หมู่บ้านน้ำตาลสด



หมู่บ้านน้ำตาลสด เป็นจุดจำหน่ายน้ำตาลสดพร้อมดื่มในภาคตะวันออก และยังเป็นเหมือนศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการทำน้ำตาลสด ที่นับวันจะหาคนทำยากขึ้นเรื่อยๆ ได้เรียนรู้การทำน้ำตาลปึก รวมถึงได้พูดคุยใกล้ชิดกับคนที่มีอาชีพปาดตาล ทำน้ำตาล และยังเป็นจุดแวะซื้อ แวะชิมของดีของบางคล้า น้ำตาลสดหวานหอม เย็นชื่นใจ ไร้สารปรุงแต่ง

หมู่บ้านน้ำตาลสด ตั้งอยู่ในอำเภอบางคล้า หากมาเที่ยวตลาดน้ำบางคล้า หรือวัดปากน้ำโจ้โล้ ก็แวะได้สะดวก เพราะอยู่ริมทางสายในเส้นบางคล้า

หมู่บ้านน้ำตาลสด จัดตั้งโดยได้งบประมาณจากกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ เมื่อปี พ.ศ.2546 เพื่อจัดตั้งเป็นชมรมหมู่บ้านน้ำตาลสด ให้ชาวบ้านที่ทำน้ำตาลสดในแถบนี้ได้อนุรักษ์ สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น และเผยแพร่ความรู้ให้แก่นักท่องเที่ยว และคนรุ่นใหม่ ได้เห็น ได้สัมผัส เรียนรู้กระบวนการทำนำ้ตาลสด และ น้ำตาลโตนด*

* น้ำตาลโตนด (Sugar Palm) (โตนด อ่านว่า ตะ-โหนด) เป็นน้ำตาลที่ได้จากช่อดอก หรืองวงของต้นตาล ซึ่งส่วนใหญ่คนจะรู้จักในรูปของน้ำตาลปึก หรือน้ำตาลปี๊บ ที่เรียกตามรูปร่างของน้ำตาล และตามภาชนะที่ใส่ ในปัจจุบันนำ้ตาลโตนดแท้ๆ หาได้ยากมาก ในท้องตลาดส่วนใหญ่จะมีการผสมน้ำตาลทราย (บ้างก็ผสมแบะแซ) เข้าไปด้วย เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต หากต้องการน้ำตาลโตนดแท้ๆ ควรเลือกซื้อจากแหล่งผลิตโดยตรง

น้ำตาลปึก หรือน้ำตาลปี๊บ อาจได้จากน้ำตาลมะพร้าวด้วยก็ได้ ซึ่งขั้นตอนการผลิตน้ำตาลมะพร้าวก็เหมือนน้ำตาลโตนด เพียงแต่เป็นน้ำตาลที่ได้จากน้ำหวานของช่อดอก หรือจั่นมะพร้าวแทน

หมู่บ้านน้ำตาลสด จะเป็นย่านที่ชาวบ้านยังคงทำน้ำตาลสดกันมาก อย่างเช่นหนึ่งในสมาชิกของชมรมน้ำตาลสด ได้แก่ คุณลุงหม่อง กับป้าสมนึก จะเปิดแผงไว้ให้ผู้คนได้แวะมาศึกษา เรียนรู้ถึงวิธีการทำน้ำตาลสด รวมถึงจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากตาล โดยลุงหม่องจะเป็นผู้ให้ความรู้เรื่องการปีนต้นตาล ปาดตาล และการนวดงวงตาล พาไปชมการขึ้นตาล ส่วนป้าสมนึก ก็พร้อมจะอธิบายกระบวนการผลิตน้ำตาลสด การเคี่ยวตาล และการทำน้ำตาลปึก พร้อมสาธิตการเคี่ยวตาลให้ได้ชม

ขั้นตอนการผลิตน้ำตาลสด และทำน้ำตาลโตนด

1. การเลือกต้นตาล
ต้นตาลที่ใช้ทำน้ำตาลโตนดนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นต้นที่มีอายุ 10 ปีขึ้นไป ต้นตาลโตนด หรือที่เรียกกันสั้นๆ จนติดปากว่า ต้นตาล จะมีต้นที่มีดอกตัวผู้ แยกต้นกับต้นที่มีดอกตัวเมีย ต้นตัวผู้จะออกช่อดอกเป็นเหมือนงวงยาวออกมา จะให้น้ำตาลได้เยอะกว่าต้นที่เป็นตัวเมีย ส่วนต้นตัวเมียจะออกดอก ให้ลูกออกมาเป็นลูกตาล คนปาดตาลจะเลือกต้นตาลที่ออกงวงพร้อมที่จะให้น้ำตาลได้

