วัดทรงธรรมวรวิหาร

ที่อยู่ ซอยบ้านแซ่ ถนนทรงธรรม ตำบลตลาด อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 10130
โทร. 02-464-3794, 02-463-5433

ข้อมูลจากแหล่งอื่น และ รีวิว :

แผนที่

แสดงร้านอาหารใกล้เคียง
สถานที่เที่ยวใกล้เคียง
ห่างออกไป ประมาณ: 0.4 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองพระประแดง (Phra Pradaeng City Pillar Shrine) เป็นศาลหลักเมืองแห่งเดียวที่ประดิษฐานองค์พระพิฆเนศเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ที่เป็นศูนย์รวมจิตใจ ความศรัทธาของชาวพระประแดง และชาวปากน้ำ แต่ละวันจะมีผู้คนมากราบสักการะ ขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคล ความสำเร็จ สมปรารถนา และช่วยขจัดปัดเป่าความไม่ดีในชีวิต ศาลหลักเมืองตั้งอยู่ในบริเวณตลาดพระประแดง ใกล้ศาลพระเสื้อเมือง และป้อมแผลงไฟฟ้า การเดินทางสะดวก ทั้งทางรถยนต์ รถโดยสารประจำทาง และเรือข้ามฟาก
ห่างออกไป ประมาณ: 0.4 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
สวนสุขภาพลัดโพธิ์ เป็นสวนสาธารณะบริเวณใต้สะพานภูมิพล ในย่านพระประแดง สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ผู้คนได้มานั่งเล่น เดินเล่น แวะให้อาหารปลา ชวนกันมาวิ่งออกกำลังกาย ชมวิวสะพานภูมิพล เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของสะพานภูมิพล และชุมชนย่านพระประแดง นอกจากนี้ภายในสวนสุขภาพ มีพิพิธภัณฑ์วงแหวนอุตสาหกรรม ทั้งยังเป็นจุดนัดพบของชาวนักปั่น นัดกันเที่ยวในช่วงวันหยุด การเดินทางมายังสวนสุขภาพลัดโพธิ์ ไม่ซับซ้อน และมีลานจอดรถในบริเวณนี้ด้วย
ห่างออกไป ประมาณ: 0.5 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
ศาลพระเสื้อเมือง หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "ศาลเจ้าแม่" เป็นอีกศาลหนึ่งในย่านพระประแดง ที่ชาวพระประแดงให้ความเคารพศรัทธากันมาก ศาลนี้ตั้งอยู่ในบริเวณตลาดพระประแดง ใกล้กับศาลหลักเมืองพระประแดง และป้อมแผลงไฟฟ้า ซึ่งเป็นสถานที่เที่ยวชมที่เดินถึงกันได้ไม่ไกลนัก การเดินทางมาตลาดพระประแดง และศาลพระเสื้อเมือง เดินทางมาได้ทั้งทางรถยนต์ รถโดยสารประจำทาง และเรือข้ามฟาก
ห่างออกไป ประมาณ: 0.6 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
ป้อมแผลงไฟฟ้า (Phlaeng Faifa Fortress) หนึ่งในป้อมปราการสำคัญที่ตั้งอยู่ในอำเภอพระประแดง ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นป้อมเดียวในอำเภอพระประแดงที่ยังคงมีสภาพเหลือให้เห็นค่อนข้างสมบูรณ์ สถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งนี้ กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนให้เป็นโบราณสถาน เพื่อการเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ชาติไทย สำหรับอนุชนคนรุ่นหลัง ได้รำลึกถึงอดีต ป้อมนี้อยู่ติดกับตลาดเทศบาล มีเส้นทางรถยนต์เข้าถึงได้ และสามารถเดินทางมาโดยรถเมล์ หรือเรือข้ามฟาก
