ตลาดพลอย ถนนอัญมณี จันทบุรี



ตลาดพลอย หรือถนนอัญมณี เป็นตลาดการซื้อขายพลอยในจันทบุรีโด่งดังและมีชื่อเสียงกว้างไกลในระดับโลก และเป็นตลาดการค้าพลอยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เพราะเป็นศูนย์รวมการค้าพลอยแบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ ถึงปลายน้ำ ตลาดพลอยอยู่ในใจกลางเมืองจันทบุรี ผู้ที่สนใจซื้อเครื่องประดับ หรือต้องการเห็นบรรยากาศการซื้อขายพลอยว่าทำกันยังไง สามารถเดินชมการซื้อขาย หรือแวะซื้อพลอยได้ ซึ่งตลาดการค้าพลอยจะค่อนข้างคึกคักในช่วงสุดสัปดาห์ เดินชมตลาดพลอยแล้ว ยังเดินต่อเนื่องไปยังชุมชนริมน้ำจันทบูร และโบสถ์คาทอลิกได้ไม่ไกลนัก

ตลาดพลอย (ถนนอัญมณี) ตั้งอยู่ ช่วงถนนศรีจันท์และตรอกกระจ่าง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี อยู่ติดกับถนนริมน้ำจันทบูร

จังหวัดจันทบุรี ถือเป็นเมืองแห่งอัญมณีระดับโลก เพราะเป็นศูนย์รวมการค้าพลอยแบบครบวงจร พลอยเมืองจันท์ได้รับการกล่าวขานกันว่าเป็นพลอยน้ำดี ได้รับการเจียระไนอย่างประณีตจากช่างฝีมือชั้นเลิศ แม้ว่าปัจจุบันพลอยเมืองจันท์แท้ๆ จะหาได้ค่อนข้างยาก แต่จันทบุรีก็ยังคงเป็นแหล่งอัญมณีขนาดใหญ่ และมีชื่อเสียงที่สุดในประเทศไทย เส้นทางของพลอยในเมืองจันท์นั้น มีตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ เพราะยังคงมีการขุดหาพลอย ทำเหมือง คัดพลอย ช่างฝีมือดีในการเจียระไน ไปจนถึงการทำเป็นเครื่องประดับ

ในอดีตพลอยที่เคยพบในจังหวัดจันทบุรี ที่มีชื่อเสียงมากในระดับโลก ได้แก่ ทับทิมสยาม* เป็นพลอยที่สวยที่สุด หรือเป็นราชาแห่งอัญมณี (King of Gems) เลยก็ว่าได้

* ทับทิมสยาม (King Ruby) หรือพลอยแดง เป็นพลอยที่มีสีแดงเข้ม มีผลึกรูป 6 เหลี่ยม มีระดับความแข็งมาก รองจากเพชร (ทับทิมมีค่าความแข็งอยู่ที่ 9 เพชรแข็งระดับ 10) เนื้อพลอยมีลักษณะโปร่งใส โปร่งแสง ไปจนถึงทึบแสง ข้างในผลึกมักมีตำหนิ หรือมลทิน (inclusion) ที่เกิดตามธรรมชาติ สีของทับทิมมีตั้งแต่สีออกแดงอมส้ม ถึงอมม่วง แต่เดิมพบมากในจังหวัดจันทบุรี ซึ่งถือว่าเป็นพลอยเนื้อแข็งที่มีความสวยงาม หายาก และมีราคาสูง หากมีสีแดงเข้มเลือดนกพิราบ หรือสีแดงอมชมพูสดใส จะมีมูลค่ามาก ปัจจุบันทับทิมสยามแทบจะหาไม่ได้แล้ว พลอยแดงในเมืองไทยก็หายากขึ้น หากพบก็จะเป็นพลอยขนาดเล็ก เจียระไนแล้วเหลือขนาดประมาณ 1-3 กะรัต ซึ่งนิยมนำไปออกแบบเป็นเครื่องประดับต่างๆ เช่นแหวน สร้อยคอ สร้อยข้อมือ ต่างหู จี้ เป็นต้น


