Ceediz - Knowledge Space
Copywriting การเขียนโฆษณา

สิ่งดึงดูดใจ (Appeal)

หลังจากการสร้างย่อหน้าแรกที่ยอดเยี่ยมและน่าสนใจแล้ว บทความของเรา จะต้องมีสิ่งที่สามารถ “ดึงดูดใจ” ผู้อ่านตลอดทั้งบทความ ไม่เช่นนั้นแล้วเค้าจะเดินออกจากเราไป และมันเป็นหน้าที่ของเรา ที่จะต้องหาทางหลีกเลี่ยงไม่ให้ผู้อ่านรู้สึกอยากเลิกอ่านบทความของเรา

โดยปกติแล้ว คนเราส่วนใหญ่อยากจะรู้ "เรื่องที่ใกล้ตัวเราเอง" เรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวเรา เรื่องที่เราจะได้ประโยชน์ เรื่องที่เราจะเสียประโยชน์ ดังนั้นหากเราต้องการเขียนบทความที่น่าสนใจ เราก็ควรจะจำสิ่งนี้ให้มั่น เพราะวิธีพื้นฐานที่ทรงพลังที่สุด ในการทำให้คน ๆ หนึ่ง หรือกลุ่ม ๆ หนึ่ง หันมาสนใจได้นาน ๆ ก็คือ การเขียนถึงเรื่องที่เกี่ยวกับเค้านั่นเอง (จะมีอะไรที่เรารู้สึกสนใจไปกว่าเรื่องของตัวเราเองกันล่ะ)

ก็จริงอยู่ที่ว่า เราสนใจในทุก ๆ เรื่องที่เกี่ยวกับตัวเรา ไม่ว่าใครจะพูดถึงเราในแง่ดี แง่ลบ เราก็อยากรู้ทั้งหมด แต่ถ้าบทความนั้น เป็นบทความที่เกี่ยวกับการโฆษณาสินค้า การให้ความรู้ หรือข่าวสารล่ะ เราอยากที่จะฟังมันหรือเปล่า?

หากบอกว่า “เราคงไม่รู้สึกสนใจ” มันอาจจะดูด่วนสรุปเกินไป เพราะหลาย ๆ ครั้ง เราให้ความสนใจเป็นพิเศษในความรู้บางอย่าง ข่าวสารบางเรื่อง และสินค้าบางชิ้น ทำไมมันจึงเป็นเช่นนั้นกันนะ? ทำไมเราถึงสนใจมัน?

นั่นก็เพราะว่า มันให้ประโยชน์บางอย่างกับเรา หรือ แก้ปัญหาบางอย่างให้เราได้นั่นเอง (ซึ่งก็หมายความว่า มันก็เกี่ยวกับเราอยู่ดี)

ดังนั้นหากเราต้องการเขียนบทความโฆษณาอะไรสักอย่าง เราก็ต้องพยายามโยงมาให้เกี่ยวกับผู้อ่านที่เป็นกลุ่มเป้าหมายให้ได้ เพื่อที่จะทำให้เขาสนใจมัน

เพื่อให้เห็นภาพได้มากขึ้น ลองดูมาตัวอย่างน่าสนใจในหนังสือ The Baron Letter ของ Gary C. Halbert  นักขายสินค้าทางไปรษณีย์ผู้โด่งดังกัน อาจจะยาวสักหน่อย แต่คุ้มค่าแน่ ถ้าหากเข้าใจมัน

Do you remember how I explained that the baggie has our reader wondering why you sent it to him?  That he want to know what’s going on here? That we have his focused attention? Quality attention?

You say you do remember all that? Good. In that case, I’ll proceed.

Now, here’s how the letter will start off:

-----------------------------------------------

Dear Mr.Tiberion,

I am attaching a plastic baggie to the top of this letter for two important reasons:

First of all, what I have to say to you is very serious and I needed some way to be sure to get your attention.

And secondly, what is inside that baggie could very well be your passport to complete financial independence!

Why is this? The answer is simple: You see, what is inside that baggie is very tiny amount of what is the most valuable thing on earth.

