Ceediz - Knowledge Space
Copywriting การเขียนโฆษณา

การสื่อสารแบบเฉพาะบุคคล (Personal Communication)

ในการเขียนบทความโฆษณา (โดยเฉพาะพวก Direct mail) เราต้องเขียนในลักษณะการสื่อสารแบบส่วนบุคคล คุยกันตัวต่อตัว เหมือนเรากำลังพูดกับคน ๆ เดียว ไม่ใช่การพูดกับคนเป็นกลุ่ม เพราะเวลาผู้อ่านเค้าอ่านคนเดียว (ไม่ว่าบทความเราจะมีผู้อ่านมากแค่ไหน ในการอ่านแต่ละครั้ง ก็ถูกอ่านโดยคน 1 คนเท่านั้น คงไม่มีใครอ่านหนังสือสองคนพร้อมกัน โดยอ่านสลับกันคนละประโยคหรอก จริงไหมล่ะ?)

การเขียนให้สื่อสารแบบส่วนตัว/ส่วนบุคคลนี้ ยังมีส่วนช่วยให้มีความใกล้ชิดกับผู้อ่าน ไม่ห่างเหินจากการวางตัวของผู้เขียนด้วย เรียกได้ว่ามีสไตล์แบบเป็นกันเอง สร้างความคุ้นเคยกับผู้อ่านได้ง่าย

In creating the letter that goes with a mailing, too many copywriters write their letter as if they were hiding behind a podium, speaking through a microphone and addressing a large audience. For example:

We at ABC Company wish to invite all of you to visit our exhibit again at the upcoming trade show. Our staff will be there to meet you and demonstrate our new and novel button machine.

The personal way of saying it might be:

Hi. You might remember me from the last trade show. Well, I’d like to invite you to the next one where I will be looking forward to meeting you again to demonstrate our new and novel button machine.

You see the difference? The second version is more personal and direct. It is me talking to you --- not me talking to a large crowd. It is as if I, as an individual, were writing that letter to another individual.

… I remember reading a story about the image conveyed by the magazine itself. Forbes magazine has a strong personality. Steve Forbes now run the publication and his editorials appear in every issue. A reader feel more personally involved with the publication. In contrast, BusinessWeek appear more like corporate publication even though it has many byliness. A business woman once commented that she could put her arms around Forbes and hug the magazine but would only feel comfortable shaking BusinessWeek’s hand. So it is with copywriting.

You want to create a very personal image so that people will emotionally respond to you, feel close and feel very comfortable parting with their hard-earned money and buying your product or service.

Axiom 12:  Every communication should be a personal one, from the writer to recipient, regardless of the medium used.

 

ในการเขียนจดหมายเพื่อส่งไปหาผู้รับทางไปรษณีย์ นัก Copywriter จำนวนมาก เขียนจดหมายเหมือนกับว่าพวกเขาหลบอยู่บนแท่นประกาศ พูดผ่านไมโครโฟน และปราศรัยให้คนกลุ่มใหญ่ฟัง ตัวอย่างเช่น:

บริษัท ABC ขอเรียนเชิญทุกท่านมาเยี่ยมชมงานนิทรรศการแสดงสินค้าของเราอีกครั้ง เจ้าหน้าที่ของเราจะอยู่ที่นั่นเพื่อดูแลและทำการสาธิตนวัตกรรมใหม่ของเรา

หากเป็นการพูดสื่อสารแบบคุยกันส่วนตัว อาจจะเป็นแบบนี้:

สวัสดีครับ คุณน่าจะจำผมได้จากงานแสดงสินค้าคราวก่อน ผมอยากจะเชิญคุณให้มางานแสดงครั้งหน้า ซึ่งผมตั้งใจรอพบคุณอีกครั้ง เพื่อทำการแสดงนวัตกรรมใหม่ของเรา

คุณเห็นความแตกต่างไหม? แบบที่สอง มีความเป็นกันเองและเฉพาะเจาะจงกว่า มันคือ ฉันพูดกับคุณ --- ไม่ใช่ฉันพูดกับคนกลุ่มนึง มันเป็นเหมือนกับว่า ฉัน (คนคนนึง) กำลังเขียนจดหมายฉบับนี้ให้กับ คนอีกคนนึง