2. การนวดตาล
การนวดตาล เป็นการกระตุ้นให้ต้นตาลรีดน้ำหวานออกมาไว้ที่ดอก หรืองวงตาล ช่วยให้ได้น้ำตาลเยอะ ซึ่งจะใช้เครื่องมือตามแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน มีลักษณะเป็นไม้ 2 ท่อน ผูกติดกันด้านหนึ่ง เหมือนตะเกียบ หรือตัวหนีบขนาดใหญ่ คนทำตาลจะนำไม้นวด ขึ้นไปนวดงวงตาลบนต้นทุกวัน วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 5-7 วัน ให้งวงนิ่ม เมื่อนวดเสร็จต้องเอาน้ำเปล่าใส่กระบอกไม้ไผ่ แช่งวงไว้ในน้ำเพื่อเป็นการบ่มงวงตาล และป้องกันแมลงมากินก่อนการปาด

3. การขึ้นตาล ปาดตาล
หลังจากการนวดตาลและบ่มงวงแล้ว เมื่อพร้อมจะปาดตาล คนปาดจะปีนขึ้นตาลวันละ 2 ครั้ง คือช่วงเช้ามืด (ประมาณ ตี 5) กับช่วงบ่าย (ประมาณ บ่าย 3 โมง) เพืื่อปาด และรองน้ำตาลเอาไว้ในกระบอกไม้ไผ่** คนปาดตาลจะขึ้นไปพร้อมกระบอกไม้ไผ่ นำน้ำตาลจากกระบอกที่รองไว้ลงมา จากนั้นใช้มีดคมๆ กรีดที่ปลายงวงตาล เพื่อให้น้ำจากงวงไหลออกมา (กรีดวันต่อๆ ไป ก็จะกรีดไล่ไปจนถึงโคนงวง) แล้วใช้กระบอกใหม่รองไว้อีก เพื่อปล่อยให้น้ำหวานไหลลงกระบอก พอช่วงเช้าก็มาเก็บ จากนั้นก็ปาดและรองน้ำหวานไว้ต่อ ทำอย่างนี้ทุกวันเรื่อยไปจนน้ำตาลหมด

** กระบอกไม้ไผ่ที่นำมารองน้ำหวานจากงวงตาล จะต้องนำไปรมไฟเพื่อฆ่าเชื้อ และต้องนำไปตากให้แห้งก่อน หากใช้กระบอกเปียก จะทำให้น้ำตาลสดบูดได้ ก่อนจะรองน้ำตาลก็ต้องใส่เศษไม้พะยอมชิ้นเล็กๆ ลงไปด้วย เพื่อกันน้ำตาลบูด

** การใส่ไม้พะยอม ลงไปในกระบอกตาลที่รองน้ำตาลนั้น ถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่ใช้สรรพคุณยาจากไม้พะยอมที่เป็นไม้ฝาด แทนสารกันบูดสังเคราะห์ ไม้พะยอมจะช่วยป้องกันไม่ให้น้ำตาลสดที่รองไว้มีรสเปรี้ยว หรือเสียก่อนที่จะเก็บลงมา ซึ่งจะช่วยกันเสียได้ประมาณ 12 ชั่วโมง

4. การต้มตาล
เมื่อถึงเวลาเก็บตาล คนเก็บตาลจะปีนขึ้นตาลไปเพื่อนำกระบอกไม้ไผ่ที่รองน้ำตาลไว้ลงมา น้ำตาลจะเก็บได้ 2 ครั้ง คือช่วงเช้ามืด กับตอนเย็น (เก็บแล้วก็ปาดต่อ รองไว้ต่ออีก) จากนั้นนำน้ำตาลที่ได้ใส่กระทะใบบัว นำขึ้นตั้งไฟ (มักใช้เตาถ่าน) น้ำตาลจากต้นตาลตัวผู้ และตัวเมีย นำมาปนกันได้เลย ก่อนลงกระทะเทผ่านผ้าขาวบาง เพื่อให้กรองเศษไม้พะยอมออกก่อน