I’m talking about real estate and, in this case, Hawaiian Real Estate!

Yes, it’s true. The sand inside that baggie was taken from a certain beach on this island of Maui and this particular beach is one of the few left that is open for purchase to private investors!

Here’s what it’s all about: blah, blah, blah, etc., etc., etc.

-----------------------------------------------

… Do you follow what I’m doing here? You see, what I did is I got his attention and then tied my copy to my “attention grabber” in a relevant way that make sense.

Now, if I were to continue writing this letter, I would use words that would make my reader “picture with pleasure” that beach in his mind. Before I was finished, he would be able to feel the sand in his toes, smell fresh tang of salt air, drink in the stars with his eyes and feel warm friendly sun on his back.

 

คุณจำได้ไหมว่า ฉันอธิบายเรื่องถุงใบเล็ก ๆ ที่จะทำให้ผู้อ่านสงสัยว่าเราส่งมันไปให้เขาทำไม? ที่ทำให้เขาอยากรู้ว่านี่มันอะไรกัน? ที่ทำให้เราได้รับความสนใจจากเขา? ความสนใจที่มีคุณภาพ?

คุณพูดว่าคุณจำได้ทั้งหมดเหรอ? ดีมาก งั้นฉันจะอธิบายต่อละ

นี่คือการเริ่มต้นจดหมาย:

(ก่อนจะเริ่มจดหมายฉบับนี้ เพื่อให้การเข้าใจได้ง่ายขึ้น อยากให้ลองนึกภาพว่า นี่เป็นสมัยที่ใช้จดหมายในการติดต่อแบบดั้งเดิม คือ ไม่มีอินเตอร์เน็ต การเข้าถึงข่าวสารทำได้ยากกว่าปัจจุบันมาก และ สมมุติว่าผู้รับจดหมายฉบับนี้ เป็นผู้ที่ถูกคัดกรองมาจาก List รายชื่อแล้วว่า ผู้รับจดหมายเป็นใคร ทำอาชีพอะไร มีกำลังซื้อเท่าไร เคยซื้อสินค้าประเภทนี้มาก่อนหรือไม่)

-----------------------------------------------

ถึงคุณ Tiberion

ผมได้เหน็บถุงพลาสติคใบเล็ก ๆ ไว้บนจดหมายฉบับนี้ เพื่อเหตุผลสำคัญ 2 ประการ:

อย่างแรกเลย สิ่งที่ผมจะบอกคุณเป็นเรื่องสำคัญมาก และผมจำเป็นต้องใช้วิธีการบางอย่าง ที่จะมั่นใจว่า คุณไม่ได้มองข้ามมันไป

และอย่างที่สอง สิ่งที่อยู่ในถุงใบนั้น น่าจะเป็นใบผ่านทาง ให้คุณไปสู่อิสระภาพทางการเงินอย่างสมบูรณ์!

ทำไมถึงเป็นแบบนั้น? ตอบได้ง่ายมาก: คุณลองดูสิ สิ่งที่อยู่ในถุงใบนั้น เป็นจำนวนนิดหน่อยของสิ่งที่มีค่ามากที่สุดบนโลก

ผมหมายถึงอสังหาริมทรัพย์ และในกรณีนี้ อสังหาริมทรัพย์ในฮาวาย

ใช่ มันเป็นเรื่องจริง ทรายที่อยู่ในถุง นำมาจากชายหาดแห่งนึงบนเกาะเมาวี (Maui) และชายหาดแห่งนี้ เป็นหนึ่งในไม่กี่หาดที่ยังพอเหลือพื้นที่ให้นักลงทุนเอกชนเป็นเจ้าของได้!

นี่เป็นข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวกับมัน: บลา บลา บลา ….