… ฉันนึกถึงเรื่องราวเกี่ยวกับการสื่อถึงภาพลักษณ์ของตัวนิตยสาร นิตยสาร Forbes มีบุคลิกที่เป็นกันเองมาก สตีฟ ฟอร์บ ทำการตีพิมพ์โดยให้เห็นตัวตนของนักเขียนทุกฉบับ ผู้อ่านรู้สึกคุ้นเคยและมีส่วนร่วมกับนิตยสาร ในทางตรงกันข้าม นิตยสาร BusinessWeek มีภาพลักษณ์เหมือนกับองค์กร แม้ว่าพวกเขาจะใช้การลงชื่อผู้เขียนบ่อยครั้ง นักธุรกิจหญิงคนนึงเคยบอกว่า เธอสามารถใช้แขนในการโอบกอด Forbes ได้ แต่น่าจะทำได้เพียงจับมือกับ BusinessWeek ซึ่งมันก็เป็นเช่นนั้นกับการเขียนบทความโฆษณา

คุณต้องสร้างภาพลักษณ์ที่เป็นกันเอง ถึงขนาดที่ว่าคนทั่วไปอยากจะโต้ตอบกับคุณ รู้สึกคุ้นเคยและสบายใจที่จะควักเงินมาซื้อสินค้า/บริการของคุณ

หลักการณ์ข้อที่ 12: ทุกการสื่อสารควรเป็นการสื่อสารแบบส่วนบุคคล (จากผู้เขียนถึงผู้อ่านโดยเฉพาะ) ไม่ว่าจะใช้สื่อช่องทางใดก็ตาม

 

The Adweek Copywriting Handbook  by  Joseph Sugarman

หากให้สรุปสิ่งที่ Sugarman เขียนไว้ ก็คงจะได้ประมานว่า พยายามสื่อสารแบบเรากำลังพูดกับคนเพียงคนเดียว ไม่ใช่พูดกับคนเป็นกลุ่ม การสื่อสารแบบนี้จะทำให้ผู้อ่านและผู้เขียนได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น

ลองมาดูอีกตัวอย่างที่พูดถึงประเด็นนี้เช่นกัน โดยตัวอย่างนี้มาจากหนังสือ How to Make Your Advertising Make Money ของ John Caples (อย่าลืมว่า Caples อยู่ในยุคที่ไม่มีอินเตอร์เน็ต เพราะฉะนั้นตัวอย่างที่เขาใช้ จะเป็นโฆษณาในช่วงเวลานั้น)

As mentioned previously, the most frequently-used word is you --- or derivatives such as yours and you’ll.

Below is a passage from a Book-of-the-Month Club ad in which you or its derivatives have been used eleven times in a single paragraph. I have capitalized the word you, yours, etc., so that you can pick them out at glance.

Notice how the “you” technique personalizes the copy and make it seem like a friendly letter from the writer to the reader.

Once YOU start shopping in America’s Bookstore --- YOU’LL be enjoying the most dependable reading reminder system in the world. YOU’LL be kept informed of important new books, and given ample opportunity to choose the ones YOU want. YOU’LL soon come to depend on the Book-of-the-Month Club’s thrifty shop-at-home service. Without leaving YOUR home, YOU can windowshop, browse and buy --- and have the books YOU want delivered straight to YOUR door. And by continuing YOUR membership past the trial period, YOU’LL be eligible for our unique Book-Dividend plan.

 

อย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้ คำที่ถูกใช้บ่อยที่สุด คือคำว่า คุณ --- หรือคำใกล้เคียงกัน เช่น ของคุณ และ คุณจะ

ด้านล่างนี้ คือ ท่อนนึงจากโฆษณาของคลับบุ๊ค-ออฟ-เดอะ-มันท์ ซึ่งเป็นโฆษณาที่ใช้คำว่า คุณ หรือ คำใกล้เคียงกัน 11 ครั้งใน 1 ย่อหน้า และเพื่อให้สังเกตุเห็นได้ง่าย ฉันได้ทำเป็นตัวหนังสือตัวใหญ่ [สำหรับภาษาไทยใช้ตัวหนาแทน] ในคำว่า คุณ ของคุณ และอื่น ๆ ที่ใกล้เคียง

ขอให้จำไว้ว่า เทคนิคการใช้ “คุณ” สามารถสร้างการสื่อสารแบบคุยกันส่วนตัวได้อย่างไร และมันยังทำให้จดหมายมีความเป็นกันเองจากผู้เขียนถึงผู้อ่านด้วย  