แต่เดิมพื้นที่ในจังหวัดจันทบุรี มีพลอยอยู่ใต้ดินเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบริเวณเขาพลอยแหวน ตำบลบางกะจะ อำเภอท่าใหม่ ถือเป็นแหล่งกำเนิดพลอยขนาดใหญ่ พลอยที่ขุดได้เป็นพลอยเนื้อดี มีหลายชนิด เช่นไพลิน บุษราคัม สตาร์ ชาวบ้านสามารถหาพลอยได้ไม่ยาก บางคนเล่าว่า หลังฝนตก ก็จะเจอพลอยผุดขึ้นมาให้เห็นแล้ว แรกเริ่มที่ชาวบ้านเริ่มขุดหาพลอย ต่างก็ใช้เครื่องมือพื้นบ้าน ใช้ตะแกรงร่อนหาพลอย จนกระทั่งเข้าสู่ยุคตื่นพลอย ทำให้มีการสัมปทานทำเหมือง พลอยจึงถูกขุดไปขาย และลดลงไปอย่างรวดเร็ว

 

ถึงแม้ว่าปัจจุบันพลอยในจังหวัดจันทบุรีจะลดลงไป จนแทบจะไม่เหลือแล้ว แต่ตลาดการค้าขายพลอยในเมืองจันท์ ก็ยังคงเป็นศูนย์กลางการซื้อขายแหล่งใหญ่ ที่มีผู้ประกอบการมาจากทั่วโลก มีผู้ซื้อ ผู้ขายทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ พลอยที่ซื้อขายก็มีการนำมาจากแหล่งอื่นๆ ด้วย เช่น พลอยจากพม่า กัมพูชา อินเดีย เวียดนาม ศรีลังกา(ซีรอน) และประเทศแถบแอฟริกา เช่น แทนซาเนีย เคนยา โมซัมบิก คองโก เกาะมาดากัสการ์ เป็นต้น ในตลาดพลอยเมืองจันท์มีการแลกเปลี่ยนซื้อขายพลอยกันอย่างคึกคัก มีเงินสะพัดมากมายมหาศาล

บรรยากาศการซื้อขายพลอยในจันทบุรี มักจะคึกคักในช่วงวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ โดยเริ่มตั้งแต่ตอนสาย ไปจนถึงช่วงบ่าย ประมาณ 10.00 -15.00 น. การซื้อขายมีทั้งแบบตั้งโต๊ะเปิดโล่ง และแบบอยู่ในห้องแอร์ บ้างก็จะเขียนไว้ว่าคนซื้อต้องการพลอยแบบไหน

ตลาดการค้าพลอยจะมีลักษณะการซื้อขายไม่เหมือนการซื้อขายสินค้าทั่วไปที่ผู้ขายเปิดร้าน รอให้ผู้ซื้อเข้ามาซื้อ ในทางกลับกัน การซื้อขายพลอยนั้น ผู้ซื้อจะนั่งรอ ให้ผู้ขายเดินนำสินค้ามาเสนอขาย

โดยสิ่งที่จะพบเห็นได้ในบริเวณตลาดพลอย มีดังนี้
1.ผู้ซื้อพลอย
ผู้ซื้อ คือพ่อค้าพลอย หรือผู้ประกอบการร้านอัญมณี ที่ต้องการซื้อพลอยดิบไปเจียระไน นำไปประกอบตัวเรือนเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า และนำไปขายต่อเป็นเครื่องประดับที่มีค่า มีราคาสูงต่อไป ซึ่งพ่อค้าพลอยมีทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ เช่น อินเดีย ปากีสถาน จีน นิวซีแลนด์ ศรีลังกา แอฟริกา นั่งรอซื้อพลอยเนื้อดีเพื่อไปทำกำไรต่อ

 

2.ผู้ขายพลอย
คนขายพลอย หรือที่มักเรียกว่า​ "คนเดินพลอย" อาจเป็นเจ้าของพลอยที่หามาได้เอง หรือเป็นนายหน้า ที่รับมาจากโรงงาน หรือร้านทำพลอย เพื่อนำไปเสนอขายให้กับพ่อค้าพลอยแทนเจ้าของพลอย โดยนายหน้าทำหน้าที่คล้ายกับโบรกเกอร์ จะได้เปอร์เซ็นจากการขายประมาณ 1-2%

คนเดินพลอยในตลาดจะสังเกตได้ง่าย คือ เป็นคนที่เดินไปเดินมา มีทั้งผู้หญิงผู้ชาย ส่วนใหญ่จะสะพายกระเป๋าข้างสำหรับใส่พลอยที่นำมาเสนอขาย คนเดินพลอยจะเดินวนเวียนเพื่อหาว่า จะนำพลอยไปเสนอขายที่โต๊ะไหน เพื่อให้ราคาดี หากตกลงกันได้ในราคาที่เหมาะสม ก็จะขายให้กับผู้ซื้อคนนั้นไป