น้ำตาลที่รองมาได้จากต้นตาล หากยังไม่ได้ผ่านการต้ม รสชาติจะหวานอ่อนๆ มีกลิ่นไหม้นิดๆ เป็นกลิ่นที่มาจากกระบอกไม้ไผ่ที่รองน้ำตาลลงมา การทำน้ำตาลสดให้เก็บได้นานขึ้น จะต้องนำไปต้มให้พอเดือด น้ำตาลสดที่ผ่านการต้มแล้ว จะมีสีเข้มขึ้น ให้รสชาติหวานขึ้น และมีกลิ่นหอม

5. การทำน้ำตาลก้อน
ขั้นตอนการทำน้ำตาลปึก หรือน้ำตาลปีบ จะต้องเคี่ยวน้ำตาลให้เดือดอยู่ประมาณ 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้น้ำระเหยออกไปให้มากที่สุด ระหว่างต้มต้องคอยตักฟองทิ้งด้วย จากนั้นก็เคี่ยวจนข้น และกลายเป็นน้ำตาลเหลว สีเข้ม จึงนำไปใส่เบ้าพิมพ์คล้ายถ้วย ก็จะได้น้ำตาลปึก หากใส่ปี๊บก็จะได้น้ำตาลปี๊บ

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากต้นตาล นอกจากน้ำตาลสด น้ำตาลปึก น้ำตาลปี๊บ ยังมีผลจากลูกตาล นำมาทานได้ทั้งแบบสด และแบบเชื่อม ส่วนงวงตาลของตาลตัวผู้นำมาอบแห้ง สำหรับต้มกินน้ำลดเบาหวาน ลดน้ำตาลในเส้นเลือด

ลักษณะของน้ำตาลโตนดแท้
- น้ำตาลโตนด จะมีกลิ่นหอม และมีรสชาติกลมกล่อมกว่าน้ำตาลอ้อย และนำ้ตาลมะพร้าว
- น้ำตาลโตนด ควรเก็บไว้ในตู้เย็น เพื่อยืดอายุ และเป็นการรักษาคุณภาพ รสชาติ ความหอม และสีของน้ำตาล   

ข้อแนะนำ

  • ติดต่อสอบถามรายละเอียดน้ำตาลโตนดแท้ ได้ที่ "สมนึกน้ำตาลสด" (โทร 089-539-5880)
  • ภายใน 1 ปี การทำน้ำตาลสด จะมีเพียงช่วงเดียว (ช่วงหน้าหนาว ต้นตาลจะให้น้ำดี)

 

การเดินทาง
ห่างจากวัดปากน้ำโจ้โล้ 1 กิโลเมตร
ห่างจากอนุสรณ์สถานพระเจ้าตากสิน 3 กิโลเมตร
ห่างจากตลาดน้ำบางคล้า .5 กิโลเมตร
ห่างจากสวนปาล์มฟาร์มนก 5 กิโลเมตร

การเดินทางด้วยรถยนต์

1 หากใช้เส้นทางจากตัวเมืองฉะเชิงเทรา มุ่งหน้าไปยังอำเภอบางคล้า โดยใช้เส้นทางฉะเชิงเทรา-กบินทร์บุรี (304)
2 เมื่อถึงแยกบางคล้า ให้เลี้ยวซ้ายเพื่อเข้าสู่ตัวอำเภอบางคล้า ตรงไปเรื่อยๆ จนสุดทางที่สามแยกรูปตัวที (T) จากนั้นเลี้ยวขวา
3 เมื่อเลี้ยวขวาแล้ว ตรงไปอีกประมาณ 4 กิโลเมตร ผ่านทางเข้าวัดปากน้ำโจ้โล้ พอเจอสามแยกรูปตัววาย (Y) ที่มี 7-11 ให้ไปทางซ้าย ตรงไปอีกไม่ไกลนักก็จะเห็นหมู่บ้านน้ำตาลสดอยู่ริมทาง ขวามือ

ข้อมูลการติดต่อ

ที่อยู่ หมู่ 11 ถนนวนะภูติ ตำบลปากน้ำ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา 24110
โทร 038-511-635

ข้อมูลจากแหล่งอื่น และ รีวิว :