ทันทีที่คุณเริ่มช็อปปิ้งในร้านหนังสือของอเมริกา --- คุณจะประทับใจในตัวช่วยเตือนการอ่านที่วางใจได้ที่สุดในโลก คุณจะได้รับข่าวสารของหนังสือใหม่ และได้รับโอกาสเลือกเล่มที่คุณอยากได้เป็นระยะๆ เพียงเวลาไม่นานคุณจะอยากพึ่งพาบริการช่วยประหยัดจากคลับบุ๊ค-ออฟ-เดอะ-มันท์ คุณสามารถใช้เวลาเลือกดูและซื้อหนังสือได้โดยไม่ต้องออกจากบ้านของคุณ --- และหนังสือที่คุณต้องการจะส่งตรงถึงหน้าประตูบ้านคุณ และการต่ออายุสมาชิกของคุณหลังจากช่วงทดลอง คุณจะได้รับสิทธิพิเศษสำหรับ แพ็คเกจหนังสือ-ปันผลที่ไม่เหมือนใคร

 

How to Make Your Advertising Make Money  by  John Caples

John Caples ย้ำเน้นถึงการใช้คำว่า “คุณ” สามารถทำให้การสื่อสารของเราเข้าถึงผู้อ่านได้มากขึ้น มีความใกล้ชิดกันมากขึ้น ทำให้มันเป็นเหมือนกับว่าเราคุยกับผู้อ่านตัวต่อตัว

ความสำคัญของการสื่อสารแบบเป็นกันเอง ยังถูกพูดถึงโดย Halbert (อีกหนึ่งตำนานนักขายสินค้าทางไปรษณีย์) ในหนังสือ The Baron Letters ซึ่งเป็นการเขียนจดหมายจากคนเป็นพ่อ เพื่อสอนลูกชายของเขา

และถึงแม้ว่าเขาไม่ได้พูดถึงเรื่องนี้ในรูปแบบบทความโฆษนา (แต่เป็นในรูปแบบ Direct Mail) แต่การอธิบายของเขาก็น่าจดจำ และจะทำให้เราเข้าใจภาพรวมในเรื่องนี้มากขึ้น นำไปประยุกต์ใช้ได้ดีขึ้น

It is my contention that everybody divides their mail every day into two piles. An “A-Pile” and a “B-Pile”. The “A” pile contain letters that appear to be personal. Like letters from friends, relatives, business associates, and so on”

On the other hand, the “B” pile contain those envelopes that, obviously, contain a commercial message.

Now, here’s the way it works: Everybody always open all of their “A” pile mail. And for obvious reasons. After all, everybody want to read their personal mail.  

What happen to “B” pile mail? Does it always get opened? No. It doesn’t. Sometimes it is thrown away immediately without the envelope ever being opened. Sometimes, if it looks interesting, “B” pile envelope will be set aside for later examination. And, of course, sometimes… IF the envelope look interesting, or IF the person receiving has some idle time, or IF the person is bored and has nothing else to do, then, MAYBE the “B” pile envelopes will be opened.

Unsatisfactory.

… And so, my dear son, what is our first objective here, as we begin to design our DM promotion? You are right! Our first objective is to get our envelope into the “A” pile.

… Now let’s talk about the salutation. Notice that the salutation addresses our reader by name, just like I do in these letters to you. “Dear Bond” gets a certain quality of focus attention that is not enjoyed by “Dear Sir” or “Dear Occupant” or “Dear Reader”.

Think about it. When you read the word “Dear Bond”, you know my letter is for you personally, don’t you. It’s not for Kevin. It’s not for whoever own the house. Or anybody who live at the address on the envelope. No. The words “Dear Bond” indicate that this letter is for you and you alone.

And this makes you pay more attention, doesn’t it?

 

มันเป็นแนวคิดของพ่อว่า ในทุก ๆ วันคนเราจะแบ่งจดหมายเป็น 2 ส่วน คือ “กอง A” และ “กอง B” โดยที่กอง “A” เป็นกองที่รวมจดหมายส่วนตัวไว้ด้วยกัน เช่น จากเพื่อน ญาติ หรือสมาคมธุรกิจ และ อื่น ๆ ในลักษณะนี้

ในทางกลับกัน กอง “B”  เป็นกองที่รวมเอาจดหมายที่เห็นได้ชัดเจนว่ามีข้อความด้านการขายสินค้า

ตอนนี้ มาดูกันว่ามันหมายถึงอะไร: คนทุกคนเปิดจดหมายจากกอง “A” ทุกซอง ด้วยเหตุผลชัดเจนที่ว่า เราทุกคนอยากอ่านจดหมายที่ส่งมาพูดคุยกับเราโดยตรง