3.การตรวจสอบพลอย
เมื่อผู้ขายกับผู้ซื้อมาเจอกัน ก่อนที่จะตกลงซื้อขายกันได้นั้น คนซื้อจะตรวจเช็คสินค้าก่อนตั้งราคาซื้อ โดยทั่วไปผู้ซื้อจะมีอุปกรณ์คือ โต๊ะนั่ง ถาดรองพลอยสีขาว คีมคีบพลอย ตาชั่งสำหรับช่างพลอย (เพื่อคำนวณเป็นกะรัต) แว่นขยาย เครื่องคิดเลข
จากนั้นผู้ซื้อจะทำการตรวจสอบพลอย โดย

- ผู้ซื้อจะเท พลอยทั้งห่อใส่ในถาด ซึ่งใน 1 ห่อ อาจมีตั้งแต่ 1 เม็ด ไปจนถึงห่อละหลายเม็ด และพลอยแต่ละห่ออาจมีขนาดไม่เท่ากัน
- ผู้ซื้อจะดูหน้าพลอย และเขี่ยดูพลอยโดยทั่วๆ ก่อน จากนั้นอาจใช้คีมคีบพลอยบางเม็ดมาส่องดูด้วยแว่นขยาย เมื่อดูจนเป็นที่พอใจแล้ว จึงเก็บพลอยทั้งหมดใส่ห่อ แล้วชั่งเพื่อคำนวณราคาด้วยเครื่องคิดเลข
- หากผู้ซื้อให้ราคาซื้อ (ส่วนใหญ่จะซื้อขายแบบเหมาทั้งห่อ) แล้วผู้ขายพอใจกับราคานั้น ก็เป็นอันซื้อขายกันจบ หากไม่พอใจ ผู้ขายจะนำพลอยไปเดินหาผู้ซื้อรายอื่นต่อไป

4.การตกลงซื้อขาย
เมื่อผู้ซื้อและผู้ขาย ตกลงราคากันได้ถูกใจทั้งสองฝ่าย ก็จะทำการแลกของแลกเงินกัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้ซื้อจะรับซื้อพลอยทั้งกอง หรือทั้งห่อของผู้ขาย ซึ่งอาจมีเพียงไม่กี่เม็ด หรือมีหลายเม็ดก็ได้

กรณีที่ผู้ขายเป็นนายหน้ารับพลอยมาจากโรงงาน หรือจากร้านอีกทีหนึ่ง หากตกลงราคากับผู้ซื้อไม่ได้ หรือไม่แน่ใจว่าราคาที่ผู้ซื้อเสนอมา สมควรขายออกไปหรือไม่ ก็จะมีการทำเครื่องหมายไว้กับห่อพลอยห่อนั้น เรียกว่า "การพันกา" คือการจองพลอยของพ่อค้าพลอยทั้งห่อ พันด้วยกระดาษ หรือห่อด้วยกระดาษ ติดเทปแน่นหนา เขียนราคาและชื่อคนซื้อไว้ เพื่อเป็นการทำเครื่องหมายจอง โดยไม่ให้เปิดออก นายหน้าจะนำกลับไปถามเจ้าของพลอย แล้วจึงกลับมายังผู้รับซื้ออีกทีหนึ่ง หากกลับมาแล้วไม่สามารถตกลงราคาได้ ก็จะฉีกใบจองนั้นเป็นอันยกเลิกสัญญาซื้อขาย แล้วผู้ขายก็จะไปหาผู้ซื้ออื่นต่อไป


