Ceediz - Knowledge Space
Copywriting การเขียนโฆษณา

การแสดงให้เห็นภาพ (Show Don’t Tell)

การแสดงให้เห็นภาพ เป็นสิ่งที่นักเขียนต้องผ่านหูผ่านตากันมาบ้างอยู่แล้ว แต่หากเป็นคนที่เพิ่งเริ่มศึกษาด้านงานเขียน อาจยังไม่แน่ใจในเรื่องนี้มากนัก หรืออาจจะยังไม่เคยผ่านหูผ่านตามาเลยก็คงมี

อย่างไรก็ตาม การแสดงให้เห็นภาพ หรือ การบรรยายให้เห็นภาพ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เป็นเทคนิคที่ทรงพลังเกินกว่าที่จะมองข้ามไปได้ ดังนั้นเราควรที่จะทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง

ก่อนอื่นเลย สำหรับคนที่ยังไม่เข้าใจว่า การแสดงให้เห็นภาพคืออะไรนั้น ขออธิบายอย่าง่าย ๆ ว่า มันคือการเขียนบรรยายภาพที่อยู่ในจินตนาการของเราออกมา มีลักษณะอย่างไร มีสี มีกลิ่น มีเสียง มีการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ยังไงบ้าง

การแสดงให้เห็นภาพ ไม่ใช่การบอกผู้อ่านว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง แต่แสดงให้ผู้อ่านเห็นว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง ในภาษาอังกฤษจึงมีการใช้คำว่า “Show don’t tell” (อย่าบอกให้ทราบ จงแสดงให้เห็น) เพื่อความกระจ่างมากขึ้น ลองมาดูสิ่งที่ Robyn Opie Parnell อธิบายถึงเรื่องนี้ในหนังสือ Show Don’t Tell: The Ultimate Writers’ Guide ของเธอ

Showing requires readers to participate by using their imaginations to come to their own conclusions based on the writer’s words. Writer are not telling readers. Readers are being shown what going on and are pulled into the story because they have to interpret the writer’s meaning themselves.

Doesn’t this sound like real life? In real life, we see and hear scenes, and we have to interpret them ourselves. Most of us don’t have a narrator who tells us what is going on in our daily lives. We have to make up our own minds, given what we see and hear.

When we interpret information ourselves, we bring our own experiences and personalities to a story. We add to the story and make it our own. We personalize it. We know how we’d feel in similar situations, and we bring these thoughts and feelings to the story. Through this participation, we have drawn or pulled into the story. We’re involved.

… If you watch a horror movie, the director wants you to feel scared - horrified, even. If you watch a romance, the director wants you to feel love, happiness and hope for the future. If you watch a drama, the director wants you to feel the drama.

As a writer, your job should be to create images within your own readers’ minds that invoke  a prescribed response from your readers i.e. which elicit emotions. You want your readers to feel the emotions your characters experience during each situation or scene. The difference is that you’re using words, and not film to create the images.

… Here are some examples of telling:

  • She felt tired.
  • He was worried
  • It was stormy.

Here are the same examples using show instead of tell:

  • She fell into a chair. Her feet ached and she thought about removing her shoes but she couldn’t muster the energy.
  • He closed his eyes, frowned and rubbed his forehead. What was he going to do?
  • He looked out the kitchen window. Rain splattered against the glass and drilled a staccato beat on the iron roof. Thunder crashed overhead. His dog whined.

And so on.

การแสดงให้เห็นภาพต้องทำให้ผู้อ่านมีส่วนร่วม โดยใช้จิตนาการของพวกเขาสรุปสิ่งต่าง ๆ จากคำพูดของนักเขียน นักเขียนไม่ได้กำลังบอกผู้อ่าน แต่ผู้อ่านถูกทำให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้น และถูกดึงเข้าไปสู่เรื่องราวนั้น เพราะ พวกเขาตีความความหมายของนักเขียนด้วยตัวพวกเขาเอง

 

