Ceediz - Knowledge Space
Copywriting การเขียนโฆษณา

การหาไอเดียสินค้าเพื่อมาเขียนโฆษณา (How to find ideas to write for a product)

นอกจากองประกอบที่โฆษณาควรมีและหลักจิตวิทยาที่โน้มน้าวผู้อ่านแล้ว เราก็ยังต้องเขียนอธิบายสินค้าและบริการของเราให้ดี ให้ครบถ้วน ให้ครอบคลุมถึงประโยชน์ต่าง ๆ ที่ผู้อ่านสนใจ ซึ่งปัจจัยนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความสำเร็จในงานเขียนโฆษณา

แต่การที่เราจะเขียนโฆษณาให้มีประสิทธิภาพขนาดนั้น เราจำเป็นต้องมีไอเดียความคิด มีมุมมองที่หลากหลาย มีความเข้าใจในตัวสินค้าและลูกค้าเป็นอย่างมาก

หากเราเป็นมืออาชีพ การจะรู้ว่าเริ่มต้นอย่างไรคงเป็นเรื่องง่าย แต่หากเรายังไม่เชี่ยวชาญพอ เราจะทำยังไงดี? เราควรเริ่มตรงไหน จึงจะมองเห็นภาพรวมชัดเจน มองเห็นประโยชน์ของสินค้าได้หลายมิติ?

An ad-writer, to have a chance at success, must gain full information on his subject. The library of an ad agency should have books on every line that calls for research. A painstaking advertising man will often read for weeks on some problem which comes up. Perhaps in many volumes he will find few facts to use. But some one fact may be the keystone of success.

… Before advertising a food product, 130 men were employed for weeks to interview all classes of consumers. On another line, letters were sent to 12,000 physicians. Questionnaires are often mailed to tens of thousands of men and women to get the viewpoint of consumers. A $25,000-a-year man, before advertising outfits for acetylene gas, spent weeks in going from farm to farm.

… Competition is measured up. Every advertiser of a similar product is written for his literature and claims. Thus we start with exact information on all that our rivals are doing.

… The ad seems so simple, and it must be simple to appeal to simple people. But back of that ad may lie reams of data, volumes of information, months of research. So this is
no lazy mans field.

 

เพื่อเพิ่มโอกาสสำเร็จมากขึ้น นักเขียนโฆษณาต้องศึกษาข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับสินค้า คลังข้อมูลของเอเจนซี่โฆษณา ควรมีหนังสือทุกแนวให้เรียนรู้ บ่อยครั้งนักโฆษณาที่มุมานะ ต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ เพื่อศึกษามุมมองปัญหาบางประการ บางครั้งแม้อ่านหนังสือหลายเล่มแล้ว เขาพบข้อมูลใหม่ ๆ เพื่อใช้งานแค่เพียงไม่กี่อย่าง แต่ข้อมูลบางชิ้นก็อาจเป็นหัวใจของความสำเร็จได้

… ก่อนการโฆษณาของสินค้าชิ้นนึงด้านอาหาร มีการจ้างคน 130 คน นานหลายสัปดาห์ เพื่อไปสัมภาษณ์ผู้บริโภคทุกระดับ ลองดูอีกกรณีนึง มีการส่งจดหมายไปหาผู้เชี่ยวชาญ 12,000 คน แบบสอบถามมักถูกส่งไปหาคนเป็นหมื่น ๆ คน (ทั้งผู้ชายและผู้หญิง) เพื่อที่จะได้มุมมองของลูกค้า มีกรณีของคนที่มีรายได้ 25,000 เหรียญต่อปี [ประมาณ 750,000 บาท ซึ่งเยอะมากสำหรับคนสมัยก่อน] ก่อนทำการโฆษณาชุดสำหรับแก็สอะเซติลีน เขาใช้เวลาหลายสัปดาห์เพื่อเดินทางไปเยี่ยมชมฟาร์มต่าง ๆ

… การแข่งขันก็เป็นประโยชน์ได้ นักโฆษณาสินค้าทุกคนในหมวดหมู่เดียวกัน เขียนบทความเพื่อสร้างผลงานและนำเสนอประโยชน์[ของสินค้า] ดังนั้นเราสามารถเริ่มด้วยข้อมูลเดียวกันกับคู่แข่งทั้งหลายของเราได้

… งานโฆษณาเหมือนเรื่องง่ายมาก มันต้องง่ายในการดึงดูดผู้คนทั่วไป แต่มันต้องเต็มไปด้วยข้อมูลและความรู้ ที่ผ่านการรวบรวมมาเป็นเดือน ๆ ดังนั้นมันไม่ใช่งานของคนขี้เกียจ

 