ตำนานการเกิดพลอยในจันทบุรี
ตามตำนานเล่าว่า แต่เดิมเมืองจันทบุรีนั้นยังไม่มีพลอย จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่ง ชาวบ้านได้เห็นแสงสว่างราวกับดวงดาวพุ่งจากท้องฟ้า ตกลงมาบริเวณเขาพลอยแหวน เมื่อชาวบ้านพากันไปดู ก็เห็นวัตถุที่มีประกายแสงสีเขียว สุกสว่างอยู่ในหลุม และเชื่อกันว่านั่นคือ "แม่พลอย" จึงเตรียมที่จะนำมาไว้กราบไหว้บูชา แต่เมื่อจะหยิบแม่พลอยขึ้นมา แม่พลอยกลับลอยหนีไป และบรรดาลูกพลอยนับหมื่นนับพันก็พากันลอยตามแม่พลอยไปด้วย ลูกพลอยไหนที่ลอยตามแม่พลอยไปไม่ทัน ก็จะตกหล่นกระจายอยู่ตามพื้นดินไปทั่ว จนทำให้บริเวณเขาพลอยแหวนมีพลอยอยู่ใต้ผืนดินจำนวนมาก

 

ความรู้เรื่องพลอย
อัญมณี (Gemstones) คือรัตนชาติที่มาจากแร่ธาตุต่างๆ ที่อยู่ใต้พื้นผิวโลก "พลอย" ก็เป็นหนึ่งในแร่รัตนชาติ ที่อยู่ในตระกูลคอรันดัม* (Corundum)

 

* คอรันดัม (Corundum) เป็นแร่รัตชาติ มีต้นกำเนิดมาจากหินลาวาที่ร้อนระอุ ปะทุขึ้นสู่ผิวโลก เมื่อเกิดการแข็งตัว ก็จะทำให้กลายเป็นหินอัคนีเนื้อละเอียด เนื้อลาวาในขณะที่ยังอ่อน หากได้ปะปนกับธาตุอะลูมิเนียม และออกซิเจนในอากาศ ก็จะทำให้กลายเป็นพลอยหลากสี

พลอยแต่ละชนิด มีสีต่างกัน เพราะในเนื้อพลอยประกอบด้วยแร่ธาตุปนอยู่ไม่เหมือนกัน เช่น
- ทับทิม มีสีแดงเข้ม เพราะมีโครเมียมปนอยู่มาก ถ้าปนอยู่น้อยจะให้สีชมพู
- ไพลิน มีสีน้ำเงิน เพราะมีไททาเนียมกับเหล็ก ปนอยู่
การเรียกชื่อพลอยแต่ละชนิด จะเรียกตามสีที่ปรากฏ ดังคำกลอนโบราณที่กล่าวถึงรัตนชาติ 9 อย่าง หรือที่เรียกกันว่า "นพรัตน์" ไว้ดังนี้

 

"เพชรดี มณีแดง เขียวใสแสงมรกต เหลืองใสสดบุษราคัม แดงแก่ก่ำโกเมนเอก สีหมอกเมฆนิลกาฬ มุกดาหารสีหมอกมัว แดงสลัวเพทาย สังวาลสายไพฑูรย์"

เพชรดี (Diamond)  เป็นรัตนชาติสีขาว ได้แก่ เพชร
มณีแดง (Ruby)  เป็นแร่รัตนชาติสีแดง ได้แก่ ทับทิม
เขียวใสแสงมรกต (Emerald)  เป็นแร่รัตนชาติสีเขียว ได้แก่ มรกต
เหลืองใสใดบุษราคัม (Yellow Sapphire)  เป็นแร่รัตนชาติสีเหลือง ได้แก่ บุษราคัม
แดงแก่ก่ำโกเมนเอก (Garnet)  เป็นแร่รัตนชาติสีแดงอมส้ม อมน้ำตาล หรือสีเลือดหมู ได้แก่ โกเมน
สีหมอกเมฆนิลกาฬ (Blue Sapphire)  เป็นแร่รัตนชาติสีน้ำเงิน ได้แก่ ไพลิน
มุกดาหารสีหมอกมัว (Moonstone)  เป็นแร่รัตนชาติสีขาวขุ่นคล้ายสีหมอก มีเหลือบรุ้งสีออกฟ้านวล ได้แก่ มุกดาหาร หรือ จันทรกานต์
แดงสลัวเพทาย (Zircon)  เป็นแร่รัตนชาติสีน้ำตาลอมแดง (เผาแล้วได้สีฟ้า) ได้แก่ เพทาย
สังวาลสายไพฑูรย์ (Chrysoberyl Cat’s Eye)  เป็นแร่รัตนชาติสีเหลืองนวล เหลืองทอง สีน้ำผึ้ง สีเขียวแอปเปิล สีน้ำตาล ได้แก่ ไพฑูรย์