ไม่คิดว่าฟังดูเหมือนชีวิตจริงเหรอ? ในชีวิตจริง เราได้ยินและได้เห็นสภาพแวดล้อมมากมาย และเราก็ต้องตีความสิ่งเหล่านั้นด้วยตนเอง คนเราแทบทุกคนไม่มีนักเล่าเรื่องมาคอยบอกกล่าว ว่าอะไรเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันบ้าง เราต้องจัดการกระบวนความคิดเอง จากสิ่งที่เราเห็นและได้ยิน

 

ตอนที่เราตีความสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง เรานำเอาประสบการณ์และลักษณะนิสัยของเราเข้ามาสู่เรื่องราวนั้น ๆ ด้วย เราเข้าไปสู่เรื่องราวและทำมันให้เป็นเรื่องของเรา เรารู้ถึงความรู้สึกในสถานการณ์เดียวกัน และเรานำเอาความคิดและความรู้สึกเหล่านี้เข้าไปสู้เรื่องราวนั้น ๆ ด้วย การมีส่วนร่วมแบบนี้ ทำให้เราถูกดึงเข้าสู่เรื่องที่เขียนได้ เราเกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นด้วย

 

… ถ้าคุณดูหนังสยองขวัญ ผู้กำกับอยากทำให้คุณรู้สึกกลัวและตกใจ ถ้าคุณดูหนังโรแมนติค ผู้กำกับอยากทำให้คุณรู้สึกถึงความรัก ความสุข และความหวังในอนาคต ถ้าคุณดูหนังดรามา ผู้กำกับอยากทำให้คุณรู้สึกความรู้สึกสะเทือนอารมณ์

 

สำหรับนักเขียน งานของคุณก็คือ การสร้างภาพต่าง ๆ ในความคิดของผู้อ่าน ภาพที่นำมาซึ่งการตอบสนองบางอย่างจากผู้อ่าน เช่น การกระตุ้นอารมณ์ เป็นต้น คุณอยากให้ผู้อ่าน รู้สึกถึงอารมณ์ที่ตัวละครต้องเผชิญในแต่ละฉาก ความต่าง [กับผู้กำกับหนัง] ก็คือ คุณกำลังใช้คำพูด ไม่ใช่หนังในการสร้างภาพให้เห็น

 

… นี่คือตัวอย่างในการบอก:

 
  • เธอรู้สึกเหนื่อย

  • เขารุ้สึกกังวล

  • มันเกิดพายขึ้น

 

นี่คือตัวอย่างเดียวกัน แต่ใช้การแสดงให้เห็น แทนการบอก:

 
  • เธอปล่อยตัวลงบนเก้าอี้ตัวหนึ่ง เท้าของเธอปวดและเธอคิดที่จะถอดรองเท้า แต่เธอไม่สามารถรวบรวมเรี่ยวแรงได้

  • เขาหลับตาลง ทำหน้านิ่วขมวดคิ้วและถูไปมาที่หน้าผากของเขา เขากำลังจะทำอะไรต่อไป?

  • เขามองไปที่หน้าต่างห้องครัว น้ำฝนสาดปะทะกระจกและมีเสียงเปาะแปะบนหลังคา สายฟ้าฟาดเหนือหัว และสุนัขของเขาร้องครวญคราง  

 

และอื่น ๆ

 

Show Don’t Tell: The Ultimate Writers’ Guide  by  Robyn Opie Parnell

สิ่งที่ Robyn Opie Parnell ได้อธิบายไว้ ทำให้เราเข้าใจได้ว่า “การแสดงให้เห็นภาพ” สามารถทำให้ผู้อ่านมีส่วนร่วมและมีอารมณ์ร่วมมากขึ้น เนื้อหาที่เราเขียนก็จะดูน่าสนใจมากขึ้นไปด้วย เรียกได้ว่าเป็นเทคนิคที่นักเขียนนิยายต้องใชักันตลอดเวลาเลย

