Ceediz - Knowledge Space
Copywriting การเขียนโฆษณา

การเขียนเล่าเรื่อง (Storytelling)

การเล่าเรื่อง (Storytelling) เป็นหนึ่งในเทคนิคการเขียนที่นักเขียนทุกสายควรเรียนรู้ แน่นอนว่า รวมถึงสายการเขียนบทความเพื่อการโฆษณาด้วย (ที่จริงแล้วการเล่าเรื่อง ยังเหมาะกับการสื่อสารด้วยการพูดด้วยเช่นกัน)

สาเหตุที่การเขียนเล่าเรื่องมีความสำคัญกับทั้งการพูดและการเขียน ก็เพราะว่า การเล่าเรื่องช่วยทำให้การสื่อสารของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้อ่านและผู้ฟังจะสนใจฟังมากกว่าเดิม เข้าถึงอารมณ์ได้มากขึ้น รวมถึงยังทำให้พวกเขาจดจำเรื่องราวได้ง่ายกว่าเดิมอีกด้วย

ลองมาดูลักษณะ การเขียนแบบเป็นการเล่าเรื่อง กับ การเขียนแบบทั่วไป กันสักหน่อย เผื่อจะเห็นภาพขึ้นบ้าง
 

  • (ทั่วไป) “วันนี้ผมจะพูดถึงคอนเซปการเปิดร้านกาแฟให้สร้างรายได้ ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง”
  • (เล่าเรื่อง) “ผมเคยคิดว่าสมัยนี้ร้านกาแฟเปิดยังไงก็ตาย แต่รุ่นน้องคนนึง ทำให้ผมต้องเปลี่ยนความคิด รุ่นน้องคนนี้ ได้เปิดร้านกาแฟแถวสนามเป้าเมื่อปีก่อน ด้วยงบที่มีไม่มากนัก ตอนแรกเค้าเลยเลือกที่จะ...”
     
  • (ทั่วไป) “การขายคอร์สมีหลักการที่คุณควรรู้อยู่หลายข้อ แต่หากคุณพยายามจำมันให้ได้ โอกาสที่คุณจะรวย ก็จะง่ายขึ้น”
  • (เล่าเรื่อง) “ใครจะไปรู้ว่าจุดเปลี่ยนในชีวิตผม จะเป็นเพราะการสอนภาษาอังกฤษแบบง่าย ๆ ให้คนข้างบ้าน ในตอนแรกผมก็ไม่อยากไปสอน รู้สึกเสียเวลา ขี้เกียจสอน แต่เค้าก็มาเรียกอยู่นั่นแหละ ผมเลยหยิบปากกาขึ้นมาสองแท่ง พร้อมกับดึงกระดาษ A4 มา 2 แผ่น จากนั้น...”


การเล่าเรื่องจะมีลักษณะที่มีความเป็นกันเอง คนเราจึงผ่อนคลายมากกว่า ไม่ต้องใช้สมองมากในการรับฟัง แถมเรื่องราวยังมีที่มาที่ไป เราจึงจำเรื่องราวทั้งหมดได้ (ลองดูหนังหรือละครซักเรื่องสิ เราจะจำเรื่องราวหลัก ๆ ได้โดยไม่ต้องจดบันทึกเลย)

การเล่าเรื่องยังถูกแนะนำโดย นัก Copywriter อีกหลายคนด้วย ลองดูทรรศนะเกี่ยวกับเรื่องนี้ของพวกเขากันดูบ้าง

People love stories, and one of really good ways to relate to your prospect is to tell a story. Just as a picture worth a thousand words, a story can be invaluable and often create an emotional relationship or bond that keep your prospect riveted and listening. Stories create human interest. In childhood, stories read to us by our parents were the way we fantasized or even saw the world. In short, we’ve been primed for stories ever since we were very young.

Think of the public speakers who starts his speech with a story or uses stories throughout his presentation. It makes for an interesting presentation and often holds the interest of the audience. In fact, very often, after I’ve been listening to a boring speaker and my mind starts to wander. I become alert when I know a story is about to be told.