เส้นทางของพลอย
ก่อนที่พลอยจะมาถึงผู้บริโภค กลายเป็นเครื่องประดับอันล้ำค่า และที่มีมูลค่าราคาสูงได้นั้น การเดินทางของแร่พลอยจากใต้ผืนดิน เริ่มจากพลอยดิบ ผ่านมือพ่อค้าพลอย สู่กระบวนการตัดแต่งเจียระไน ไปจนถึงการขึ้นตัวเรือน ต้องผ่านเส้นทางยาวไกล และผ่านกระบวนการที่พิถีพิถันทุกขั้นตอน ซึ่งมีขั้นตอนคร่าวๆ ดังนี้

 

1.การขุดพลอย
แหล่งขุดพลอยในจังหวัดจันทบุรีนั้น พบอยู่ในภูมิประเทศทั้งที่เป็นภูเขา ไหล่เขา และตามพื้นราบ โดยแบ่งตามแนวสายแร่ออกเป็น 2 เขต คือ
- ทางฝั่งตะวันตกของจังหวัดได้แก่ อำเภอท่าใหม่ อำเภอเมือง ในบริเวณเขาวัว เขาพลอยแหวน เขาสระแก้ว บ้านบางกะจะ พลอยที่ได้ส่วนใหญ่เป็นพลอยสีน้ำเงิน(ไพลิน) เขียว เหลือง(บุษราคัม) สตาร์(พลอยสาแหรก) เพทาย(Zircon) โกเมน(Garnet)

- ทางฝั่งตะวันออกของจังหวัดได้แก่ อำเภอขลุง อำเภอมะขาม บริเวณเขาสระบาป บ้านบ่อเวฬุ บ้านสีเสียด บ้านตกพรม บ้านบ่อเอ็ด บ้านกลาง บ้านหนองปลาไหล บ้านตกชี บ้านสะตอ ห้วยสะพานหิน บ้านแสงแดง บ้านแสงส้ม พลอยที่พบส่วนใหญ่เป็นพลอยสีแดง และสีน้ำเงิน

การขุดพลอยนอกจากจะขุดในบริเวณที่มีประวัติการพบเจอพลอยแล้ว ยังต้องใช้การสังเกตสีของดิน โดยดูได้จาก
- ขี้พลอย (แร่ไพร็อกซิน) - เป็นหินสีดำที่อยู่ตามผิวดิน
- เพื่อนพลอย (พลอยเพทาย พลอยน้ำค้าง)
- ตัวตุ๊กต่ำ (แร่ไมก้า) - เชื่อว่าเป็นอาหารพลอย
เมื่อพบตัวบ่งชี้เหล่านี้ ก็จะทำการขุดหา โดยต้องขุดหน้าดินทิ้งไปก่อน ขุดจนถึงชั้นหินกรวด (ชั้นกะสะ) ซึ่งจะเจอหินบะซอลต์ (หรือลูกร่อน) แล้วจึงจะนำดินในชั้นกะสะขึ้นมาล้าง และร่อน เพื่อแยกพลอยออกจากดิน และหินกรวด

ในอดีตการคัดแยกพลอย ชาวบ้านจะใช้เครื่องมือขุดดิน เพื่อนำดินมาร่อนในตระแกรงร่อน ต่อมามีการสัมปทาน จึงมีการขุดพลอยแบบเหมืองฉีด โดยใช้รถรถแมคโค ตักดินเพื่อเปิดหน้าดินออกจนถึงชั้นดินที่มีพลอยปนอยู่ จากนั้นก็จะตักดินใส่ในเครื่องมือแยกหินใหญ่ๆ (เรียกว่าตระกร้อ) เครื่องนี้เป็นตะแกรงทรงกระบอกที่หมุนอยู่ตลอด พร้อมใช้น้ำฉีด เพื่อให้พลอยหลุดมากับน้ำ จากนั้นจะมีท่อส่งน้ำต่อไปยัง เครื่องมือแยกพลอย (ชาวบ้านเรียกว่า ยิก หรือ แย็ก) เพื่อแยกระหว่างหินกรวด กับพลอย เมื่อคัดแยกพลอยด้วยเครื่องแล้ว หลังจากนั้นก็ต้องนำพลอยที่ได้มาล้างน้ำ และนำมาคัดแยกด้วยมือโดยเลือกเฉพาะหินที่เป็นพลอยสี