พูดง่าย ๆ ว่า การแสดงให้เห็นภาพ เป็นเทคนิคการเขียนอีกอย่างนึง ที่นักเขียนทุกประเภทควรเรียนรู้ไว้ รวมถึงนักเขียนโฆษณา เพราะการทำให้ผู้อ่านเห็นภาพได้นั้น จะทำให้พวกเค้าอินไปกับงานเขียนของเรามากกว่าเดิม ทำให้เข้าถึงอารมณ์ที่เรากำลังสื่อถึงได้ดียิ่งขึ้น

  • หากเป็นเรื่องราวที่น่าตื่นเต้น ผู้อ่านก็จะลุ้นระทึกกว่าเดิม
  • หากเป็นเรื่องความน่ายินดี ผู้อ่านก็จะยิ้มกริ่มไปกับเรื่องราวของเรา
  • หากเป็นเรื่องเศร้า ผู้อ่านก็จะรู้สึกซึ้งกินใจกว่าเดิม
  • หากเป็นเรื่องราวของการพักผ่อน ผู้อ่านก็จะรู้สึกผ่อนคลาย อย่างกับไปพักผ่อนด้วยตนเอง

นั่นหมายความว่า หากเราในฐานะของนักเขียนบทความโฆษณา สามารถใช้เทคนิคที่ทำให้ผู้อ่านเห็นภาพที่เราสื่อถึงได้อย่างชัดเจน ก็มีโอกาสที่ผู้อ่านจะมีความรู้สึกร่วม  สามารถจินตนาการถึงประโยชน์ของสินค้าเรา ราวกับเค้ากำลังทดลองใช้มันอยู่นั่นเอง ซึ่งประเด็นนี้ Joseph Sugarman ได้พูดเอาไว้ในหนังสือของเขาเช่นกัน

In your copywriting, let your readers take a stroll down a path with you or let them smell fragrance through your nose or let them experience some of emotions you are feeling by forming a mental picture from your description.

If I were writing an advertisement for Corvette sports car,  I might say, “Take a ride in the new Corvette. Feel the breeze blowing to your hair as you drive through the warm evening. Watch heads turn. Punch the accelerator to the floor and feel the burst of power that pins you into the back of your contour seat. Look beautiful display of electronic technology right on your dashboard. Feel the power and excitement of America’s super sports car.”

I would still explain all the special features of the car --- the logic upon which to justify its purchase --- but I would really play up that feeling of involvement and ownership.

… The feeling of ownership is a concept that is pretty close to the feeling of involvement, but here you are making readers feel that they already own the product and you letting them use their imagination as you take them through the steps of what it would be like if they already own it. An example might be, “When you receive your exercise device, work out on it. Adjust the weights. See how easy it is to store under your bed ...” In short, you are making them feel that they have already bought the product.

ในบทความโฆษณาของคุณ ทำให้ผู้อ่านเตร็ดเตร่ไปพร้อมกับคุณ หรือ ทำให้พวกเขาสูดกลิ่นหอมหวนผ่านจมูกของคุณ หรือ ทำให้พวกเขาเข้าถึงอารมณ์บางอย่างที่คุณกำลังรู้สึก โดยภาพในจิตใจจากคำเขียนของคุณ

 

ถ้าฉันกำลังเขียนโฆษณาสักชิ้นสำหรับ รถสปอร์ต Corvette ฉันอาจจะบอกว่า “ลองมาขับ Corvette คันใหม่ เต็มอิ่มกับสายลมที่พัดผ่านเส้นผมของคุณขณะกำลังขับในช่วงเย็น มองดูผู้คนที่หันมามอง เหยียบคันเร่งให้สุด และรับรู้ถึงพลังการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ที่ตรึงคุณไว้ด้านหลังสุดของเบาะนั่ง มองดูหน้าปัดอิเล็คทรอนิกสวย ๆ บริเวณคอนโซลของคุณ สัมผัสความทรงพลังและความตื่นเต้นของรถซูเปอร์สปอร์ตของชาวอเมริกา”

 

ฉันจะยังคงอธิบายถึงฟีเจอร์พิเศษต่าง ๆ ทั้งหมดของรถ --- เหตุผลที่จะทำให้คนตัดสินใจซื้อ --- แต่ฉันจะเล่นกับความรู้สึกของการมีส่วนร่วมและความเป็นจ้าของอย่างจริงจัง