แล้วเกิดอะไรขึ้นกับจดหมายกอง “B” ล่ะ? มันถูกเปิดอ่านทุกซองหรือเปล่า? ไม่ มันไม่ใช่แบบนั้น บางครั้งมันถูกโยนทิ้งทันทีแม้ยังไม่ได้เปิดซองเลย บางครั้ง ถ้ามันดูน่าสนใจ จดหมายจากกอง “B” จะถูกวางไว้ข้าง ๆ เพื่อเปิดดูในภายหลัง และแน่นอนว่าบางครั้ง… ถ้าจดหมายดูน่าสนใจจริง ๆ หรือ ถ้าผู้รับจดหมายพอจะมีเวลาว่าง หรือ ถ้าผู้รับจดหมายไม่มีอะไรทำ หากเป็นเช่นั้นจดหมายกอง “B” อาจจะถูกเปิดอ่าน

มันช่างไม่น่าพอใจเอาเสียเลย

… และด้วยเหตุนี้ หนุ่มน้อยที่น่ารักของฉัน อะไรคือวัตถุประสงค์หลักในตอนนี้ ในขณะที่เรากำลังออกแบบโปรโมชั่นสำหรับจดหมายขายตรงของเรา? ถูกเผงเลย! เป้าหมายแรกของเรา ก็คือ การทำให้จดหมายของเราอยู่ในกอง “A”

… มาดูเรื่องการทักทายกันบ้าง จำไว้ว่าการทักทายควรใช้ชื่อของผู้อ่านโดยตรง เหมือนกับจดหมายหลาย ๆ ฉบับที่พ่อส่งให้ลูกอ่าน คำว่า “ถึง Bond” จะได้รับความสนใจเป็นพิเศษ ไม่เหมือนกับ “เรียนท่านที่เกี่ยวข้อง” หรือ “ถึงผู้ที่ได้รับจดหมายนี้” หรือ “ถึงผู้อ่าน”

ลองคิดดูสิ ตอนที่ลูกอ่านคำว่า “ถึง Bond” ลูกรู้ทันทีเลยว่าจดหมายของพ่อส่งมาให้ลูกโดยเฉพาะ ใช่มั้ยล่ะ? มันไม่ใช่ของ Kevin มันไม่ได้ส่งมาให้เจ้าของบ้าน หรือใครก็ได้ที่อยู่ในบ้านตามที่อยู่บนซองจดหมาย ไม่เลย คำว่า “ถึง Bond” แสดงให้เห็นว่า จดหมายฉบับนี้สำหรับลูกคนเดียวเท่านั้น

และสิ่งนี้ก็ทำให้ลูกใส่ใจกับมันมากขึ้น ไม่ใช่เหรอ?

 

The Boron Letters  by  Gary C. Halbert

Halbert เป็นคนที่ให้ความสำคัญมาก ๆ กับความรู้สึกที่ใกล้ชิดกับผู้อ่าน ทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่าเขามีความสำคัญ เขามักจะศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับผู้รับจดหมาย และหาวิธีปรับแต่งจดหมาย และ บทความ ให้เหมาะกับผู้อ่านอยู่เสมอ

แม้ว่าทุกวันนี้เทคโนโลยี จะเปลี่ยนไปมาก มีการใช้ Email แทนการส่งจดหมายมานานแล้ว แต่หากเราเอาแนวคิดของ Halbert มาประยุกต์ได้ ก็จะทำให้เรา (ผู้เขียนบทความโฆษณา) กับผู้อ่านมีระยะห่างระหว่างน้อยลง ใกล้ชิดกันมากขึ้น

เพราะฉะนั้นอย่างลืมว่า การสื่อสารแบบส่วนบุคคล คุยกันแบบส่วนตัว บอกกล่าวกันอย่างเป็นกันเอง มีความสำคัญไม่น้อยในงานเขียนบทความโฆษณา

Section 1 - Basic Copywriting
Section 2 - องค์ประกอบหลักการเขียนโฆษณา
Section 3 - จิตวิทยาการโฆษณา
Section 4 - เกร็ดความรู้ในการเขียนโฆษณา
Tourism Authority of Thailand    Amazing Thailand     Pattaya Concierge     ChonHub     Kanchanaburi dot Co
Copyright © 2016 - 2024 | Ceediz.Com Contact: info@ceediz.com, info.ceediz@gmail.com