Stories usually have lesson to teach or experiences to share or even endings that can excite, surprise or bring out emotion. And so it is with good copy. If you tell a story in your copy that is relevant either to selling your product, to creating the environment for selling or to getting the prospect to read your copy, you are using this wonderful and powerful trigger in a very effective way to sell your product or service.

… When writing copy for your product, think about using a few stories that might be of interest to your prospect and assist in the sale of your product: stories about a new development and how you discovered it --- stories about yourself that would be of interest to your prospects.

Timing is also important in the storytelling process. It is nice to start with story, because it hold attention and engages the prospect. Telling stories is an art form and using it effectively in a print ad grows with experience. Simply being aware of its potential and its effectiveness is a good start. You’ll be surprised at how many stories you’ll be able to come up with once you put your mind on it.

A good story should capture a person’s attention, relate the product or service in the copy and help you bond with the prospect.


คนเราชื่นชอบเรื่องเล่า และหนึ่งในวิธีดี ๆ ในการเชื่อมโยงกับลูกค้า ก็คือการเล่าเรื่อง มันเหมือนกับรูปภาพ 1 รูปมีค่ามากกว่าคำพูดพันคำ เรื่องเล่าสามารถเป็นสิ่งที่ประเมินค่าไม่ได้ และบ่อยครั้งสามารถสร้างความรู้สึกคุ้นเคยกัน เชื่อมโยงกัน จนทำให้ลูกค้าหยุดและฟังได้ เรื่องเล่าเป็นสิ่งที่มนุษย์สนใจ ในวัยเด็กเรื่องเล่าที่ถูกอ่านโดยพ่อแม่ของเรา เป็นสิ่งที่เราจินตนาการและมองเห็นโลก พูดสั้น ๆ ก็คือ เราซึมซับเรื่องเล่าตั้งแต่เรายังเป็นเด็กเล็ก

ลองนึกถึงวิทยากรที่เริ่มต้นการพูดโดยการเล่าเรื่อง หรือ ใช้เรื่องเล่าตลอดการนำเสนอดูสิ มันทำให้การพรีเซ็นท์นั้นน่าประทับใจ และยังทำให้ผู้ฟังมีความสนใจอีกด้วย ที่จริงแล้ว หลาย ๆ ครั้ง ตอนฉันกำลังฟังคนที่พูดจาน่าเบื่อและจิตใจฉันเริ่มเหม่อลอย ฉันกลับมาสนใจฟังอีกครั้งตอนที่ฉันรู้ว่า เรื่องเล่ากำลังจะถูกพูดถึง

ปกติแล้ว เรื่องเล่าจะมีมุมมองให้คิด หรือมีประสบการณ์มาแชร์ หรือ กระทั่งตอนจบที่ตื่นเต้น ประหลาดใจ หรือสะเทือนอารมณ์ ซึ่งมันก็เป็นแบบนั้นในบทความที่ดีเช่นกัน หากคุณทำการเล่าเรื่องในบทความให้เกี่ยวกับ การขายสินค้า การสร้างสภาพแวดล้อมในการขาย การทำให้ผู้สนใจอ่านบทความ นั่นหมายถึงว่า คุณกำลังใช้เครื่องมือที่ดีเยี่ยมและทรงพลัง ในการขายสินค้า/บริการอย่างมีประสิทธิภาพ

… ในตอนที่เขียนบทความสำหรับสินค้าของคุณ ลองคิดวิธีใช้เรื่องเล่าที่ลูกค้าสนใจและช่วยในการขาย: เรื่องราวเกี่ยวกับนวัตกรรมใหม่และวิธีที่คุณค้นพบมัน --- เรื่องเล่าของคุณที่น่าจะสร้างความสนใจให้ลูกค้าได้

