Language:

รถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS Sky Train)

เพิ่มความคล่องตัวในการเดินทางในกรุงเทพด้วยรถไฟลอยฟ้า

ข้อมูลทั่วไป


จุดให้บริการข้อมูลและบริการแลกเหรียญ จะตั้งอยู่ติดกับทางเข้า ซึ่งเราสามารถสอบถามได้ทั้งข้อมูลบริการต่าง ๆ ของรถไฟฟ้าบีทีเอส และข้อมูลสถานที่หลัก ๆ ของบริเวณสถานีนั้น ๆ ได้ หรือหากใครต้องการซื้อบัตรโดยสารแบบต่าง ๆ ก็ติดต่อที่นี่ได้เลยเช่นกัน
การใช้บริการรถไฟฟ้ามีหลายประเภท (สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ข้อมูลบัตรโดยสาร BTS) ซึ่งสามารถระบุคร่าว ๆ ได้ว่า

- บัตรสมาร์ทพาส เหมาะกับคนใช้บริการรถไฟฟ้าเป็นประจำ เพราะว่าราคาค่าใช้จ่ายต่อเที่ยวจะถูกกว่า แต่ผู้ใช้ต้องเคยเติมเงินเข้าไปในบัตรด้วย

- บัตรโดยสารแบบวัน-เดย์-พาส (ประเภทบัตรวันเดียว) สามารถใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนเที่ยว สิ้นสุดการใช้งานที่เวลาเที่ยงคืนของวันนั้น ๆ (ไม่ใช่ว่าใช้ได้ 24 ชั่วโมง ดังนั้นเมื่อเปลี่ยนวันใหม่ บัตรนี้จะใช้งานไม่ได้แล้ว) ปัจจุบันราคา 130 บาท

- บัตรโดยสารแบบเที่ยวเดียว เป็นตั๋วโดยสารยอดฮิตสำหรับคนทั่วไป เหมาะสำหรับคนที่ใช้งาน BTS ไม่บ่อยนัก ตอนออกจากสถานนีรถไฟฟ้า เครื่องตรวจบัตรจะยึดบัตรคืนกลับไป

* คำแนะนำ บัตรที่น่าจะเหมาะกับนักท่องเที่ยว คือ บัตรโดยสารแบบเที่ยวเดียว หรือบัตรโดยสารแบบไม่จำกัดจำนวนครั้งใน 1 วัน ขึ้นอยู่กับว่าวางแผนจะใช้งานรถไฟฟ้ามากน้อยแค่ไหนในการเดินทางในวันนั้น ถ้าเดินทางด้วยรถถไฟฟ้า 3-4 ครั้ง (โดยที่มี 2 ครั้งเดินทาง 5 สถานีขึ้นไป) บัตรประเภทวันเดียว ไม่จำกัดจำนวนครั้งน่าจะเหมาะกว่า เพราะน่าจะคุ้มค่ากับค่าบัตร บวกกับการที่ไม่ต้องรอคิวซื้อตั๋ว (โดยเฉพาะเวลาเริ่มงานและเลิกงาน) ที่สำคัญยังสามารถเก็บตั๋วไว้เป็นที่ระลึกได้ด้วย

แผนที่สถานีรถไฟฟ้า BTS

ขั้นตอนการใช้งานรถไฟฟ้าบีทีเอส

 

แม้ว่าการใช้บริการรถไฟฟ้า BTS ไม่ใช่เรื่องน่าหนักใจสำหรับใครหลาย ๆ คน แต่สำหรับคนที่เพิ่งเข้ามาในกรุงเทพใหม่ ๆ และต้องใช้บริการรถไฟฟ้าเป็นครั้งแรกนั้น คงจะตื่นเต้นและกังวลไม่น้อยเลย ยิ่งคนที่กลัวว่าจะทำอะไรโก๊ะ ๆ ต่อหน้าคนอื่นด้วยแล้ว ยิ่งวิตกกังวลเข้าไปใหญ่ แต่มาคิดดูแล้วก็คงไม่แปลกอะไร เพราะความรู้สึกของการลองใช้บริการรถไฟฟ้าในครั้งแรกนั้น ทุกคนก็คงเคยกันหมด