 

… ความรู้สึกของการเป็นเจ้าของ ก็คือ หลักการที่ใกล้เคียงกับควมรู้สึกของความมีส่วนร่วม แต่ตรงนี้ คุณกำลังทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่า พวกเขาเป็นเจ้าของสินค้าแล้ว และคุณปล่อยให้เขาใช้จินตนาการ ว่าสินค้าเป็นอย่างไรหากเขามีสินค้าอยู่ในมือแล้ว ตัวอย่างคือ “เมื่อคุณได้รับเครื่องออกกำลังของคุณแล้ว ลองเล่นมันดู ปรับแต่งระดับน้ำหนัก ลองดูว่ามันเก็บไว้ใต้เตียงของคุณได้ง่ายมาก ...” พูดสั้น ๆ ก็คือ คุณกำลังทำให้พวกเขารู้สึกว่า เขาได้ซื้อสินค้าไปแล้ว

 

The Adweek Copywriting Handbook  by  Joseph Sugarman

สิ่งที่ Sugarman อยากจะบอกก็คือ ผู้สนใจสินค้าจะรู้สึกมีส่วนร่วมกับสินค้ามากขึ้น หากเราทำให้ผู้สนใจเหล่านั้น ได้หยิบจับสินค้าขึ้นมาดู (ซึ่งในด้านการเขียนนั้น ก็ต้องเป็นอาศัยเทคนิคแสดงให้เขาเห็นนั่นเอง)

เมื่อ Copywriter อย่าง Sugarman ยังเน้นถึงประโยชน์ของการบรรยายให้ผู้อ่านเห็นภาพ ก็เป็นสิ่งยืนยันชัดเจนว่า เทคนิคนี้มีความสำคัญต่อการเขียนโฆษณา และเราควรฝึกฝนให้ใช้มันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หากเราสามารถทำให้ผู้สนใจจินตนาการถึงสินค้าเรา อินไปกับความน่าทึ่งและมีความสุขในสินค้าชิ้นนั้นได้ การเพิ่มยอดขายก็จะทำได้ง่ายขึ้นด้วย

การแสดงให้เห็นภาพด้วยข้อมูลเฉพาะเจาะจง (Specific visual Information) เป็นการเขียนบรรยายสิ่งต่าง ๆ แบบชัดเจน ให้รายละเอียดครบถ้วน ซึ่งสิ่งนี้มีความสำคัญมาก เพราะจะช่วยให้ผู้อ่านจินตนาการสิ่งที่เราพูดถึงได้ง่ายขึ้น เห็นองค์ประกอบต่าง ๆ และสภาพแวดล้อมแบบเดียวกับที่เราเห็น จึงทำให้งานเขียนเราดูมีชีวิตชีวาและน่าสนใจมากขึ้นไปด้วย

ในส่วนนี้มีพูดถึงในหนังสือ Cashvertising ที่เขียนโดย Drew Eric Whiteman (เป็นหนังสืออีกเล่มที่นักเขียนโฆษณาควรอ่าน) ซึ่งเนื้อหาที่เค้าพูดถึงวิธีการบรรยายให้เห็นภาพนั้น น่าสนใจมากทีเดียว

… By using specific visual words, you can give your audience a sense of what it’s like to actually interact with your products or enjoy the benefits of your service --- to demonstrate its use inside their minds --- long before they actually buy it. This vicarious pleasure is where persuasion begins, because the first use of any product is inside customers’ minds. (Stop. Read that last sentence again.) Imagining the use of something that appeals to you increase your desire for it.

For example, let’s say you love ice cream. If you spend all afternoon thinking about ordering a giant hot fudge sundae at dinner with three giant scoops of Guittard mint chocolate chip, two big ladle of streaming, extra-dark hot fudge, chopped wet nuts, all blanketed in a cloud of fluffy whipped cream with a maraschino cherry on top, you’re naturally going to want it more than if you hadn’t thought about it.