Scientific Advertising  by  Claude C. Hopkins

สิ่งที่ Claude C. Hopkins พูดถึงวิธีการหาไอเดียมาเขียนบทความนั้น ก็คือ การอ่านข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า การเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มลูกค้า และการศึกษาไอเดียจากสิ่งที่คู่แข่งเขียน ส่งเหล่านี้จะทำให้เราเรียนรู้สินค้าได้มาก

เราจำเป็นต้องทำขนาดนั้นเลยเหรอ? จริง ๆ มันก็แล้วแต่เรา เราจะไม่ทำก็ได้ แต่หากเรารู้ข้อมูลมาก เราก็เข้าถึงลูกค้าได้มาก อย่าลืมว่าการโฆษณาสินค้าสักชิ้น หากประสบผลสำเร็จ อาจมีผลกำไรที่มากมายมหาศาลเลยก็ได้ ก็ต้องดูว่าเราพร้อมที่จะลงทุนลงแรงเพื่อศึกษาเรื่องนี้หรือไม่

ลองมาดูสิ่งที่ David Ogilvy แนะนำกันบ้าง จริง ๆ แล้วมันแทบจะเหมือนกับของ Claude C. Hopkins เลยทีเดียว เรียกได้ว่า เป็นการตอกย้ำโดย ปรมาจารย์ด้านงานโฆษณาที่ผู้คนปัจจุบันยังคงรู้จักกันอยู่บ้าง (จริง ๆ Claude C. Hopkins ก็มีชื่อเสียงมากในสมัยก่อน)

You don’t stand a tinker’s chance of producing successful advertising unless you start by doing your homework. I have always found this extremely tedious, but there is no substitute for it.

First, study the product you are going to advertise. The more you know about it, the more likely you are to come up with a big idea for selling it.

Your next chore is to find out what kind of advertising your competitors have been doing for similar products, and with what success. This will give you your bearings.

Now come research among consumers. Find out how they think about your kind of product, what language they use when they discuss the subject, what attributes are important to them, and what promise would be most likely to make them buy your brand.

If you cannot afford the services of professionals to do this research, do it yourself Informal conversation with half-a-dozen housewives can sometimes help a copywriter more than formal surveys in which he does not participate.

 

คุณไม่มีสร้างโฆษณาที่ประสบความสำเร็จได้เลย หากคุณไม่เริ่มจากการทำการบ้านของคุณ ฉันรู้ว่าสิ่งนี้เป็นเรื่องน่าเบื่อหน่าย แต่มันไม่มีทางเลือกอื่นเลย

อย่างแรก ต้องศึกษาสินค้าที่คุณจะทำการโฆษณา ยิ่งคุณรู้มากเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งมีโอกาสค้นพบไอเดียใหม่ ๆ ในการขายมัน

การบ้านอย่างถัดไป ก็คือการหาว่า โฆษณาแบบไหนที่คู่แข่งของคุณ ทำกับสินค้าที่คล้ายกับเรา และมีผลสำเร็จอะไรบ้าง สิ่งนี้จะช่วยให้คุณเริ่มมองทิศทางออก

ทีนี้มาทำการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้บริโภค หาว่าพวกเขามีมุมมองต่อสินค้าคุณอย่างไรบ้าง พวกเขาใช้ภาษาแบบไหนในการพูดถึงมัน มีองประกอบอะไรที่สำคัญต่อพวกเขามั้ย และอะไรคือคำมั่นที่น่าจะทำให้พวกเเขาซื้อสินค้าของคุณ

ถ้าคุณไม่สามารถลงทุนให้มืออาชีพทำการสำรวจข้อมูลให้คุณ การทำมันด้วยตนเองโดยการพูดคุยกับแม่บ้านกลุ่มเล็ก ๆ บางครั้งสามารถ ช่วยนักเขียนโฆษณาได้ดีกว่าการสำรวจข้อมูล ที่คุณไม่ได้มีส่วนร่วมด้วย


Ogilvy on Advertising  by  David Ogilvy

อย่างที่บอกไว้ข้างต้นไหมล่ะ (สิ่งที่ David Ogilvy แนะนำนั้น คล้ายกับสิ่งที่ Claude C. Hopkins แนะนำมาก) แบบนี้แล้ว เราคงต้องศึกษา เรียนรู้ ค้นคว้า สิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสินค้า เพื่อที่จะทำให้งานเขียนของเรา มีความน่าสนใจ และมีผลตอบรับที่ดี

อย่างที่ Ogilvy บอกไว้ มันเป็นงานที่แสนน่าเบื่อ แต่ก็เป็นงานที่ทำให้เราเขียนได้ขึ้น

ทีนี้ลองมาดูตัวอย่างของ John Caples กันบ้าง อาจมีบางอย่างที่คล้ายกัน บางอย่างเพิ่มเติมมา บางอย่างสอดแทรกแนวคิดให้เห็นภาพมากขึ้น เรียกได้ว่าน่าสนใจไม่น้อยเลย

Study the client’s direct mail advertising in addition to his space advertising. Read his booklets, leaflets, circulars, sales letters, broadsides, and brochures. Here you will find long copy and therefore lots of ideas to choose from. Perhaps in small print in some old booklet you will find an idea that can be modernized and used right now.