ห่างออกไป ประมาณ: 1 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
วัดโปรดเกศเชษฐาราม เป็นวัดไทย-พุทธเพียงวัดเดียวในย่านพระประแดง วัดที่มีมาตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ภายในวัดมีสถาปัตยกรรม และงานจิตรกรรมเก่าแก่ ถือเป็นมรดกตกทอดจากช่างฝีมือในยุคเก่า ชมพระมณฑปกลางน้ำ กราบนมัสการพระพุทธชินนาถศาสดา และพระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดสมุทรปราการ นอกจากนี้ยังเป็นวัดที่มีการจัดงานสงกรานต์ ปล่อยนกปล่อยปลาประจำทุกปี การเดินทางมาวัดได้ทั้งถนนสุขสวัสดิ์ หรือจะมาเรือข้ามฟาก ก็มีท่าเรือข้ามฟากอยู่ตรงวัดเลย
ห่างออกไป ประมาณ: 1.1 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
วัดไพชยนต์พลเสพย์ราชวรวิหาร วัดไทย-รามัญในอำเภอพระประแดง ที่เคยมีความรุ่งเรืองมาตั้งแต่ครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ภายในวัดมีสถาปัตยกรรมที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ศิลปกรรมเก่าแก่ และจิตรกรรมโบราณที่ทรงคุณค่า สิ่งที่เด่นที่สุดคือบุษบกยอดปรางค์ที่เคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ภายในพระอุโบสถ เป็นงานช่างสกุลวังหน้า ที่หาชมได้ยาก การเดินทางมาเที่ยวชมวัด มาได้หลายเส้นทาง ทั้งทางรถยนต์ หรือจะนั่งเรือข้ามฟากมาก็ได้
ห่างออกไป ประมาณ: 4 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
คุ้งบางกะเจ้า เป็นพื้นที่สีเขียวที่ยังคงเหลือไว้ให้เป็นปอดของคนเมือง ทั้งคนกรุงเทพฯ และชาวสมุทรปราการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงศึกษาระบบนิเวศธรรมชาติ และชมวิถีชีวิตชุมชน เหมาะกับการเที่ยวแบบวันเดียวจบ ชวนครอบครัว และกลุ่มเพื่อน เติมพลังให้กับชีวิต ด้วยการปั่นจักรยานเที่ยว เพิ่มออกซิเจนให้ปอด ชื่นชมธรรมชาติสีเขียวที่สวนศรีนครเขื่อนขันธ์ เที่ยวแนวอีโค่ทริป ชวนกันไปทำกิจกรรมชิคๆ ย้อมผ้าบาติกมัดย้อม ธูปหอมสมุนไพร ชมพิพิธภัณฑ์ปลากัดของไทย สัมผัสวิถีชีวิต Slow life นั่งชมเรือใหญ่ในแม่น้ำเจ้าพระยา ไหว้พระในวัดเก่าแก่ เดินช้อป แวะชิมของกินมากมายในตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง และยังมีที่เที่ยวเชิงศึกษานิเวศชุมชนท้องถิ่นอีกมากมาย มีจักรยานให้เช่าหลายจุด เดินทางมาง่าย จะเอารถมาเองหรือไม่ ก็ไม่ลำบากเลย
ห่างออกไป ประมาณ: 4.6 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง (Bangnamphung Floating Market) ในคุ้งบางกะเจ้า อำเภอพระประแดง ตลาดต้องชมของจังหวัดสมุทรปราการ เป็นตลาดนัดท้องถิ่นขนาดใหญ่ สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ จุดช้อป นัดมาชิมกันทุกวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์ แหล่งอาหารการกิน ของคาวของหวาน ของกินเล่น ของสดของแห้ง ผักผลไม้ สินค้าพื้นถิ่น ยังเป็นเที่ยวชมของผู้ที่มาปั่นจักรยานเที่ยวคุ้งบางกะเจ้า การเดินทางรถยนต์ ตลาดนี้รถยนต์เข้าถึงได้ แม้ไม่มีรถก็มีรถโดยสารประจำทางท้องถิ่น และเรือข้ามฟาก