And ultimately --- if that desire is strong enough --- you will take some form of action that results in your having mint chocolate chip ice cream, hot fudge, chopped nuts, and a maraschino cherry floating around in your stomach. (And perhaps some in your lap, too, if you’re particularly exuberant while eating it.)

Again, notice how my choice of words causes you imagine ice cream, nuts, streaming-hot fudge and a bright red cherry floating in  your stomach. If I instead said, “you’ll take some form of action that result in your having eaten it,” your mental movie screen would have --- POOF --- gone blank. And --- this is critical --- The less imagery you convey, the less your message occupies consumers’ brains, the less likely it is that you’ll influence them. Let me drive this point home with another example.

Let’s look at transforming a bland sentence with no imagery power into Hollywood blockbuster. The bland sentence is: “Go somewhere and do something.” Yawn. Each successive variation of this sentence will build in visual intensity, not simply because we add words and sentences, but because the words I use are intentionally selected to install mental movies --- visual --- in your head.

  • Go somewhere and do something. (This is a blank movie screen. No Imagery.)
  • Go somewhere and get something. (Do can mean anything. Get is more specific.)
  • Go to the kitchen and get something. (Still vague, but now you know where to go.)
  • Go to the kitchen and get some food. (Ahh, now we’re getting somewhere. Do you see how filling in the detail creates imagery?)
  • Go to the kitchen, open the oven, and get food. (Notice how you picture yourself opening and oven. Specific wording implants images. Action words create moving pictures.)
  • Go to the kitchen, open the oven, and pull out the pizza. (Very visual. A picture of pizza pops into your head, whether you want it or not! See the power of this? You can’t help but picture what I write about, if I use specific words.)
  • Go to the kitchen, open the oven, and pull out the freshest, crispiest, most delicious hot pizza you’ve ever eaten. Go on, cut yourself a big, hearty slice. Careful, it’s hot! Now take a big bite. Talk about crisp! The dough was made fresh this morning and bake in a virgin olive oil-coated black pan for a thick, deep-dish Chicago style crust. The sauce? Prepared from scratch, of course, from juicy plum potatoes picked this morning, and blended with select fresh herbs from our garden. Cheese? You betcha! Lots and lots chewy, whole-milk mozzarella, made from the finest buffalo milk, of course, and the entire pie baked to bubbling perfection in a 750-degree wood-burning brick oven imported from Genoa, Italy. (Okay, I really maxed out this one to prove my point. And chances are you experienced a rich and detailed series of images by simply reading my words.)   

 

… หากใช้คำศัพท์ในการนึกภาพ คุณสามารถทำให้ผู้อ่านของคุณ รับรู้ถึงการตอบสนองของสินค้า หรือรู้สึกดีกับประโยชน์ของบริการคุณ --- แสดงวิธีใช้มันในใจพวกเขา --- ก่อนที่เขาจะซื้อมันจริงๆ การรับรู้ถึงประสบการณ์ดี ๆ เช่นนี้ คือจุดที่การโน้มนาวใจเริ่มต้นขึ้น เพราะว่าการใช้สินค้าครั้งแรกได้อยู่ในใจลูกค้าแล้ว (หยุด อ่านประโยคสุดท้ายอีกครั้ง) การจินตนาการการใช้งานบางสิ่ที่ดึงดูดคุณ จะทำให้คุณอยากได้มันมากขึ้น

 

ตัวอย่างเช่น สมมุตว่าคุณชอบกินไอศครีมมาก ถ้าคุณใช้เวลาตลอดช่วงกลางวัน คิดถึงการสั่งไอศรีมซันเดย์หวานนุ่มขนาดใหญ่ในช่วงอาการค่ำ มีไอศครีมรสมิ้นช็อคโกแลตชิป Guittard 3 สกู๊ปใหญ่ ๆ พร้อมดาร์คฮอทฟัดจ์ ถั่วสับ คลุมด้วยกลุ่มเมฆสีขาวของวิปครีมนุ่ม พร้อมมาราสชีโนเชอร์รี่ด้านบน คุณจะต้องการสิ่งนั้นมากกว่า ตอนที่คุณไม่เคยคิดถึงมัน