จังหวะที่ใช้ก็สำคัญต่อแนวทางการเล่าเรื่อง มันเป็นเรื่องดีที่จะเริ่มต้นด้วยเรื่องเล่า เพราะมันสร้างความสนใจและเหนี่ยวรั้งผู้สนใจไว้ได้ การเล่าเรื่องไม่มีรูปแบบตายตัว และต้องเก็บประสบการณ์ไปเรื่อย ๆ จึงจะใช้มันได้อย่างมีประสิทธิภาพในงานเขียน ในตอนนี้การรับรู้ถึงความสามารถและประสิทธิภาพของมัน ก็ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีแล้ว ซึ่งคุณจะประหลาดใจถึงเรื่องเล่าต่าง ๆ ที่คุณคิดได้ ตอนที่คุณใส่ใจกับมัน

เรื่องเล่าที่ดีควรทำให้คนหันมาสนใจ ควรเกี่ยวข้องกับสินค้า/บริการในบทความ และช่วยให้คุณและลูกค้าเชื่อมโยงกันได้

 

The Adweek Copywriting Handbook  by  Joseph Sugarman

Joseph Sugarman เน้นย้ำว่าเรื่องเล่าสามารถทำให้เกิดการเชื่อมโยงกัน ระหว่างผู้อ่านกับสินค้า/บริการของเราได้ นั่นก็เพราะว่า นอกจากผู้อ่านจะนึกภาพตามในเรื่องที่เราเล่าแล้ว เค้ายังนึกถึงวิธีที่ตัวเองใช้สินค้าดังกล่าวด้วย เพราะเรื่องเล่ามักทำให้เราเหมือนเป็นตัวละครนั้นอยู่นั่นเอง

ที่สำคัญคือเรื่องเล่านั้น สามารถฉุดความสนใจของผู้คนไว้ได้ (แม้แต่คนที่ไม่ค่อยได้สนใจฟัง ก็จะหันมาฟัง) นี่เป็นเทคนิคนึง ที่อาจารย์/วิทยากรใช้กันบ่อย ๆ เพราะการฟังทฤษฏีไปสักพัก อาจเกิดอาการสมาธิหลุด ไม่อยากฟังได้ คนเรามักจะรับรู้ว่า คนพูดกำลังจะเล่าเรื่องราวอะไรสักอย่างได้โดยอัตโนมัติ ลองดูตัวอย่างต่อไปนี้:
 

  • (วิทยากรกำลังพูด): บลา บลา บลา …เมื่อไม่นานมานี้ ผมเพิ่งเจอเคสนี้กับตัวเองโดยตรง ตอนนั้นผมนั่งอ่านหนังสือพิมพ์ อยู่บนเครื่องบินของสิงคโปร์ แอร์ไลน์ แล้ว...
  • (อาจารย์กำลังสอน): บลา บลา บลา …พวกเธอจำตอนที่เราไปดูโรงงานกันเมื่อเดือนที่แล้วได้มั้ย วันแรกที่เราไปถึง เราได้เจอ…


อย่างที่ Sugarman บอกไว้ พอเราไดยินประโยคที่เกี่ยวกับการเล่าเรื่อง เรามักจะดึงโฟกัสในการฟังของเรากลับมาได้เอง

ลองมาดูมุมมองของ Paul Smith ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับ Sell with A Story ดูบ้าง ว่าการเล่าเรื่อง มีความสำคัญกับงานขายอย่างไร

Much of the cognitive science in the past two decades tell us that human beings often make subconscious, emotional, and sometimes irrational decisions in one place in brain, and then justify those decision rationally and logically in another place. So if you’re trying to influence buyers’ decisions, using facts and rational arguments alone isn’t enough. You need to influence them emotionally, and stories are your best vehicle to do that.

Veteran salespeople know this from experience. Rick Rhine is the owner of Tailwind Marketing, an Arizona-based company that sells telecommunication service door-to-door. He says, “The least effective moment in those doorstep conversations is when my sales rep is the most factual --- when they stop talking about experience and start talking numbers. When we say, ‘I am gonna get you 20-meg Internet service for $29.95 a month and I can have tech out here in two days to hook that up, how does that sound?’ the customer doesn’t care and you can see it in their eyes.”