-----------------------------------------------

… คุณตามสิ่งที่ฉันทำทันไหม? คุณคงเห็นแล้วว่า สิ่งที่ฉันทำ ก็คือ การทำให้เขาหันมาสนใจ และจากนั้น ฉันก็เชื่อมโยงเนื้อหาของฉัน ให้เข้ากับตัวดึงความสนใจ ในทิศทางที่เกี่ยวข้องอย่างสมเหตุสมผล

ถ้าตอนนี้ฉันยังเขียนจดหมายฉบับนี้ต่อไป ฉันคงจะใช้คำที่ทำให้ผู้อ่าน “เห็นภาพความรื่นรมย์” ของชายหาดในจิตใจของเขา ซึ่งก่อนที่จะถึงตอนจบจดหมาย เขาน่าจะสามารถสัมผัสได้ถึงเม็ดทรายบนนิ้วเท้าของเขา กลิ่นทะเลที่สดชื่น รสชาติการดื่มท่ามกลางหมู่ดาวที่เต็มตา และรับรู้ถึงความอบอุ่นของแสงอาทิตย์บนแผ่นหลังของเขา

 

The Baron Letter by Gary C. Halbert

หากลองสังเกตุอย่างละเอียดหน่อย จะพบว่า Halbert เริ่มต้นจดหมายได้อย่างน่าติดตาม ("ผมได้เหน็บถุงพลาสติคใบเล็ก ๆ ไว้บนจดหมายฉบับนี้ เพื่อเหตุผลสำคัญ 2 ประการ") หากเริ่มต้นมาแบบนี้ ไม่ว่าจะเป็นใครก็คงต้องอ่านต่อ เพราะเราคงสงสัยที่ว่า มีเหตุผลสำคัญ 2 ประการ นั้น “มันเกี่ยวกับเรา” ยังไง? จากนั้น Halbert ก็เริ่มเข้าเรื่องทีละนิด ซึ่งหากผู้ที่อ่านจดหมาย เป็นนักธุรกิจ หรือ เป็นคนที่มีฐานะร่ำรวย ก็น่าจะสนใจที่ดินบนเกาะฮาวายอยู่แล้ว

แต่การที่ผู้อ่านสนใจอยู่แล้ว ไม่ได้หมายความว่าเขารู้จักมันทั้งหมด เขาอาจจะอยากรู้เรื่องสภาพแวดล้อมโดยรวมของฮาวาย เรื่องโลเคชั่นที่มาเสนอขายอยู่ตรงส่วนไหนของเกาะ เรื่องว่าบริเวณนั้นทำธุรกิจอะไรเพิ่มเติมได้ไหม เรื่องวิวทิวทัศน์ในบริเวณนั้นเป็นอย่างไร และถ้าเค้าคิดว่าการอ่านจดหมาย (หรือบทความ) ของ Halbert สามารถทำให้เค้ารู้ในเรื่องที่เค้าอยากรู้ได้ เค้าก็จะอ่านมัน

ในทางเดียวกัน นั่นหมายความว่า ถ้าผู้อ่านคิดว่าการอ่านบทความของเรา สามารถทำให้เค้ารู้ในเรื่องที่เค้าอยากรู้ได้ เค้าก็จะอ่านมัน

นอกจากนี้ Halbert ยังเสริมด้วยการใช้เทคนิคที่ทำให้ผู้อ่านเห็นภาพความรื่นรมย์ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจด้วย ซึ่งเทคนิคนี้ ถือเป็นวิธีช่วยกระตุ้นให้ผู้อ่านรู้สึกอินมากขึ้น เหมือนอยู่ในสถานที่จริงมากขึ้น และสำหรับเทคนิคการทำให้ผู้อ่านเห็นภาพนี้ ก็ยังเป็นสิ่งที่ Robert Collier แนะนำให้ใช้ เพื่อที่จะทำให้บทความของเราน่าติดตามด้วยเช่นกัน

Now that you have your reader’s interest, what are you going to do with it? Start a series of firstly, and secondly and thirdly, like the old ---- time Preacher, and put your reader to sleep, losing all the advantage you have worked so hard to gain? Go into a long ---- winded description that tire him out before he is halfway through? Or lead him gently from one point of interest to another, with word pictures so clear, so simple, that he can almost see the things you are offering him?

Getting your reader’s attention is your first job. That’s done, your next problem is to put your idea across, to make him see it as you see it ---- in short, to visualize it so clearly that he can build it piece by piece in his own mind as a child builds a house of blocks or puts together the piece of a picture puzzle.