แผนที่

แสดงร้านอาหารใกล้เคียง
สถานที่เที่ยวใกล้เคียง
ห่างออกไป ประมาณ: 1.3 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
วัดปากน้ำโจ้โล้ ก็คือ "วัดปากน้ำ" ที่อยู่ในบริเวณปากน้ำโจ้โล้ จึงมักจะถูกเรียกรวมกับชื่อสถานที่ตั้ง กลายเป็น "วัดปากน้ำโจ้โล้" เป็นวัดที่มีชื่อเสียงเรื่องของความสวยงามของโบสถ์สีทองหนึ่งเดียวในไทย โบสถ์สีเหลืองเปล่งประกายทองอร่ามทั้งหลัง เป็นความวิจิตรบรรจงของช่างศิลป์ ที่วาดวางลวดลายอ่อนช้อยแบบไทยๆ ตกแต่งประดับประดาไว้ได้อย่างงดงาม นอกจากนี้ภายในโบสถ์ยังมีจุดให้ลอดใต้ฐานพระประธาน เพื่อความเป็นสิริมงคลด้วย
ห่างออกไป ประมาณ: 1.5 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
อนุสรณ์สถานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หนึ่งในสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ในอำเภอบางคล้า ที่พระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้อิสรภาพให้กลับคืนมาอีกครั้ง แวะเคารพสักการะ และรำลึกถึงคุณความดีสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ ปากน้ำโจ้โล้ สถูปเจดีย์อยู่ไม่ไกลจากตัวอำเภอบางคล้า ใกล้ถนนสายหลัก แวะได้สะดวก
ห่างออกไป ประมาณ: 1.6 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
คุ้มวิมานดิน ตั้งอยู่ในอำเภอคลองเขื่อน เป็นสถานที่พักผ่อนในรูปแบบการเรียนรู้ เป็นการปั้นฝัน ให้เป็นรูปร่างด้วยมือของตัวเอง ได้ภาคภูมิใจกับงานปั้นดิน สร้างงานศิลป์ที่มีเพียงชิ้นเดียวในโลกที่เป็นผลงานของเราเอง เป็นสถานที่ที่เหมาะกับวันหยุดในครอบครัว ได้พาเด็กๆ มาเรียนรู้การใช้ทักษะกล้ามเนื้อ และจินตนาการ
ห่างออกไป ประมาณ: 2.1 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
ตลาดน้ำบางคล้า เป็นตลาดที่มีชื่อเสียง และถือเป็นหน้าตาให้กับอำเภอบางคล้า เป็นแหล่งรวมของกินของฝากสำหรับนักท่องเที่ยว เปิดให้เดินเล่นริมแม่น้ำบางปะกง ช้อปของกิน และของดีของบางคล้าทุกวันหยุดสุดสัปดาห์ และวันหยุดนักขัตฤกกษ์​ เป็นที่เที่ยวพักผ่อน ได้ทั้งเดินเล่นชมวิว ซื้อหาของกินอร่อยๆ นั่งกินกันริมแม่นำ้ อิ่มแล้วจะล่องเรือชมวิถีชีวิต ธรรมชาติริมแม่น้
ห่างออกไป ประมาณ: 2.7 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
วัดโพธิ์บางคล้า เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ตั้งอยู่ในอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ชมความมหัศจรรย์ที่ถือเป็นสถานที่ unseen มีค้างคาวแม่ไก่นับแสนตัว เกาะห้อยหัวนอนกันอยู่ตามกิ่งไม้ภายในวัด เห็นกันได้อย่างใกล้ชิดในเวลากลางวัน จากนั้นแวะกราบสักการะพระพุทธไสยาสน์ อายุกว่า 200 ปี เพื่อความเป็นสิริมงคล และชมวิหารเก่าสมัยปลายอยุธยา
ห่างออกไป ประมาณ: 2.8 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
เทวสถานอุทยานพระพิฆเนศ เป็นสถานที่ประดิษฐานองค์พระพิฆเนศองค์ยืนเนื้อโลหะสำริดที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นปางสำริด สำเร็จ สมปรารถนา เป็นอนุสรณ์แห่งความศรัทธา การร่วมแรงร่วมใจของชาวแปดริ้ว องค์พระพิฆเนศหล่อด้วยโลหะสำริดทั้งองค์ ดูใหญ่โต สง่างาม แวะกราบสักการะบูชาองค์เทพ เพื่อความเป็นสิริมงคล และความสำเร็จ (ไม่เสียค่าเข้าชม)​ เทวสถานแห่งนี้อยู่จากตัวอำเภอบางคล้าไม่ถึง 10 กิโลเมตร
ห่างออกไป ประมาณ: 4.4 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