But when his reps tell customers a story about how their neighbors are enjoying the new service, or lets customers tell their own story about the problems the they’re having with their current service, things work out better.

… Most professional buyers have seen it all. They’ve heard every pitch, tactic, and attempted close line in the book. They have heard them from you, your competitors, and the last two people who had your job. And as storytelling expert Doug Stevenson observes in his book Story Theater Method, “People are yearning for someone to tell something they don’t know already.” Your story lets you give that to them.

Storytelling gives you a way to stand out in the crowd with something interesting and original to say. It distinguishes you not only from your peers and competitors but also from your predecessors, because the story you tell won’t be the ones cooked up by the marketing department, your ad agency, or even the sales manager. They’re your stories. Nobody else will have them unless you decide to share.

 

ผลงานด้านวิทยาศาลตร์ทางสมองมากมายในช่วง 20 ปีมานี้ บอกเราว่า บ่อยครั้งมนุษย์เราใช้ส่วนนึงของสมอง ตัดสินใจอย่างไม่มีเหตุผลจากจิตใต้สำนึกและอารมณ์ ในขณะที่ใช้พื้นที่ส่วนอื่นในสมอง ตัดสินใจอย่างสมเหตุสมผลและรอบคอบ ดังนั้นหากคุณพยายามที่จะโน้มน้าวการตัดสินใจของลูกค้า การใช้เพียงข้อเสนอที่เป็นจริงและเหมาะสม อาจไม่เพียงพอ คุณต้องโน้มน้าวพวกเขาด้วยอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งเรื่องเล่าคือสิ่งดีที่สุดในการช่วยทำอย่างนั้น

นักขายผู้มีประสบการณ์รู้สิ่งเหล่านี้จากประสบการณ์ Rick Rhine เป็นเจ้าของ Tailwind Marketing (บริษัท แห่งนึงใน Arizona) ที่ทำธุรกิจให้บริการเทคโนโลยีเครือข่ายตามบ้าน เขาเล่าว่า “จังหวะที่ไร้ประสิทธิภาพที่สุดในการสนทนากับลูกค้า ก็คือ ตอนที่ตัวแทนขายของฉันนำเสนอด้วยข้อเท็จจริง --- ตอนที่ตัวแทนขายหยุดพูดเกี่ยวกับประสบการณ์ และเริ่มพูดเกี่ยวกับตัวเลข ตอนที่พูด ’ผมจะให้คุณได้ใช้อินเตอร์เน็ต 20 เม็กในราคา $29.95 และผมสามารถให้ช่างมาติดตั้งที่นี่ภายใน 2 วัน คุณคิดว่าไงครั้บ?’ ลูกค้าไม่สนใจมันเท่าไหร่ และคุณรับรู้ได้จากสายตาของพวกเขา”

แต่ตอนที่ตัวแทนขายบอกลูกค้า ถึงเรื่องราวที่เพื่อนบ้านละแวกนั้นประทับใจกับบริการใหม่ หรือ ตอนที่ให้ลูกค้าเล่าเรื่องราวของพวกเขา เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดจากบริการที่ใช้อยู่ ได้ผลตอบรับดีกว่าเดิมมาก

… ลูกค้าส่วนใหญ่เจอมาหมดแล้ว พวกเขาเคยฟังทุก ๆ การนำเสนอ เทคนิค และคำพูดปิดการขายจากหนังสือ มาหมดแล้ว พวกเขาได้ฟังจากคุณ คู่แข่งของคุณ และสองคนล่าสุดที่ทำงานตำแหน่งที่คุณทำอยู่ อย่างที่ Doug Stevenson ผู้เชี่ยวชาญการเล่าเรื่องได้บอกไว้ในหนังสือ Story Theater Method ว่า “มนุษย์มองหาใครบางคนที่บอกบางสิ่งที่พวกเขายังไม่รู้” ซึ่งเรื่องเล่าของคุณให้สิ่งนั้นกับพวกเขาได้