… And the secret of painting such a picture in the reader’s mind is to take some familiar figure his mind can readily grasp and add point of interest here, another there, and so on until you have built a complete word picture of what you have to offer.

 

ตอนนี้คุณได้รับความสนใจจากผู้อ่านแล้ว คุณจะทำอะไรกับมัน? เริ่มต้นด้วยการอธิบาย อย่างแรก และอย่างที่ 2 และอย่างที่ 3 ตามลำดับ เหมือนกับนักเทศน์ในสมัยก่อน แล้วทำให้คนอ่านหลับ ปล่อยให้คุณเองเสียประโยชน์ไป ทั้ง ๆ ที่มีคนสนใจอยู่ในมือแล้ว? เริ่มจากการเขียนคำอธิบายยืดยาว จนทำให้เค้ารู้สึกเบื่อ แม้ยังอ่านไม่ถึงครึ่ง? หรือจะเริ่มจากการค่อย ๆ ชักนำเค้า จากสิ่งที่น่าสนใจไปทีละเรื่อง ๆ ด้วยการใช้คำง่าย ๆ ที่ทำให้เห็นภาพชัดเจน จนเขาสามารถมองเห็นสิ่งที่คุณนำเสนอ

การทำให้ผู้อ่านสนใจคืองานแรกที่คุณต้องทำ ตอนนี้คุณทำไปแล้ว ปัญหาต่อไปของคุณ ก็คือ การสร้างสรรค์ให้เขาเห็นภาพสิ่งนั้น ๆ ให้เหมือนกับที่คุณมองเห็น ---- พูดง่าย ๆ ก็คือ แสดงภาพให้ชัดเจนถึงขนาดที่ว่า เขาสามารถต่อมันขึ้นมาทีละชิ้น ๆ ในใจของเขาเอง เหมือนอย่างเด็กที่ค่อย ๆ เอาบล็อกมาต่อเป็นบ้าน หรือ ค่อย ๆ ต่อภาพจิ๊กซอทีละชิ้นจนเสร็จ

… และเคล็ดลับที่จะวาดภาพแบบนั้นในใจของผู้อ่านได้ ก็คือ การเขียนบรรยายให้เห็นภาพที่เขาน่าจะคุ้นเคย และเพิ่มจุดที่น่าสนใจเข้าไปในส่วนนั้น ส่วนนี้ ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งสิ่งที่คุณกำลังนำเสนอ สามารถจินตนาการออกมาเป็นภาพได้ชัดเจน

 

The Robert Collier Letter Book by Robert Collier

สำหรับคนที่ยังไม่ค่อยเข้าใจว่า เขียนให้เห็นภาพคืออะไร ลองอ่านสิ่งที่ Halbert บอกว่าถ้ายังเขียนจดหมายอยู่ จะทำให้ผู้อ่านรู้สึกยังไงกันอีกครั้ง ลองอ่านดูอีกครั้งตามนี้เลย

“เขาน่าจะสามารถสัมผัสได้ถึงเม็ดทรายบนนิ้วเท้าของเขา กลิ่นทะเลที่สดชื่น รสชาติการดื่มท่ามกลางหมู่ดาวที่เต็มตา และรับรู้ถึงความอบอุ่นของแสงอาทิตย์บนแผ่นหลังของเขา”

คือถ้าเราเขียนบรรยายให้ผู้อ่านเห็นภาพเหล่านั้นได้ มันจะเข้าถึงอารมณ์ได้มากกว่า และน่าติดตามมากกว่านั่นเอง

ดังนั้น หากเราอยากให้บทความของเรา น่าสนใจในสายตาของผู้อ่านมากขึ้น และอ่านบทความของเรามากขึ้น การเลือกใช้คำที่อธิบายให้เห็นภาพ ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยเลย

อย่างไรก็ตาม John Caples ได้พูดถึงประเด็นการสร้างสรรค์บทความให้ผู้อ่านอยากจะอ่านต่อไปเช่นกัน ซึ่งเป็นคำแนะนำเพิ่มเติมที่สำคัญมาก และเราควรจะต้องเข้าใจเป็นอย่างดี ไม่งั้นจะเป็นการยากที่จะทำให้ผู้อ่าน อ่านบทความโฆษณาของเราจนจบ หรือสั่งซื้อสินค้าจากเรา  

Curiosity is a powerful selling tool when properly used by the copywriter. On the other hand, the copywriter who satisfies the reader’s curiosity, instead of arousing it, is apt to lose customers.