Study the product itself and the package and everything printed on the package and any literature enclosed inside the package. Perhaps you will find a hook on which to hang a campaign. Some products are so similar to competitive products that you have to sell the beauty or the convenience of the package.

Talk with sales people who are selling the product or service. Talk with people who use the product. Take notes on what they say. If note taking causes them to talk less freely, you can wait until you are alone and then write down everything you can remember. The basic theme of an effective campaign came from a salesman who had found that this this theme was a good sales getter.

… There are three ways you can use ideas you see in other ads, as follows:

1. Copy the idea as it is.
2. Improve the idea.
3. Adapt the idea in a new and different form.

You may say at this point: “But I don’t want to copy anybody else’s ideas. I want to invent my own ideas. I want to be an original thinker. Original thinkers never copy.”

There are three answers to that:

1. Go ahead and originate all you want. That is part of your job. However, unless you also grab good ideas from whatever source, you will be handicapped in your battle with competitors. Because competitors will grab your good ideas as fast as they appear.

2. Your client is not paying you to be solely original thinker. He is paying you to make money for him --- to help keep his factory going.

3. It is not true that original thinker never copy good ideas. Shakespeare copied from old ballads the ideas for many of his plays. Benjamin Franklin not only copied many ideas but boast about it in his autobiography.


จงศึกษาการโฆษณาสินค้าทางไปรษณีย์ของบริษัทผู้ว่าจ้าง (เพิ่มเติมจากโฆษณาแบบข้อความของเขา) ต้องอ่านแผ่นพับ ใบปลิว หนังสือแจ้งข่าวสาร จดหมายนำเสนอสินค้า และโบรชัวร์  ส่วนนี้จะทำให้คุณได้อ่านข้อมูลมากมาย จึงส่งผลมีไอเดียมากมายให้เลือกสรรค์ บางครั้งข้อความเล็กน้อยบนแผ่นพับเก่า ๆ ก็ทำให้คุณได้ไอเดียที่สามารถเป็นลูกเล่นสมัยใหม่ และสามารถใช้งานได้ในปัจจุบัน

ต้องเรียนรู้ตัวสินค้าและบรรจุภัณฑ์ และทุกสิ่งที่เขียนอยู่บนและภายในบรรจุภัณฑ์ด้วย บางทีคุณจะได้ประโยคเด็ดโดนใจจากสิ่งนั้น สินค้าบางชิ้นคล้ายกับสินค้าคู่แข่่งมาก จนคุณต้องนำเสนอความสวยงามหรือความสะดวกของบรรจุภัณฑ์แทน

ลองคุยกับพนักงานที่ขายสินค้า/บริการ ลองคุยกับคนที่ใช้สินค้า จดบันทึกสิ่งที่พวกเขาพูด แต่ถ้าการจดทำให้พวกเขาพูดน้อยลง คุณต้องรอจนกว่าจะอยู่คนเดียว แล้วค่อยจดทุกสิ่งที่จำได้ รูปแบบพื้นฐานของโฆษณาที่มีประสิทธิภาพ มาจากพนักงานขายที่พบวิธีการเพิ่มยอดขายได้

… มี 3 วิธีที่คุณสามารถนำไอเดียของโฆษณาชิ้นอื่นมาใช้ได้ นั่นก็คือ

1. เลียนแบบไอเดียของงานนั้น
2. นำไอเดียมาปรับปรุงให้ดีขึ้น
3. ดัดแปลงไอเดียให้อยู่ในรูปแบบใหม่ หรือ รูปแบบที่ต่างจากเดิม

ในจุดนี้ คุณอาจจะพูดว่า: “แต่ฉันไม่ต้องการก๊อปไอเดียของคนอื่น ฉันอยากจะคิดค้นไอเดียของฉันเอง ฉันอยากจะเป็นผู้คิดงานต้นแบบ ผู้คิดงานต้นแบบไม่เคยลอกงานใคร”

มันมีคำตอบ 3 อย่างที่คุณควรทราบ

1. ทำไปเลยและสร้างงานที่คิดค้นใหม่เท่าที่คุณอยากทำ มันเป็นส่วนนึงในงานของคุณ แต่ว่าหากคุณไม่เลือกใช้ไอเดียดี ๆ จากงานชิ้นอื่นด้วย คุณจะเสียเปรียบคู่แข่ง เพราะคู่แข่งของคุณจะใช้ไอเดียดี ๆ ของคุณทันทีที่มันถูกใช้งาน