สวนปาล์มฟาร์มนก อยู่ในอำเภอคลองเขื่อน เป็นสวนนกแก้วที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ชมนกแก้วสวยงามจากต่างประเทศได้อย่างใกล้ชิด รวมถึงนกอื่นๆที่มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ ราชาแห่งนกแก้ว "ไฮยาซิน" นกแก้วพันธุ์ที่หายาก และราคาแพงที่สุด เป็นพันธุ์ที่คนรักนกต่างอยากได้ ชมความฉลาดแสนรู้ แสนเชื่อง ที่มีเสน่ห์น่ารัก น่าเลี้ยงไม่ต่างจากสัตว์เลี้ยงอื่นๆ เรียนรู้กระบวนการเพาะพันธุ์นก
ห่างออกไป ประมาณ: 7.9 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
วัดสมานรัตนาราม เป็นวัดที่มีองค์พระพิฆเนศปางนอนเสวยสุขที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีผู้คนแวะมากราบสักการะกันมากมาย ภายในวัดยังมีรูปเคารพในรูปแบบความเชื่ออื่นๆ อีกมากมาย เช่นพระพุทธรูป รูปปั้นองค์พระโพธิสัตว์กวนอิม พระพรหม พระนารายณ์ พระราหู และมีหลากหลายรูปแบบการทำบุญ จึงเป็นอีกวัดนึงที่มีผู้คนมาเที่ยวชมกันมาก
ร้านอาหารใกล้เคียง
ห่างออกไป ประมาณ: 1.6 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
ร้านร่มไม้ สายธาร เป็นร้านอาหารริมน้ำ หนึ่งในร้านดังของบางคล้า เพราะมีบรรยากาศเงียบสงบ ร่มรื่น เหมาะกับการมากับครอบครัว กลุ่มเพื่อนฝูง นั่งได้เรื่อยๆ สบายๆ ได้พักผ่อนแบบไม่รีบร้อน บริเวณร้าน มีสวนและต้นไม้ ให้ร่มเงา สบายตา ทำให้ตอนกลางวันรู้สึกไม่ค่อยร้อนมาก ตอนเย็นอากาศดี บริเวณร้านมีสนามเด็กเล่นเป็นไม้ ให้เด็กๆ ได้ปีนป่าย อาหารราคาไม่แพง ร้านหาง่าย อยู่ในบริเวณเดียวกันกับ อนุสรณ์สถานพระสถูปเจดีย์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ห่างออกไป ประมาณ: 2 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
บ้าน-น้ำ-จันทร์ เป็นร้านบรรยากาศร่มรื่นริมแม่น้ำ อยู่ในอำเภอบางคล้า เหมาะกับการพักผ่อน นั่งสบายๆ ชมแม่น้ำ ใช้ชีวิตสไตล์สโลว์ไลฟ์ ช่วงค่ำถือเป็นไฮไลท์ ร้านประดับโคมไฟ ได้บรรยากาศโรแมนติก ร้านตั้งอยู่ไม่ไกลจากตลาดน้ำบางคล้า หาไม่ยาก เดินทางได้สะดวก เข้าซอยไปไม่ลึก และยังอยู่ไม่ไกลจากเที่ยวที่ต่างๆ อีกด้วย
ห่างออกไป ประมาณ: 2.7 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
ร้านกินลมชมน้ำ หนึ่งในร้านอาหารบรรยากาศดีของอำเภอบางคล้า ร้านติดริมน้ำ บรรยากาศดี นั่งกินลมสบายๆ ชมแม่น้ำบางปะกง และเกาะลัด ร้านอยู่ห่างจากวัดโพธิ์บางคล้าไปไม่ไกล เส้นทางอาจดูเข้าถนนสายในเงียบเหงาไปหน่อย แต่รับรองความสวยงาม ประทับใจ กับสถานที่ที่จัดแต่งได้เรียบร้อยเหมาะกับการต้อนรับแขก พักผ่อนกับครอบครัว หรือกลุ่มเพื่อน
ห่างออกไป ประมาณ: 2.9 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
ร้านเถ้าแก่ชื้อ ร้านดังเก่าแก่ในอำเภอบางคล้า ที่ผ่านการสืบทอดมา 3 ชั่วอายุคน รสชาติอาหารอร่อยตามสูตรต้นตำรับในสไตล์อาหารจีน​ ที่ตกทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น มีชื่อเสียงบอกต่อกันไปกว้างขวาง ร้านหาง่าย อยู่ริมถนนเส้นหลักที่เข้าสู่ตัวอำเภอบางคล้า ใกล้สถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง แวะได้สะดวก
Tourism Authority of Thailand    Amazing Thailand     Pattaya Concierge     ChonHub     Kanchanaburi dot Co
Copyright © 2016 - 2024 | Ceediz.Com Contact: info@ceediz.com, info.ceediz@gmail.com