Not long ago I read a review of a new novel. This review aroused my curiosity about the novel and I considered buying it. A few days later I saw an advertisement for the same novel. The advertisement contained several long quotations from the book itself. I read this quotations. They revealed so much of the plot of the story that my curiosity was satisfied and I decided not to buy the book. A book review had practically persuaded me to buy the book. An advertisement lost the sale by satisfying my curiosity.

… An advertisement that gives away its secret in advance is like a magician who shows the audience the secret of his tricks before he performs them.

 

ความอยากรู้ หากใช้มันอย่างถูกต้อง จะเป็นตัวช่วยในด้านการขายที่ทรงพลังมาก ในทางตรงกันข้าม นักเขียนโฆษณาที่ทำให้ผู้อ่านได้เข้าใจเคล็ดลับที่เขาอยากจะรู้ (แทนที่จะกระตุ้นความอยากรู้) ก็มีแนวโน้มที่จะไม่ได้ลูกค้า

ไม่นานมานี้ ฉันอ่านรีวิวที่เกี่ยวกับนวนิยายเล่มหนึ่ง รีวิวนี้กระตุ้นฉันให้อยากรู้เกี่ยวกับนวนิยายเล่มนั้นมากขึ้น  และฉันก็กำลังคิดที่จะซื้อมัน แต่ในช่วง 2-3 วันต่อมา ฉันก็มาเจอโฆษณาของนวนิยายเล่มเดียวกัน โดยที่ตัวโฆษณา ได้นำประโยคน่าสนใจในหนังสือออกมาใช้หลายประโยค ฉันได้อ่านมัน และมันก็เปิดเผยถึงพลอตเรื่องที่กว้างมาก มากพอที่ทำให้ฉันเดาเนื้อเรื่องคร่าว ๆ ทั้งหมดได้ ฉันจึงตัดสินใจที่จะไม่ซื้อนวนิยายเล่มนี้ การรีวิวสามารถจูงใจให้ฉันซื้อหนังสือได้ แต่โฆษณาทำให้ไม่ซื้อเพราะพอจะเดาทั้งหมดได้  

....โฆษณาที่บอกความลับของสินค้าไว้ล่วงหน้า ก็เป็นเหมือนกับ นักมายากลที่บอกเคล็ดลับของเขากับผู้ชม ก่อนจะทำการขึ้นแสดงนั่นแหละ

 

Tested Advertising Methods by John Caples

ถ้าเอาสิ่งที่ John Caples แนะนำ มาพูดให้เข้าใจง่าย ๆ เลย ก็คือ "ของดีอย่าเพิ่งรีบบอก เพราะถ้าเรารีบบอก มันจะไม่เหลือของดีที่เค้ารอคอยอีกต่อไป"

มันก็เหมือนกับการที่งานปาร์ตี้เลี้ยงฉลองต่าง ๆ ชอบเอาการจับรางวัลให้โชค มาไว้ช่วงตอนสุดท้ายของงาน เพราะถ้าจับรางวัลตั้งแต่แรก รับรองได้เลยว่า พอโปรแกรมผ่านไปได้เพียงครึ่งเดียว ท่านแขกผู้มีเกียรติทั้งหลาย มีข้ออ้างในการกลับก่อนกันเพียบแน่

แก่นความสำคัญของหลักการในส่วนนี้ ก็คือ ตราบใดที่เขายังสนใจมัน ตราบใดที่เค้ายังอยากรู้ว่ามันเกี่ยวกับตัวเขายังไง เขาจะได้ประโยชน์อะไร เขาจะเสียประโยชน์ตรงไหน เขาก็จะอ่านมันต่อไปเรื่อยๆ … เรื่อยๆ … จนกระทั่งเขารู้ในสิ่งที่เขาอยากรู้ทั้งหมดแล้ว