 

และท้ายที่สุด --- ถ้าความอยากได้สิ่งนั้นมันมากพอ --- คุณจะกระทำบางอย่างที่ส่งผลให้คุณมีมิ้นช็อคโกแลตชิปไอศครีม ฮอทฟัดจ์ ถั่วสับ และมาราสชีโนเชอร์รี่ อยู่ในกระเพาะของคุณ (และบางส่วนอาจเลอะบนตักคุณด้วย ถ้าคุณกินอย่างเอร็ดอร่อยเกินไป)

 

อีกครั้ง สังเกตุเห็นมั้ยว่า การเลือกใช้คำของฉันทำให้คุณนึกถึงไอศครีม ถั่ว ซอสฮอทฟัดจ์ และลูกเชอร์รี่สีแดงอยู่ในกระเพาะของคุณ ถ้าฉันพูดแบบนี้แทน “คุณจะกระทำบางอย่างที่ส่งผลให้คุณๆด้กินมัน” ภาพในจิตใจของคุณอาจจะ --- ฟุบ --- หายไป และ --- สิ่งนี้สำคัญมาก --- ยิ่งสื่อสารแบบไร้จินตนาการมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้ลูกค้าจำข้อความที่คุณสื่อได้น้อยลง ยิ่งมีโอกาสโน้มน้าวพวกเขาได้น้อยลงมากเท่านั้น มาดูตัวอย่างของฉันอีกสักอัน

 

มาลองดูว่าการแปลงประโยคธรรมดา ๆ ไร้ซึ่งจินตนาการ ให้กลายเป็นระดับรางวัล Hollywood Blockbuster กันดีกว่า ประโยคธรรมดา ๆ คือ “ไปบางที่และทำบางอย่าง” ..หวาย.. แต่ละครั้งที่เปลี่ยนแปลงประโยคนี้ จะสร้างพลังที่ช่วยให้เห็นภาพได้ ไม่ใช่เพียงเพราะว่าเราเพิ่มคำและประโยคเข้าไป แต่เพราะว่า คำศัพท์ที่ฉันใช้ถูกเลือกอย่างเฉพาะเจาะจงไปที่ การปลูกฝังภาพในจิตใจ --- ภาพที่ทำให้นึกตามได้ --- ในหัวของคุณ

 
  • ไปบางที่และทำบางอย่าง (อันนี้มองไม่เห็นภาพเลย ไร้จินตนาการโดยสิ้นเชิง)

  • ไปบางที่และได้รับบางอย่าง (คำว่า ”ทำ” สามารถเป็นอะไรก็ได้ ได้รับเป็นอะไรที่เจาะจงกว่าเดิม)

  • ไปที่ห้องครัวและได้รับบางอย่าง (ยังคงไม่ชัดเจน แต่ตอนนี้คุณรู้แล้วว่าไปที่ไหน)

  • ไปที่ห้องครัวและได้รับอาหารบางอย่าง (อ้า, ตอนนี้เหมือนจะเริ่มชัดเจนขึ้น คุณเห็นมั้ยว่าคำอธิบายสร้างจินตนาการได้อย่างไร?)

  • ไปที่ห้องครัว เปิดเตาอบและได้รับอาหารบางอย่าง (สังเกตุวิธีที่คุณนึกภาพเปิดเตาอบหรือเปล่า คำเฉพาะเจาะจงช่วยให้เห็นภาพ คำศัพท์ด้านการกระทำช่วยทำให้ภาพเคลื่อนไหว)

  • ไปที่ห้องครัว เปิดเตาอบและหยิบเอาพิซซ่าออกมา (เห็นชัดมาก ภาพของพิซซ่าแวบเข้ามาในหัว ไม่ว่าคุณจะอยากได้มันหรือไม่ เห็นพลังของมันหรือยัง? คุณทำอะไรไม่ได้นอกจาก นึกภาพตามสิ่งที่ฉันเขียน หากฉันใช้คำที่เฉพาะเจาะจง)