ห่างออกไป ประมาณ: 4.9 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
สวนศรีนครเขื่อนขันธ์ หนึ่งในไฮไลท์ของการปั่นจักรยานเที่ยวคุ้งบางกะเจ้า หากไม่ได้แวะมาที่นี่ เท่ากับว่ายังมาไม่ถึงคุ้งบางกะเจ้าก็ว่าได้ เที่ยวชมสวนที่มีความเป็นธรรมชาติทั้งที ต้องขี่จักรยานเที่ยว ซอกแซกมุดซุ้มต้นไม้ สูดอากาศให้เต็มปอด พักสายตากับสีเขียวของต้นไม้ ใต้ความร่มรื่นของสวนป่า ให้อาหารปลา เดินชมวิวสบายตาที่สะพานไม้ริมบึงใหญ่ แล้วชักชวนกันไปปีนหอดูนก ปิดท้ายด้วยยกก๊วนโพสท่าถ่ายรูปเก๋ๆ กับลานไม้ระแนงก่อนกลับ นับว่าเป็นสวนที่เหมาะกับทุกเพศทุกวัย
ห่างออกไป ประมาณ: 5.2 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
พิพิธภัณฑ์ปลากัดไทย ตั้งอยู่ในบริเวณคุ้งบางกะเจ้า ใกล้กับสวนศรีนครเขื่อนขันธ์ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเรื่องราวของปลากัด ที่เคยอยู่ใกล้ชิดกับวิถีชีวิตคนไทยมาตั้งแต่ยุคเก่าก่อน นำมาต่อสู้พนันขันต่อจนเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ปัจจุบันได้นำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม หรือเป็นงานอดิเรก นับเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับปลากัดที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง ที่พิพิธภัณฑ์ มีปลาให้ชม ได้เพิ่มเติมความรู้เรื่องปลากัด และยังเป็นสถานที่พักผ่อน มีความร่มรื่น แวะมาเที่ยวได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อยู่ในเส้นทางปั่นจักรยานเที่ยวคุ้งบางกะเจ้า ที่รถยนต์เข้าถึงได้ เปิดให้เข้าชมเฉพาะวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ​์
ห่างออกไป ประมาณ: 5.2 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
บ้านธูปหอมสมุนไพร อยู่ในบริเวณคุ้งบางกะเจ้า ใกล้กับตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และเป็นเส้นทางปั่นจักรยานเที่ยวคุ้งบางกะเจ้า บ้านธูปหอมสมุนไพร เปิดชมในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ร่วมทำกิจกรรมเบาๆ เข้าใจง่าย ใช้เวลาไม่มาก ในการลงมือทำธูปหอมไล่ยุง และผ้ามัดย้อม งานวิถีชาวบ้านที่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้จัก ไม่เคยเห็น กิจกรรมนี้เหมาะกับครอบครัว กลุ่มเพื่อน หรือแนะนำชาวต่างชาติให้มาร่วมสืบสานวิถีชีวิตในแบบไทยๆ
ห่างออกไป ประมาณ: 5.6 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
ฟาร์มเห็ดช่างแดง เป็นฟาร์มที่อยู่ในคุ้งบางกะเจ้า นับเป็นหนึ่งในแหล่งเที่ยวชมภูมิปัญญาทางการเกษตรชุมชน ได้เห็นวิถีชีวิตการทำอาชีพเพาะเห็ด เหมาะสำหรับนักเรียน นักศึกษา ชาวต่างชาติ และผู้ที่สนใจเรียนรู้การทำก้อนเห็ด เพาะเห็ด และศึกษาเพื่อนำไปต่อยอดสร้างอาชีพได้ ทางไปฟาร์มเห็ดช่างแดงมีรถยนต์เข้าถึง หรือคนที่ปั่นจักรยานเที่ยวคุ้งบางกะเจ้าอยู่แล้ว จะแวะชมก็อยู่ไม่ไกลจากวัดบางน้ำผึ้งนอก
ห่างออกไป ประมาณ: 5.9 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