นอกจากการเก็บทีเด็ดเอาไว้ก่อนแล้ว John Caples ยังแนะนำให้ทำการกระตุ้นผู้อ่านให้มีความอยากรู้ อยากติดตามมากขึ้นด้วย ซึ่งในส่วนนี้ก็สอดคล้องกับเทคนิคของ Joseph Sugarman ที่แนะนำไว้ในหนังสือของเขาด้วยเช่นกัน ว่าแล้วก็ลองมาดูไปกันเลย

One way to increase readership is by applying a theory I call “seeds of curiosity”. It goes like this. At the end of a paragraph, I will often put a very short sentence that offers some reason for the reader to read the next paragraph. I use sentences such as:

But there’s more.
So read on.
But I didn’t stop there.
Let me explain.
Now here comes the good part.

These seeds of curiosity cause you to subconsciously continue reading even though you might be in a point in the copy where the copy slows down. This concept is used a lot on TV before the show host goes to a commercial. She may say, “When we come back, we will see something that you never seen on TV before. Stay tuned.” Well, it should be done in print, too. And here’s why. (Notice how I use it.)

In print, the ideal situation is to create such interesting and compelling copy that you don’t need seed of curiosity, but often that is very difficult. And using these seed of curiosity enhances most copy. But like every good thing, don’t over do it.

… Seeds of curiosity can be used at the beginning of an ad where you mention some benefit or payoff that you are going to reveal somewhere in your copy. In short, the reader has to read the entire ad to find it.

 

วิธีการอย่างนึงที่ทำให้มีการอ่านเพิ่มขึ้น ก็คือ การประยุกต์ใช้ทฤษฏีที่ฉันเรียกว่า “เมล็ดพันธุ์แห่งความน่าสนใจ” ซึ่งมันมีวิธีใช้งานแบบนี้ ในเวลาที่จะจบย่อหน้า ฉันมักจะเขียนสาเหตุบางอย่างด้วยประโยคสั้น ๆ เพื่อชักนำผู้อ่าน ให้อ่านย่อหน้าต่อไป ประโยคที่ฉันใช้ก็ประมาณนี้:

แต่มันยังมียิ่งกว่านี้อีก
งั้นอ่านต่อเลย
แต่ฉันไม่ได้หยุดที่ตรงนั้น
เอาล่ะ มาฟังคำอธิบายของฉันกัน
แล้วก็มาถึงส่วนที่สำคัญ

เมล็ดพันธุ์แห่งความน่าสนใจเหล่านี้ จะทำให้คุณ อ่านต่อโดยไม่รู้ตัว แม้ว่าความน่าสนใจของบทความในจุดนั้นๆ จะมีไม่มากก็ตาม วิธีการนี้เห็นได้บ่อย ๆ ในทีวี ในช่วงก่อนที่รายการจะตัดเข้าโฆษณา เธออาจจะพูดว่า “อย่าเพิ่งเปลี่ยนช่อง เมื่อเรากลับมา คุณจะได้ดูสิ่งที่คุณไม่เคยเห็นในรายการใดมาก่อน” ซึ่งมันก็เป็นสิ่งที่ควรทำในงานเขียนบทความด้วยเช่นกัน มาดูกันว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น (นี่ไง เห็นรึเปล่าว่าฉันใช้มันยังไง)

สำหรับงานเขียน สิ่งที่สมบูรณ์แบบที่สุด ก็คือ การสร้างสรรค์บทความที่น่าสนใจและน่าติดตามได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้เมล็ดพันธุ์แห่งความน่าสนใจเลย แต่มันทำได้ยากมากเสมอมา และการใช้เมล็ดพันธุ์แห่งความน่าสนใจเหล่านี้ ก็สามารถช่วยเติมการลื่นไหลของความน่าสนใจและน่าติดตามได้ แต่ก็เหมือนเทคนิคอื่น ๆ นะ อย่าใช้มันบ่อยจนเกินไป