ที่จริงแล้วการใช้บริการรถไฟฟ้านั้น ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอะไร เพราะหากมาเห็นสถานที่จริง ๆ (แล้วลองสังเกตุคนซื้อตั๋วคนอื่น ๆ ดู) จะเห็นเลยว่ามีขั้นตอนในการซื้อตั๋วอยู่อย่างชัดเจน นอกจากจะไม่ยากแล้ว บริเวณใกล้ ๆ ยังมีเจ้าหน้าที่ให้บริการข้อมูลและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้สอบถามได้อีกด้วย แต่สำหรับคนที่กำลังหาข้อมูลอยู่ ก็สามารถดูข้อมูล วิธีการและขั้นตอนตามด้านล่างได้เลย

การซื้อตั๋วแบบครั้งเดียว (ไม่ใช่บัตร)

1. ดูแผนที่ตรงเครื่องขายตั๋ว เพื่อให้แน่ใจว่าจุดที่เราอยู่นั้นอยู่จุดไหน ซึ่งจะเป็นสีเขียวทึบ และดูว่าสถานีจุดหมายปลายทางที่เรากำลังจะไปนั้นราคาเท่าไร โดยที่ราคาค่าตั๋วนั้นจะบอกอยู่ตรงแผนที่อยู่แล้ว ซึ่งหากเรามีเหรียญไม่พอจ่าย (เครื่องนี้รับเฉพาะเหรียญ 5 และ 10 เท่านั้น) ก็สามารถทำการแลกเหรียญได้ที่เค้าเตอร์ของเจ้าหน้าที่เลย (รูปแผนที่เปรียบเทียบจุดที่เราอยู่กับจุดอื่นที่บอกราคา)

2. (สำหรับเครื่องขายนี่เป็นขั้นตอนที่ 1) กดปุ่มเพื่อบอกว่าเราต้องการซื้อตั๋วในราคาเท่าไร โดยที่ราคาจะเริ่มจาก 15 บาท เพิ่มขึ้นทีละ 5 บาทไปจนถึง 60 บาท เราจะสามารถซื้อตั๋วได้ทีละใบเท่านั้น หากต้องการซื้อหลายใบ พอได้ตั๋วใบแรกแล้วก็ค่อยมาเริ่มที่จุดนี้ใหม่อีกครั้ง

3. ทำการหยอดเหรียญตามราคาที่เราเพิ่งกดเลือกไป อย่าลืมว่าเครื่องรับเฉพาะเหรียญ 5 กับ 10 เท่านั้น (เครื่องสามารถทอนเงินได้ เพราะฉะนั้นหากเราใส่จำนวนเงินเกินไปก็ไม่ต้องเป็นห่วง รอรับเงินทอนพร้อมตั๋วเดินทางได้เลย)

4. เมื่อหยอดเงินครบจำนวนแล้ว ตั๋วจะเด้งออกมาจากเครื่องขายตั๋วประมาณครึ่งนึง เราก็ดึงออกมาได้เลย

5. ถ้ามีเงินทอน ก็จะออกมาที่ช่องรับเงินทอนด้านล่าง
* ตั๋วที่เราได้รับมานั้นจะมี เครื่องหมายบอกว่าให้เราสอดบัตรด้านไหน ส่วนใหญ่แล้วด้านหน้าจะมีรูปภาพหลากหลาย ส่วนด้านหลังจะมีเงื่อนไขการใช้ หรือไม่ก็แผนที่สถานีต่าง ๆ ของรถไฟฟ้าบีทีเอส