วัดบางน้ำผึ้งนอก วัดเก่าแก่อายุราว 350 ปี โบราณสถานที่ยังคงคุณค่าทางสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย แวะกราบขอพรหลวงพ่อใหญ่ ชมภาพจิตรกรรมในพระอุโบสถหลังเก่า ที่เป็นตำนานเล่าขาน บนบานหน้าต่างโบสถ์ ที่มาของคำว่ามอญแหวก (ปัจจุบันภาพเลือนลางไปมาก) เดินเล่นชมวิวทิวทัศน์แม่น้ำเจ้าพระยาที่ท่าน้ำ มีศาลาให้นั่งพัก ถ่ายภาพแม่น้ำมุมกว้าง และมีท่าเรือข้ามฟากใหญ่ ที่ข้ามมาจากวัดบางนานอก เพื่อจะไปยังตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง บริเวณวัดมีร้านเช่าจักรยาน และร้านค้ามากมาย
ห่างออกไป ประมาณ: 6.8 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ (The Erawan Museum) เป็นสถานที่แสดงศิลปกรรมในแนวอุดมคติ ที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อทางศาสนา และจักรวาล เกิดจากการสร้างสรรค์ความงามทางตะวันออกแบบไทย ผสมผสานกับงานศิลปะตะวันตก ก่อให้เกิดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่วิจิตรงดงามและทรงคุณค่า ทั้งด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม วิจิตรศิลป์ และประณีตศิลป์อันละเอียดอ่อน ทั้งยังเป็นสถานที่จัดเก็บรักษาโบราณวัตถุ ของเก่าของสะสมของคุณเล็ก วิริยะพันธุ์ ผู้รักและหลงใหลในงานศิลปะอีกด้วย การเดินทางมายังพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ ไม่ยากเลย สถานที่ตั้งอยู่ริมถนนสุขุมวิท ก่อนเข้าตัวเมืองปากน้ำ มีรถเมล์ผ่านหลายสาย และจะมีรถไฟฟ้า BTS ผ่าน
ห่างออกไป ประมาณ: 8.7 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ เป็นแหล่งรวบรวมและอนุรักษ์ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ อาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ ในกิจการทหารเรือ ที่เคยใช้งานจริงในกองทัพเรือไทย ทั้งยังจัดแสดงข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เรือจำลองสมัยต่างๆ เพื่อเป็นการให้ความรู้ บอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เหมาะกับการพาครอบครัวมาเที่ยวชมในวันหยุด นักเรียนนักศึกษามาทัศนศึกษา เป็นการได้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลิน พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ริมถนนสุขุมวิท เดินทางสะดวก มาโดยรถโดยสารก็ไม่ยุ่งยาก มีรถเมล์ผ่านหน้าพิพิธภัณฑ์หลายสาย
ห่างออกไป ประมาณ: 8.8 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
พระสมุทรเจดีย์ หรือพระเจดีย์กลางน้ำ* ปูชนียสถานเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง มีมาตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 2 เป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดสมุทรปราการ ศูนย์รวมแห่งจิตใจและจิตวิญญานของชาวปากน้ำ มีประวัติความเป็นมายาวนาน และเป็นเจดีย์ที่มีพระเจ้าแผ่นดิน 4 รัชกาลช่วยกันปรับปรุง ทำนุบำรุงรักษา จนได้ชื่อว่าเป็นสถานที่ที่มีความผสมผสานทางสถาปัตยกรรมทั้งไทย จีน ยุโรป บริเวณองค์พระสมุทรเจดีย์จะมีงานเฉลิมฉลองประจำปีที่ยิ่งใหญ่ทุกปี งานแห่ผ้าห่มองค์พระเจดีย์ ที่มีมานานกว่า 180 ปี การเดินทางไปยังพระสมุทรเจดีย์สะดวก ทั้งรถยนต์ รถโดยสารประจำทาง และเรือข้ามฟาก