2.การเผาพลอย
สมัยการทำพลอยในยุคแรกๆ นั้น ยังไม่มีใครรู้จักวิธีเผาพลอย การทำพลอยจึงไม่มีขั้นตอนนี้ เมื่อได้พลอยดิบมาก็ผ่านไปยังขั้นตอนการโกลน และเจียระไนเลย

จนกระทั่งปี 2511 ได้เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งใหญ่ในจังหวัดจันทบุรี แถวบริเวณที่เรียกว่าโรงหนังเฉลิมไทย ซึ่งเป็นแหล่งที่มีร้านทำพลอยอยู่บริเวณนั้นเป็นจำนวนมาก เมื่อไฟสงบแล้ว ช่างพลอยต่างก็กลับไปตรวจเช็ค ค้นหาซากพลอยในร้านที่โดนไฟไหม้ เมื่อกลับไปดูก็ต้องประหลาดใจว่า พลอยบางชิ้นกลับมีความสวยใสขึ้นมาจากเดิม จึงทำให้เกิดเป็นภูมิปัญญาการเผาพลอย ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากจันทบุรีนี่เอง

เทคโนโลยีการเผาพลอย (หรือหุงพลอย) แบบไม่มีการเพิ่มสารเคมีเข้าไปขณะเผา เป็นการปรับปรุงสีพลอยที่ได้มาจากเหมือง ให้ดูสวยสดใส เพราะเป็นการทำให้ธาตุที่อยู่ในเม็ดพลอย เกิดการเปลี่ยนแปลง แปรสภาพธาตุ จึงเปลี่ยนสีสันของแร่ที่แทรกอยู่ภายใน มีผลให้พลอยเม็ดนั้นๆ สวยสุกใสขึ้น จึงถือได้ว่าเป็นกรรมวิธีที่ถูกต้อง และได้รับการยอมรับตามหลักวิชาการว่ายังคงคุณค่าของพลอยอยู่

พลอยแต่ละชนิด จะใช้เทคนิคการเผาที่ไม่เหมือนกัน ความร้อนในการเผาไม่เท่ากัน ซึ่งเทคนิคการเผาพลอยนี้ มักเป็นความลับเฉพาะที่ไม่เปิดเผยกัน การที่จะดูว่าพลอยเม็ดไหนเผาได้หรือไม่ได้ เผาแล้วจะออกมาสวยหรือไม่นั้น จำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ ที่ต้องดูเป็นด้วยว่า พลอยชิ้นไหนเมื่อนำไปเผาจะได้ราคาเพิ่มขึ้น การเผาพลอยแต่ละชนิดใช้ลักษณะเตา ความร้อน และระยะเวลาในการเผาที่แตกต่างกันออกไป เช่น พลอยแดง (ทับทิม) ใช้เตาไฟฟ้า ที่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ถึง 1800 องศาฟาเรนไฮต์ ส่วนพลอยไพลิน จะใช้เตาถ่านหิน แก๊ส หรือนำ้มันโซล่า ที่จะต้องทำเป็นเตาพิเศษด้วย

การเผานั้นจะนำเม็ดพลอยดิบใส่ในเบ้าที่สั่งทำโดยเฉพาะ เบ้าต้องทนความร้อนสูง เมื่อเผาเสร็จ ต้องนำพลอยมาคัดคุณภาพเพื่อดูว่าเม็ดไหนใช้ได้ หรือไม่ได้ ถ้าหากพลอยเม็ดไหนสียังไม่สวยตามต้องการ ก็ต้องนำกลับไปเผาใหม่ บางเม็ดอาจต้องใช้เวลาในการเผาหลายครั้ง จึงจะได้พลอยที่สุกใส

3.การโกลนพลอย
หลังจากที่พลอยผ่านการคัดแยกคุณภาพ ตรวจสอบการแตกร้าวภายในเม็ดพลอยแล้ว จะผ่านเข้าสู่การโกลน เป็นการขึ้นรูป หรือทำให้เม็ดพลอยเป็นรูปร่างแบบคร่าวๆ เป็นการกำหนดด้านหน้าพลอย ตั้งหน้าพลอย การตั้งน้ำ และตำแหน่งสีในแต่ละเม็ด ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่ง ที่ต้องอาศัยช่างฝีมือที่มีประสบการณ์