  • ไปที่ห้องครัว เปิดเตาอบและหยิบพิซซ่าอบกรอบสดใหม่ ที่อร่อยมาก ๆ ของคุณออกมา นำไปตัดแบ่งออกมาชิ้นใหญ่ ๆ แต่ระวัง มันร้อนนะ! เอาล่ะ ทีนี้ลองชิมสักคำโต ๆ พูดถึงความกรอบ! แป้งที่ใช้เพิ่งทำใหม่เลยเมื่อเช้านี้ และอบมันในกระทะที่ชุ่มไปด้วยน้ำมันมะกอก สำหรับซอสน่ะเหรอ? แน่นอน ตระเตรียมตั้งแต่วัตถุดิบเลย ด้วยมะเขือเทศที่ชุ่มอิ่มที่เก็บยามเช้า แล้วมาปั่นรวมกับสมุนไพรในสวนของเราไง ส่วนชีสน่ะเหรอ? คุณมั่นใจได้เลยว่ามันเหนียวนุ่มจากมอสเซเราล่า ที่ทำจากนมควายคุณภาพเยี่ยม ส่วนแผ่นแป้งทั้งหมดอบถึงจุดเดือดอย่างสมบูรณ์ ระดับความร้อน 750 ดีกรี ในเตาอบเผาด้วยถ่านไม้จากเจนัว อิตาลี (โอเค ฉันใส่เต็มที่สำหรับตรงนี้เพื่อที่จะพิสูจน์ให้เห็น และน่าจะทำให้คุณรับรู้ได้ถึงข้อมูลที่ทำให้เห็นภาพได้ โดยการอ่านคำพูดของฉัน)

 

 

Cashvertising  by  Drew Eric Whiteman

สิ่งที่ Drew Eric Whiteman อธิบายและยกตัวอย่างมานั้น น่าจะทำให้เราเข้าใจถึงความหมายของคำว่า “การแสดงให้เห็นภาพ” มากขึ้น อ่านแล้วอยากจะกินพิซซ่าตอนนี้เลยทีเดียว ซึ่งหากเราสามารถทำให้คนเห็นสินค้าเราในลักษณะนี้ได้ เค้าก็จะอยากได้มันมากขึ้น เหมือนกับที่เราอยากกินพิซซ่านั่นแหละ

นอกจาก Drew Eric Whiteman จะพูดถึงความสำคัญของข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงแล้ว เค้ายังให้ความสำคัญกับ Action Words ด้วย หมายถึง การใช้คำที่ทำให้ผู้อ่านเกิดการกระทำบางอย่าง (เช่น เปิดเตาอบ ดึงถาดพิซซ่าออกมา หั่นเป็นชิ้น เป็นต้น) เพราะ Drew Eric Whiteman เชื่อว่า มันทำให้ภาพที่เห็นมีการเคลื่อนไหว ทำให้เกิดความรู้สึกอินกับสิ่งที่อยู่ในจินตนาการมากขึ้นด้วยนั่นเอง

หากใครที่ต้องการเพิ่มความน่าสนใจในงานเขียนโฆษณา การฝึกเทคนิค Show Don’t Tell ที่ฝรั่งเค้าพูดกัน หรือที่คนไทยเรามักเรียกกันว่า การแสดงให้เห็นภาพ/การบรรยายให้เห็นภาพ ก็ถือเป็นอีกเทคนิคการเขียนที่ควรมีติดตัวเอาไว้

Section 1 - Basic Copywriting
Section 2 - องค์ประกอบหลักการเขียนโฆษณา
Section 3 - จิตวิทยาการโฆษณา
Section 4 - เกร็ดความรู้ในการเขียนโฆษณา
Tourism Authority of Thailand    Amazing Thailand     Pattaya Concierge     ChonHub     Kanchanaburi dot Co
Copyright © 2016 - 2024 | Ceediz.Com Contact: info@ceediz.com, info.ceediz@gmail.com