วิธีการโดยสารด้วยรถไฟฟ้า
6.เมื่อเราได้ตั๋วมาอยู่ในมือแล้ว ก็ตรงไปยังช่องทางเข้าเลย แต่ว่าแนวกั้นของทางเข้าและทางออกนั้นอยู่ในแนวเดียวกัน เพราะฉะนั้นให้สังเกตว่าช่องทางเข้านั้นจะมสีเครื่องหมายลูกศรสีเขียวอยู่ด้านหน้า ในขณะที่ช่องทางออกนั้นจะเป็นเครื่องหมายกากบาทสีแดง


7. เมื่อเรามาถึงเครื่องตรวจตั๋วแล้ว เราก็สอดตั๋วเข้าไปในช่อง ซึ่งเมื่อใส่เข้าไปแล้วตั๋วจะเด้งออกมาจากช่องด้านบน จากนั้นเมื่อเราดึงตั๋วออก ที่กั้นก็จะเปิด (เมื่อดึงตั๋วออกแล้ว ให้รีบเดินเข้าไป เพราะถ้าช้าอาจจะโดนที่กั้นหนีบได้ ซึ่งคนที่เคยโดนบอกว่าเจ็บไม่น้อยเลยทีเดียวถึงจะแค่เฉี่ยว ๆ ก็เถอะ) ตั๋วที่เราดึงออกมาก็ต้องเก็บไว้ใช้ตอนขาออกนั่นเอง

** สำหรับคนที่ไม่สะดวกที่จะเดินผ่านช่องตรวจบัตร เช่น คนที่มีกระเป๋าใบใหญ่ คนที่หิ้วของของพะรุงพะรัง หรือคนที่มีเด็กมาด้วยแล้วกลัวหรือไม่สะดวกที่จะเดินเข้า ก็คุยกับเจ้าหน้าที่ที่อยู่ด้านข้างช่องทางเข้าได้ ซึ่งเค้าจะเปิดประตูให้เราเข้า และนำบัตรโดยสารของเราใส่เครื่องตรวจบัตรให้อีกที

*** ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่มด้านในนะ ไม่งั้นพี่เจ้าหน้าที่จะเข้ามาเตือนเราได้ ทั้งนี้ก็เพราะว่าภายในสถานีจะไม่มีคนมาคอยทำความสะอาด รวมถึงไม่มีถังขยะด้วย (มีแต่ก่อนเดินเข้าทางกั้นตอนแรก)



8. เมื่อเข้ามาด้านในแล้ว ตรงนี้สำคัญมาก เพราะเราต้องดูว่าฝั่งไหนคือฝั่งไหนรถไฟฟ้าไปทางไหน โดยที่จะมีสถานีท้ายสุดเป็นตัวบอก เช่นฝั่งนึงไปอ่อนนุช และอีกฝั่งนึงไปหมอชิตเป็นต้น เพราะฉะนั้นแล้วเราจะต้องจำไว้ด้วยว่าสถานีสุดท้ายของเราคือสถานีอะไร เมื่อเราเลือกฝั่งที่จะไปได้แล้วก็เดินขึ้นไปได้เลย (ถ้าขึ้นผิดก็จะกลายเป็นนั่งรถไฟฟ้าไปผิดทาง แต่ไม่ต้องกังวลใจไปเพราะเราสามารถนั่งรถไฟฟ้ากลับมาได้ ตราบใดที่เรายังไม่ได้ออกจากสถานีไป เราก็ยังไม่ต้องซื้อตั๋วใหม่)

9. เมื่อขึ้นมาแล้วจะเห็นว่าชั้นนี้เป็นชานชาลารถไฟฟ้า จะมีคนยืนรอขึ้นรถไฟฟ้าอยู่ ดูที่เครื่องหมายบนพื้นจะมีบอกว่าตรงนี้สำหรับคนจะเข้ารถไฟ ตรงนี้สำหรับคนจะออก เพื่อจะได้ไม่เกิดเกะกะคนที่จะออกจากรถไฟฟ้าเมื่อรถมาถึง (ตามมารยาทแล้วต้องให้คนออกจากรถโดยสารก่อนอยู่แล้ว)