ตัวอย่างการโกลนพลอย

4.การเจียระไนพลอย
คือการนำเม็ดพลอยที่ทำความสะอาด และผ่านการขึ้นรูปโกลนเรียบร้อยแล้ว มาติดไม้ทวน (เป็นเหมือนแท่งดินสอ ใช้จับเม็ดพลอยเวลาเจียระไนพลอย) การเจียระไน คือการนำพลอยเม็ดมาตัดแต่ง โดยนำไปถูกับหินเพชร ทำให้เกิดเป็นรูปร่าง โดยวางเหลี่ยมมุมบนหน้าพลอย ทำให้เกิดการหักเหของแสง เกิดการสะท้อนแวววาว ดูระยิบระยับ การเจียระไนสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น แบบเหลี่ยมเพชร เหลี่ยมกุหลาบ เหลี่ยมผสม เป็นต้น

ขั้นตอนการเจียระไน เป็นขั้นตอนที่ต้องใช้ผู้ที่มีประสบการณ์มาก มีฝีมือประณีต และมีความชำนาญพิเศษ คนเจียระไนพลอยจะรู้ว่า ควรเจียระไนเป็นรูปทรงแบบไหน เพื่อรักษาเนื้อพลอย และให้เกิดความสวยงามมากที่สุด

5.การทำตัวเรือน
เป็นการนำพลอยที่ผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อให้เป็นพลอยเม็ดงามแล้ว ต้องนำมาจัดเกรดพลอยสำเร็จ แยกตามสี ความสวยงาม ขนาด แล้วจัดเป็นชุดพลอย จากนั้นจะนำมาทำตัวเรือน หรือการนำพลอยมาประกอบเป็นเครื่องประดับต่างๆ เช่นสร้อย แหวน ทั้งการขึ้นรูป การฝัง ซึ่งอาจทำด้วยมือ หรือทำด้วยเครื่องจักร หากมีการสั่งจำนวนมาก บางแห่งก็จะใช้เครื่องมือ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว

พลอยแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1.พลอยแท้ (Natural Gemstone) เป็นอัญมณีธรรมชาติ มีทั้งพลอยเนื้อแข็ง เช่นทับทิม ไพลิน บุษราคัม และพลอยเนื้ออ่อน
2.พลอยสังเคราะห์ (Synthetic Gemstone) เป็นอัญมณีที่มนุษย์ที่ผลิตขึ้นจากกระบวนการผลิตที่ทันสมัย
3.พลอยอัด(Imitation or Simulants) เป็นอัญมณีเทียม เช่น CZ แก้วหลอม และพลาสติกหลอมติดสี

 

เครื่องมือตรวจสอบพลอยแท้
1.ใช้กล้องจุลทรรศน์ (Microscope) ตรวจหาตำหนิ หรือมลทิลในพลอย
2.ใช้เครื่องวัดค่าดัชนีหักเหของแสง (Refractometer)
3.ใช้ลูป (Loupe) หรือแว่นกำลังขยาย 10 เท่า ส่องดูพลอยด้วยตา และอาศัยประสบการณ์การดูพลอย

การดูพลอยแท้
การดูพลอย เป็นขั้นตอนที่ค่อนข้างยาก แม้แต่คนที่ดูพลอยเป็น หรือคนที่อยู่ในวงการพลอย ยังต้องอาศัยความชำนาญในการสังเกต และประสบการณ์ส่วนตัวในการดูพลอย ว่าชิ้นไหนพลอยแท้ ชิ้นไหนเทียม หรือมีน้ำงามแค่ไหน บางเม็ดอาจต้องใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ต้องทำในห้องแล็ปในการตรวจสอบเนื้อพลอย

การดูพลอยแท้ จะใช้การดูตำหนิในเนื้อพลอย (Inclusion) ซึ่งโดยทั่วไปหินสีที่เกิดตามธรรมชาติ หรือพลอยแท้ เป็นปกติที่จะมีตำหนิธรรมชาติอยู่ในเนื้อพลอย ซึ่งตำหนินี้เอง เป็นตัวชี้วัดตัวแรกที่จะบอกว่าเป็นพลอยจริง หรือพลอยปลอม ตำหนิที่เกิดมีหลายรูปแบบ มีชื่อเรียกต่างกันไป เช่น ตำหนิเส้นเข็มโบไมท์ ตำหนิเส้นไหมรูทิล ตำหนิลายนิ้วมือ ตำหนิดาวเสาร์ ตำหนิผลึกแฝด ตำหนิเส้นการเจริญเติบโต แถบเส้นตรง แถบสีหักมุม 6 เหลี่ยม เป็นต้น