ด้วยการพูดที่น่าสนใจและไม่มีใครเหมือน การเล่าเรื่องจึงเป็นวิธีการที่ทำให้คุณเด่นชัดในฝูงชน มันำม่ใช่แค่ทำให้คุณแตกต่างจากคู่แข่งและคนในวงการณ์เดียวกัน แต่ยังทำให้แตกต่างจากคนที่เคยทำงานมาก่อนคุณอีกด้วย เพราะว่าเรื่องที่คุณเล่า ไม่ได้ถูกจัดสรรค์โดยแผนกการตลาด เอเยนซี่โฆษณา หรือกระทั่งผู้จัดการฝ่ายขาย มันเป็นเรื่องเล่าของคุณ ไม่มีใครรู้จักมัน เว้นแต่คุณตัดสินใจที่จะบอกให้รู้

 

Sell with A Story  by  Paul Smith

Paul Smith อธิบายถึงการใช้เรื่องเล่า มาเป็นตัวช่วยในการสนทนากับลูกค้า และส่งผลให้ปิดการขายให้ดีขึ้น ซึ่งตัวอย่างที่เขายกมา (เซลล์ขาย Internet ตามบ้าน) ยังช่วยให้เราเข้าใจได้มากขึ้นด้วย

ความได้เปรียบจากการนำเสนอที่ไม่เหมือนใคร ก็เป็นอีกสิ่งนึงที่ Paul Smith เสริมเกี่ยวกับประโยชน์ของการเล่าเรื่อง แน่นอนว่า คงไม่มีใครอยากฟัง การนำเสนอแบบเดิม ๆ เป็นแน่ อย่างเช่น นักขายสาย MLM จะไปจำคำพูดมาจากการอบรม แล้วมาพูดต่อ พอเราฟังบ่อย ๆ เข้า (จากคนขายหลาย ๆ คน) มันก็จะกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อไป เราทุกคนคงเคยเจอมาแบบเดียวกันแน่
 

  • คุณสามารถเป็นเจ้าของธุรกิจ ด้วยเงินทุนอันน้อยนิด”
  • การถูกปฏิเสธ เป็นเรื่องธรรมดา ดูอย่างคนขายล็อตเตอร์รี่สิ ...”
  • คุณไม่จำเป็นต้องขาย แค่เพียงหาสมาชิกมาช่วย”


ไม่ได้บอกว่าธุรกิจขายตรงเป็นสิ่งไม่ดีนะ แต่ปัญหาคือวิธีการนำเสนอแบบเดิม ๆ และมันจะดีกว่าเดิมมาก หากเราพูดแตกต่างออกไป พูดไม่เหมือนคนอื่น ซึ่งการเล่าเรื่องราว สามารถเป็นทางเลือกนึง ที่ช่วยเราสร้างสิ่งที่ไม่เหมือนใครได้

มันขึ้นอยู่กับว่า เราสามารถสร้างสรรค์กำนำเสนอให้เป็นเรื่องเล่าได้หรือไม่

การเล่าเรื่องนั้นใช้ได้ทั้งกับการพูดและการเขียน เพราะมีนักเขียนมากมายที่ใช้การเล่าเรื่อง มาช่วยในการสร้างความน่าสนใจในงานเขียนของเขา โดยเฉพาะการเขียนนิยายและการเขียนบทความโฆษณา

คราวนี้มาดูคำอธิบายของ John Caples เกี่ยวกับวิธีการใช้เรื่องเล่ามาเพิ่มประสิทธิภาพให้บทความโฆษณา สามารถทำได้อย่างไร

Two kinds of advertising copy in frequent use are:

  1. Reason-why copy
  2. Story copy

Reason-why copy appeals to the reader’s intellect. It present logical arguments for buying a product or service.

Story copy entertains as it sells. It goes deep into the reader’s subconscious mind. It sells ideas and promote action.

Telling stories is one of the oldest methods of conveying a message or promoting an idea. In the year 600 B.C. Aesop, the Greek writer of fables, promoted the idea of thrift with his tale about ant and the grasshopper --- the ant who labored all summer long, storing away food for coming winter, while the grasshopper idled away his time and perished when winter come.