ห่างออกไป ประมาณ: 9.3 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
ป้อมผีเสื้อสมุทร (Phi Seur Samut Fort) เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของชาติ ตั้งอยู่ในอำเภอพระสมุทรเจดีย์ ป้อมปืนเก่าแก่เกือบ 200 ปี มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 ที่ยังคงได้รับการอนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานได้เรียนรู้สถานที่จริงทางประวัติศาสตร์ ศึกษาระบบนิเวศริมชายฝั่งแม่น้ำ ทั้งยังได้เดินเล่นพักผ่อนหย่อนใจ ชมธรรมชาติ ชมค้างคาวแม่ไก่เกาะตามยอดไม้ ป้อมผีเสื้อสมุทรตั้งอยู่ในบริเวณที่รถยนต์เข้าไม่ถึง ต้องเดินจากองค์พระสมุทรเจดีย์ไป ซึ่งอยู่ในระยะไม่ไกลมากนัก หากจะนำจักรยานไปด้วยก็ไม่ลำบาก
ห่างออกไป ประมาณ: 9.9 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
อุทยานการเรียนรู้ และหอชมเมืองสมุทรปราการ แลนด์มาร์คกลางเมืองสมุทรปราการ ศูนย์กลางข้อมูลเกี่ยวกับจังหวัดในทุกด้าน และจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวแหล่งใหม่ ที่จะเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าชม ภายในอาคารประกอบด้วยส่วนนิทรรศการ รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองสมุทรปราการไว้ทั้งหมด บนสุดเป็นหอคอย เป็นจุดสำหรับขึ้นชมทัศนียภาพเมือง มองเห็นลำน้ำเจ้าพระยา ไปจนถึงทะเลปากอ่าวไทย พื้นที่สีเขียวของบางกะเจ้า พระสมุทรเจดีย์ ป้อมผีเสื้อสมุทร ป้อมพระจุลจอมเกล้า พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ
ร้านอาหารใกล้เคียง
ห่างออกไป ประมาณ: 0.2 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
ร้านระเบียงริมน้ำ ร้านอาหารมีชื่อย่านพระประแดง บรรยากาศติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ร้านสไตล์ง่ายๆ ไม่หรูหรามาก ตอนกลางวัน เห็นวิวสะพานภูมิพล นั่งมองเรือสินค้าลำใหญ่แล่นเข้า-ออก ช่วงเย็นถึงค่ำได้ความโรแมนติก เวลาสะพานภูมิพลประดับไฟ ยิ่งสวยงาม เหมาะกับการมานั่งทานข้าวกับครอบครัว คู่รัก หรือนัดพบปะกับกลุ่มเพื่อนๆ การเดินทางไปยังร้านอาจดูซับซ้อนเล็กน้อย ที่จอดรถค่อนข้างจำกัดสักหน่อย (มีคนช่วยโบกหาที่จอดให้)
ห่างออกไป ประมาณ: 0.7 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
ร้าน ณ นารายณ์ ร้านอาหารไทยเล็กๆ สไตล์เรือนไทยริมน้ำ บรรยากาศร่มรื่น เป็นร้านเก่าแก่ในอำเภอพระประแดง สงบเงียบ เรียบง่าย รับลมธรรมชาติ ชมวิวสะพานภูมิพล นั่งมองเรือใหญ่แล่นผ่านไปมา ช่วงเย็นถึงค่ำได้ความสวยงามโรแมนติก เหมาะกับพาครอบครัวมารับประทานอาหาร ทางเข้าร้านอาจซับซ้อนนิดหน่อย ใกล้กับร้านมีลานจอดรถเล็กๆ
ห่างออกไป ประมาณ: 1.9 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