10.เมื่อคนออกหมดแล้วก็เข้าไปในรถไฟฟ้าได้เลย ด้านในจะมีที่นั่งสองฝั่ง กับพื้นที่ว่างให้ยืน ซึ่งจะมีห่วงและเสาไว้ให้ผู้โดยสารยึดด้วย เพราะรถจะวิ่ง ๆ หยุด ๆ เพราะต้องจอดตามสถานีต่าง ๆ ทำให้ทรงตัวค่อนข้างลำบาก

* ภายในรถไฟฟ้า บริเวด้้านบนของประตูเข้าออกแต่ละจุด จะมีแผนที่สถานีต่าง ๆ ของรถไฟฟ้าด้วย โดยที่จะมีเสียงคอยบอกเราว่าสถานีที่กำลังจะถึงนั้นคืออะไร (หากฟังไม่ค่อยชัด ให้ดูที่จอทีวีสำหรับโฆษณาก็ได้ เพราะใต้โฆษณาจะมีข้อมูลสถานีต่อไปบอก) อย่างไรก็ตามรถไฟฟ้าบางคัน จะมีสัญญาณไฟบอกด้วยว่าตอนนี้รถไฟฟ้าอยู่สถานีใด และกำลังจะไปสถานีไหนบ้าง ทำให้สะดวกกับผู้โดยสารไม่น้อยเลย
( นอกจากนั้นภายในรถไฟฟ้าจะมีทีวีไว้สำหรับโฆษณาด้วย ใครว่าง ๆ ก็นั่งดูไปเพลิน ๆ ให้ถึงที่หมายก็ได้)

11. เมื่อถึงที่หมายเราก็เดินลงมาด้านล่างเพื่อออกจากสถานี แต่ว่าอาจจะต้องดูว่าทางออกไหนเหมาะกับจุดที่เราจะไปมากที่สุด จะได้ไม่ต้องเสียเวลาเดินอ้อมไปอ้อมมา

** กรณีซื้อตั๋วผิดสถานี (ซื้อตั๋วราคาถูกกว่าราคาจริง) สามารถแจ้งได้ที่เจ้าหน้าที่ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่จะขอเก็บเงินเราเพิ่ม เราจึงจะออกจากสถานีได้

** คำเตือน อย่างที่รู้กันว่าถ้าเราไม่เดินออกจากสถานี เราก็นั่งรถไฟฟ้าไปไหนมาไหนได้ ซึ่งบางคนก็เลือกที่จะนั่งรถไฟฟ้าไปเพลิน ๆ แล้วจึงมาออกจากสถานีที่ต้องการ การทำแบบนี้ไม่ได้ผิดอะไร เพียงแต่ว่าในปัจจุบันหากเราอยู่ในระบบรถไฟฟ้าเกิน 120 นาที เราจะโดยเบี้ยปรับเกินเวลาด้วย ซึ่งอยู่ที่ 40 บาท

*** การสลับสายรถไฟฟ้า ทำได้ที่สยาม โดยที่จะมี platform ให้เราเดินไปขึ้นรถไฟฟ้าสายอื่น (แต่ต้องดูให้ดีว่ารถไฟฟ้าที่เราจะต้องขึ้นนั้น จะวิ่งไปทางไหน) จุดนี้อาจทำให้คนสับสนได้เหมือนกัน (อาจจะต้องบอกว่ามีสองชั้น ทำผังว่าชั้นไหนไปทางไหน)

**** สำหรับคนที่จะเดินทางไปสนามบินสุวรรณภูมิ สามารถนั่งรถไฟฟ้า Airport Link ได้ โดยจุดเชื่อมต่ออยู่ที่ BTS สถานีพญาไท

 
ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT
การเดินทางไปวัดพระแก้ว
Tourism Authority of Thailand    Amazing Thailand     Pattaya Concierge     ChonHub     Kanchanaburi dot Co
Copyright © 2016 - 2024 | Ceediz.Com Contact: info@ceediz.com, info.ceediz@gmail.com