… I once wrote a series of story ads that got good results for a business publication. Let us call it The Business World. The theme of the campaign was “get ahead in business.” The ads were based on true experiences of subscribers. For example:
 

Headline:
“HOW A BELLHOP’S BONER HELPED ME GET AHEAD”

Subhead:
“By a Business World subscriber”

Copy:
“One time on a business trip I got to the hotel late at night. The only room I could get was an expensive suite. Next morning a bellhop handed me a copy of The Business World by mistake. Some rich guy must have had this room, I said to myself.”

“Well, I looked at The Business World. For the first time in my life I began to understand why some men get ahead while others stay behind.”
 

*  *  *
 

Any good writer can write an acceptable reason-why ad. You simply state the sales arguments in proper sequence and in simple language.

It take an exceptional writer to write story copy. A story comes from the heart, not the head. It goes to the heart, not the head.

Reason-why copy makes the reader nod in agreement with your arguments. Reason-why copy is a necessary ingredient in every good advertisement.

But a good story lights a fire in the reader’s subconscious mind. It stirs him to action. In the case of a direct-response ad it make him reach for a pen and order form.

If you can skillfully combine reason-why copy with story copy, you can produce an irresistible advertising.

… People like to read stories. An effective way to get people to read your ads is to tell story. After they start reading your copy, you can lead them into your sales talk.

 

มีบทความโฆษณา 2 รูปแบบที่ถูกใช้บ่อย ๆ ดังนี้:

  1. บทความที่ชี้แจงเหตุผล
  2. บทความที่เป็นการเล่าเรื่อง

บทความที่ชี้แจงเหตุผลนั้น สร้างความน่าสนใจผ่านสมองของผู้อ่าน มันนำเสนอด้วยการบอกสาเหตุที่ทำให้ซื้อสินค้า/บริการ

บทความที่เป็นการเล่าเรื่องนั้น สร้างความเพลิดเพลินในขณะที่ขาย มันดำดิ่งลงสู่จิตใต้สำนึกของผู่อ่าน มันเป็นการนำเสนอไอเดียและกระตุ้นให้เกิดการซื้อ

การเล่าเรื่อง คือ หนึ่งในวิธีการเก่าแก่ในการถ่ายทอดคำพูด หรือนำเสนอไอเดีย ช่วง 600 ปีก่อนหน้าคริสตศักราช นักเขียนนิทานที่ชื่อว่า Aesop ได้ใช้นิทานที่เกี่ยวกับมดและตั๊กแตน มากระตุ้นไอเดียเกี่ยวกับการประหยัด --- มดทุ่มเทแรงงานตลอดช่วงฤดูร้อน เพื่อเก็บออมอาหารสำหรับฤดูหนาวที่กำลังจะมา ในขณะที่ตั๊กแตนปล่อยเวลาทิ้งไปเฉย ๆ แล้วก็ตายเมื่อฤดูหนาวมาถึง

… ครั้งหนึ่ง ฉันเขียนโฆษณาแบบเรื่องเล่าเป็นตอน ๆ และได้ผลตอบรับที่ดีสำหรับธุรกิจสิ่งพิมพ์ สมมุติให้เราเรียกมันว่า The Business World ซึ่งเป้าหมายของการโฆษณานี้ คือ “ความได้เปรียบในการทำธุรกิจ” และตัวโฆษณานั้นมาจากประสบการณ์จริงของลูกค้าสมาชิก มาดูตัวอย่างกัน:
 

ชื่อเรื่อง:
“ความผิดพลาดของพนักงานยกกระเป๋า ช่วยให้ฉันได้เปรียบในธุรกิจได้อย่างไร”

ชื่อเรื่องย่อย:
“โดย ลูกค้าสมาชิกคนหนึ่งของ Business World”