ร้านบ้านสุขสวัสดิ์ ปลาแม่น้ำ เป็นร้านอาหารย่านพระประแดง (ฝั่งธนบุรี) อยู่ก่อนขึ้นสะพานภูมิพล (ร้านอยู่ริมถนน ไม่ได้ติดแม่น้ำ) ร้านมีสไตล์นั่งทานในสวนหลังบ้าน เสริฟอาหารรสชาติจัดจ้านแบบไทยๆ เอาใจคนชอบทานปลา (โดยเฉพาะปลาแม่น้ำ) เป็นร้านที่เหมาะกับครอบครัว หรือนั่งทานข้าวกับเพื่อนๆ ร้านอยู่ริมถนน หาไม่ยาก เดินทางสะดวก ทางร้านมีที่จอดรถ
ห่างออกไป ประมาณ: 3.3 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
ร้านส้มตำพาเพลิน สาขาดั้งเดิม ตั้งอยู่บนถนนสุขสวัสดิ์ ย่านพระประแดง ร้านที่เน้นอาหารประเภทส้มตำจานโต สำหรับสาวกคนชอบส้มตำรสแซบต้องตามมาชิม แวะมาลิ้มลองความจัดจ้านของส้มตำ และอาหารอีสาน ร้านอยู่ริมถนน ใกล้ทางยกระดับทางด่วนกาญจนาภิเษก เดินทางมาได้ไม่ยาก ภายในร้านมีที่จอดรถอยู่บ้าง
ห่างออกไป ประมาณ: 7.5 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
ร้านก้ามปู ร้านอาหารเก่าแก่บนถนนเทพารักษ์ เปิดมานานกว่า 30 ปี เป็นที่รู้จักและเป็นร้านประจำของหลายๆ คน ร้านนั่งทานข้าวบรรยากาศแบบไทยๆ ภายใต้ความร่มรื่นราวสวนป่า เหมาะกับการต้อนรับแขก ทานกับครอบครัว ผู้สูงอายุ เด็กๆ คู่รัก หรือนัดกลุ่มเพื่อน เหมือนนั่งทานข้าวในสวนหลังบ้าน ได้พักผ่อนสบายๆ แบบไม่วุ่นวาย ไม่รีบร้อน เสริฟอาหารไทยประเภทกับข้าว ของคาวของหวานมากมาย เดินทางสะดวก อยู่ริมถนน หาไม่ยาก (ทางเข้าอาจดูยากนิดนึง)
ห่างออกไป ประมาณ: 9.1 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
ร้านบ้านเมษา ร้านอาหารวิวแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่บนถนนสุขุมวิท ก่อนเข้าตัวเมืองปากน้ำ (ร้านไม่ได้อยู่ที่บางปูนะ) ใกล้กับโรงเรียนนายเรือ และพิพิธภัณฑ์ทหารเรือ เป็นร้านที่บรรยากาศดี ได้มุมมองและวิวที่แปลกตา ตอนกลางวันนั่งชมเรือสินค้าลำใหญ่แล่นเข้า-ออกปากแม่น้ำ ช่วงเย็นมองพระอาทิตย์ลับฟ้า นั่งรับลมสบายๆ ช่วงค่ำชมวิวองค์พระสมุทรเจดีย์ที่อยู่ฝั่งตรงข้าม (ยิ่งช่วงที่มีการประดับไฟพระสมุทรเจดีย์ตอนกลางคืนยิ่งสวยมาก) การเดินทางมาร้านไม่ยุ่งยาก อยู่ติดถนน ร้านมีที่จอดรถ
ห่างออกไป ประมาณ: 9.6 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
ร้านริมเขื่อน เป็นร้านอาหารที่คนปากน้ำมักจะแนะนำบอกต่อ ร้านอยู่ในย่านตัวเมืองปากน้ำ ที่อยู่ริมถนนในซอย ไม่ได้อยู่ริมเขื่อนหรือริมน้ำเหมือนชื่อแต่อย่างใด ลักษณะร้านจัดวางแบบง่ายๆ (สไตล์ร้านข้าวต้มรอบดึก) เอาใจคนชอบทานซีฟู้ด และคนที่ชอบทานอาหารราคาประหยัด ได้รสชาติอาหารถูกปาก โดยไม่เน้นบรรยากาศ หรือความหรูหรา ​ทางร้านเปิดขายตั้งแต่ช่วงบ่าย ไปจนถึงดึก เหมาะกับการมานั่งทานหลังเลิกงาน หรือทานอาหารเย็นกับครอบครัว ร้านหาไม่ยาก อยู่ใกล้แยกศาลากลาง มีรถไฟฟ้า และรถโดยสารประจำทางผ่านหลายสาย
Tourism Authority of Thailand    Amazing Thailand     Pattaya Concierge     ChonHub     Kanchanaburi dot Co
Copyright © 2016 - 2024 | Ceediz.Com Contact: info@ceediz.com, info.ceediz@gmail.com