…เมล็ดพันธุ์แห่งความน่าสนใจนั้น ยังสามารถใช้งานได้โดยการพูดถึงสิ่งน่าสนใจในช่วงต้น ๆ ของโฆษณา และคุณค่อยนำมันมาบอกในส่วนนึงของบทความ พูดให้ง่ายก็คือ ผู้อ่านต้องไปอ่านทั่วทั้งบทความโฆษณาเพื่อตามหามัน

 

The Adweek Copywriting Handbook by Joseph Sugarman

มันเป็นการทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่ายังมีเรื่องสำคัญอีก พอเค้ารู้สึกว่ามันสำคัญ เค้าก็อยากที่จะอ่านมันต่อนั่นเอง

ถ้าเอาเรื่องงานเลี้ยงที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้มายกตัวอย่าง ก็คงจะต้องให้พิธีกรพูดประมาณว่า "วันนี้นะครับ นอกจากจะมีรางวัญใหญ่เป็นรถมอเตอร์ไซต์บิ๊กไบท์แล้ว เรายังมีรางวัลใหญ่พิเศษยิ่งกว่านั้นอีก แต่เราจะยังไม่เปิดเผยนะครับ รอลุ้นช่วงสุดท้ายดีกว่า รับรองเลยว่า มันยอดเยี่ยมมาก และถูกใจคุณแน่นอน!"

แม้ว่าตัวอย่างดังกล่าวมันจะเป็นขั้นตอนและการสื่อสารจากการพูด แต่ที่จริงการเขียนบทความให้น่าสนใจ ก็ใช้หลักการเดียวกัน คือ เราต้องหาทางนำมาประยุกต์ใช้ให้ดีและให้น่าติดตามเท่านั้น

 

มาคิด ๆ ดูแล้วมันก็เหมือนหนังซีรีย์นะ เพื่อนผมเคยเล่าให้ฟังว่า มีอยู่ช่วงนึงเวลาหลังเลิกงานแล้ว เค้าจะดูซีรี่ย์ฝรั่งเรื่อง Prison Break ซึ่งเป็นซี่รี่ย์ที่ดังมาก ๆ (หลายคนคงคุ้นเคยกันดี) ในตอนนั้น มีอยู่ครั้งนึงเค้าดูเพลินไปจนกระทั่งดึกดื่น ก็เลยบอกกับตัวเองว่า ถ้าจบตอนนี้แล้วจะนอนละ เดี๋ยวขอดูแค่ฉากนี้พอ อยากรู้ว่าจะรอดได้ยังไง แต่ไม่ว่าจะจบตอน หรือจบเรื่องที่กำลังลุ้นอยู่ไปแล้ว ซีรี่ย์มันก็มักจะทำให้เราจบไม่ลง ไม่เป็นเหมือนอย่างที่คาดไว้ เพราะมันจบแบบค้างคาใจ มันมีอย่างอื่นมาให้ลุ้นต่อ แบบว่า เฮ้ยหยุดตอนนี้ไม่ได้นะ ขอต่ออีกนิดนึง ก็เลยต้องดูต่อ … ปรากฏว่า ท้ายที่สุดเพื่อนผมคนนี้ต้องยอมปิดหนังกลางเรื่อง เพราะต้องไปทำงานตอนเช้าแล้ว!!

มันจะเป็นการดีมาก หากเราสามารถทำให้คนอ่านบทความของเรา รู้สึกอยากติดตาม อยากรู้ พอจะหมดความตื่นเต้น ก็ถูกกระตุ้นให้อยากรู้ อยากติดตามอีก … ทำให้บทความของเรา เป็นเหมือนกับที่เพื่อนผมติดตามดูซีรีย์เรื่องนี้

Section 1 - Basic Copywriting
Section 2 - องค์ประกอบหลักการเขียนโฆษณา
Section 3 - จิตวิทยาการโฆษณา
Section 4 - เกร็ดความรู้ในการเขียนโฆษณา
Tourism Authority of Thailand    Amazing Thailand     Pattaya Concierge     ChonHub     Kanchanaburi dot Co
Copyright © 2016 - 2024 | Ceediz.Com Contact: info@ceediz.com, info.ceediz@gmail.com