เนื้อหา:
“มีอยู่ครั้งนึงในช่วงเดินทางเพื่อไปทำธุระ ฉันไปถึงโรงแรมในช่วงดึกมาก และห้องที่ฉันสามารถเข้าพักได้ มีเพียงห้องสูตรราคาแพงเท่านั้น พอมาถึงตอนเช้า พนักงานยกกระเป๋าส่งนิตยสาร The Business World มาให้ฉัน โดยที่ฉันไม่ได้ขอ คงมีพวกคนรวยเคยพักห้องนี้แน่ (ฉันพูดกับตัวเอง)”

“แล้วฉันก็เปิดอ่าน The Business World ซึ่งนั่นเป็นครั้งแรกในชีวิตที่ฉันเริ่มเข้าใจว่า ทำไมคนบางคนถึงก้าวหน้ารวดเร็ว ในขณะที่คนอื่น ๆ ยังไม่ทันไปไหน”
 

*  *  *


นักเขียนโฆษณาเก่ง ๆ สามารถเขียนโฆษณาที่จูงใจด้วยเหตุผลได้ไม่ยาก คุณแค่บอกประเด็นในการขาย ด้วยลำดับที่ถูกต้องและใช้ภาษาที่ง่าย ก็พอแล้ว

มันมีแค่นักเขียนมากพรสวรรค์ ที่จะเขียนบทความแบบเล่าเรื่องได้ เรื่องเล่ามาจากหัวใจ ไม่ใช่สมอง ซึ่งมันก็จะตรงไปสู่จิตใจ ไม่ใช่ระบบความคิด เช่นกัน

โฆษณาที่จูงใจด้วยเหตุผล จะทำให้ผู้อ่านพยักหน้าเห็นด้วยกับสิ่งที่นำเสนอ ซึ่งโฆษณาที่จูงใจด้วยเหตุผลนี้ เป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับงานโฆษณาทุกประเภท

แต่เรื่องราวที่ดีช่วยกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกของผู้อ่าน มันทำให้เขาอยากสั่งซื้อ ในกรณีของโฆษณาด้านการขายตรง มันช่วยให้เขาเอื้อมไปหยิบปากกา มากรอกข้อมูลการสั่งซื้อ

หากคุณผสมการจูงใจด้วยเหตุผลและเรื่องเล่าได้อย่างเชี่ยวชาญ คุณจะสามารถสร้างโฆษณาที่ไร้การต่อกร ได้

… ผู้คนชอบอ่านเรื่องเล่า วิธีนึงที่มีประสิทธิภาพในการทำให้คนเริ่มอ่านโฆษณา ก็คือการเล่าเรื่อง หลังจากเริ่มต้นอ่านบทความโฆษณา คุณก็สามารถชักนำเขาเข้าสู่ประเด็นการขายได้

 

How to Make Your Advertising Make Money  by  John Caples

John Caples อธิบายถึงความแตกต่างระหว่าง บทความโฆษณาแบบจูงใงด้วยเหตุผล กับ จูงใจด้วยเรื่องเล่า และแนะนำให้เราฝึกฝนทั้ง 2 อย่าง ผสมผสานมันให้ได้ รวมถึงยังยกตัวอย่างบทความโฆษณาได้น่าสนใจไม่น้อยเลย

จากเนื้อหาและตัวอย่างในบทความนี้ น่าจะทำให้คนที่แวะเวียนมาอ่าน เข้าใจถึงความสำคัญของการเล่าเรื่องไม่มากก็น้อย ยังไงก็หวังว่า เราทุกคนจะใช้ประโยชน์จากสิ่งนี้ได้ดีขึ้นไปเรื่อย ๆ  นะ

Section 1 - Basic Copywriting
Section 2 - องค์ประกอบหลักการเขียนโฆษณา
Section 3 - จิตวิทยาการโฆษณา
Section 4 - เกร็ดความรู้ในการเขียนโฆษณา
Tourism Authority of Thailand    Amazing Thailand     Pattaya Concierge     ChonHub     Kanchanaburi dot Co
Copyright © 2016 - 2024 | Ceediz.Com Contact: info@ceediz.com, info.ceediz@gmail.com