2. ผู้ว่าจ้างไม่ได้จ่ายเงินคุณ เพื่อให้คุณคิดค้นงานที่ไม่เหมือนใคร แต่เขาจ่ายเงิน เพื่อให้คุณช่วยทำเงินให้เขา --- ช่วยให้โรงงานเขายังเดินต่อไปได้

3. มันไม่จริงที่ว่าผู้คิดงานต้นแบบไม่เคยลอกเลียนแบบใคร เช็คสเปียร์นำไอเดียการขับร้องโครงกลอนโบราณ มาใช้ในการแสดงของเขาหลายครั้ง เบนจามิน แฟรงกิ้นลอกเลียนความคิดคนอื่นหลายอย่าง และยังนำมาอวดในชีวประวัติของเขา

 

Making Ads Pay  by  John Caples

คำแนะนำของ John Caples คงสามารถทำให้เรา พอมีแนวทางการหาไอเดียมาเขียนได้มากขึ้น การอ่านงานโฆษณาเดิม ๆ ของผู้ว่าจ้าง ทำให้เราเข้าใจภาพรวมและจุดเด่นสินค้าได้รวดเร็ว การเรียนรู้ตัวสินค้าและคำอธิบายบนหีบห่อก็ช่วยได้เช่นกัน การคุยกับนักงานขายและลูกค้า ก็ช่วยให้เรานำวิธีขายที่ได้ผล มาปรับใช้ในงานเขียนได้

สำหรับการดูงานชิ้นอื่นหรืองานคนอื่นนั้น มันอาจจะไม่ใช่เพื่อเป็นการเลียนแบบซะทีเดียว แต่เป็นการเรียนรู้จากงานคนอื่น ว่าเค้าทำอะไร เค้าคิดอะไร อะไรได้ผลดี อะไรไม่ได้ผลห่วย มันก็เหมือนผู้ชื่นชิบศิลปะ ต้องมองดู ต้องเรียนรู้จากงานของศิลปินที่ชื่นชอบนั่นแหละ

หากเราไม่เรียนรู้ว่างานชิ้นอื่นเค้าทำอะไรไปแล้วบ้าง เราจะรู้ได้ยังไงว่า สิ่งที่เราคิดค้นมา มันไปซ้ำกับงานบางชิ้นที่เคยทำมาก่อนหรือเปล่า

จริง ๆ แล้วการคิดค้นอะไรใหม่นั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นงานที่เริ่มจากศูนย์เสมอไป ดูอย่างงานวิจัยของการเรียนปริญญาโท / ปริญญาเอก ที่บอกว่าห้ามซ้ำกับงานของเดิมสิ อาจารย์ที่ปรึกษามักแนะนำเสมอว่า งานวิจัยที่ปัจจุบันทำกันอยู่นั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้เริ่มต้นใหม่จากศูนย์ แต่เป็นการต่อยอดมาจากงานวิจัยเดิม ๆ และนำมาเพิ่มเติมในด้านที่งานเดิมยังไม่ได้ทำเอา

หากการการเรียนรู้จากงานคนอื่นเป็นสิ่งไม่สำคัญ เป็นสิ่งไม่น่านับถือ ทั้ง Claude C. Hopkins / David Ogilvy และ John Caples คงไม่พูดมาในทิศทางเดียวกันขนาดนี้

แต่แน่นอนว่า หากงานเขียนของเรา เป็นการไปลอกเลียนทุกสเต็ปเลย มันก็น่าเกลียดจนเกินไป (และอาจส่งผลร้ายต่อเจ้าของสินค้าได้) มันคงจะดีกว่า หากเรานำไปประยุกต์ ปรับแต่งได้ ก็น่าจะดีกว่า


สำหรับการหาไอเดียเกี่ยวกับสินค้า/บริการ เพื่อมาเขียนบทความโฆษณา ก็คงมีประมาณนี้ หลัก ๆ ก็คือ ศึกษาเกี่ยวกับสินค้าให้มาก ถามผู้เกี่ยวข้องให้มาก และศึกษางานชิ้นอื่น ๆ ในหมวดเดียวกันให้มากเข้าไว้

Section 1 - Basic Copywriting
Section 2 - องค์ประกอบหลักการเขียนโฆษณา
Section 3 - จิตวิทยาการโฆษณา
Section 4 - เกร็ดความรู้ในการเขียนโฆษณา
Tourism Authority of Thailand    Amazing Thailand     Pattaya Concierge     ChonHub     Kanchanaburi dot Co
Copyright © 2016 - 2024 | Ceediz.Com Contact: info@ceediz.com, info.ceediz@gmail.com