การดูตำหนิในเนื้อพลอย จะต้องใช้แว่นขยายส่องหาเส้นหินในเนื้อพลอย จะเห็นเป็นลักษณะที่ไม่เรียบใสอยู่ในเนื้อพลอย ส่วนใหญ่เป็นเส้นตรงใสๆ หรือเป็นผลึก หากเป็นพลอยปลอม ประเภทพลอยสังเคราะห์ หรือพลอยอัด แถบสีจะเป็นเส้นโค้ง
เทคนิคการดูคือ ใช้ปากคีบพลอย (Tweeze) คีบเม็ดพลอย อีกมือถือแว่นขยายใกล้กับตา ถือพลอยห่างจากแว่นประมาณ 1 นิ้ว แล้วเริ่มส่องพลอยจนเห็นภาพชัด ตรวจดูพลอยให้ทั่วทั้งเม็ด หาเส้นหิน หรือตำหนิจากด้านหลังของพลอย ขยับพลอยไปมาเพื่อหาเส้นตรงใสๆ ในแต่ละเหลี่ยมพลอย รูปแบบของตำหนิอาจเปลี่ยนแปลงไปบ้าง หากพลอยนั้นได้ผ่านการเผา ซึ่งจะทำให้พลอยมีสีสวย และดูสะอาดขึ้น

ตำหนิในเนื้อพลอยยังสามารถแยกแหล่งกำเนิดของพลอยแต่ละแหล่งที่มาได้ ซึ่งพลอยจากแต่ละแหล่งก็มีมูลค่าที่แตกต่างกันด้วย เช่น ทับทิมไทย มักจะไม่พบตำหนิเส้นไหมรูทิล และผลึกเหมือนทับทิมพม่า ส่วนทับทิมมาดากัสการ์จะพบตำหนิแทบทุกชนิด เป็นต้น

หลักการพิจารณาพลอย
1.ความแข็งของพลอย พลอยที่มีคุณภาพคือพลอยเนื้อแข็ง เช่นทับทิม ไพลิน บุษราคัม
2.สี ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกความงามของพลอย สีพลอยที่มีความเข้ม จาง ต่างกัน ก็ทำให้ราคาพลอยต่างกันด้วย
3.ความโปร่งใส พลอยที่มีความโปร่งใส ไม่มีรอยแตก มีความสวยงามมาก ซึ่งมักจะหายาก และมีราคาค่อนข้างสูง
4.น้ำหนัก พลอยที่มีน้ำหนักมาก ตั้งแต่ 1 กะรัตขึ้นไป จะมีราคาที่สูงขึ้นตามน้ำหนักด้วย

ความเชื่อเรื่องพลอย
พลอยชนิดต่างๆ ที่นำมาทำเป็นอัญมณี เป็นสิ่งที่เกิดจากธรรมชาติ นอกจากจะให้ความสวยงามกับผู้สวมใส่แล้ว ยังมีความเชื่อที่สืบทอดกันมาว่าการใส่เครื่องประดับตามโฉลกเดือนเกิด จะช่วยส่งผลแง่บวกในด้านต่างๆ หรือช่วยด้านการรักษาโรค อัญมณีประจำเดือนเกิด มีดังนี้
- เดือนมกราคม โกเมน เป็นพลอยสีน้ำตาลแดง สัญลักษณ์แห่งความซื่สัตย์ ความศรัทธา และมิตรไมตรี
ช่วยให้มีสุขภาพดี มีอายุยืน แคล้วคลาด
- เดือนกุมภาพันธ์ แอเมทิสต์ เป็นพลอยสีม่วง สัญลักษณ์แห่งความเฉลียวฉลาด รอบรู้ ความมั่นใจในตัวเอง
ช่วยรักษาจิตใจให้สงบ เข้มแข็ง ช่วยคุ้มครองผู้ที่เดินทาง
- เดือนมีนาคม อความารีน เป็นพลอยสีฟ้าเข้ม สีน้ำทะเล สัญลักษณ์แห่งความสงบสุข นำโชคลาภ
ฝ่าอุบัติภัย
- เดือนเมษายน เพชร หรือเพทาย เป็นอัญมณีสีขาวใส สัญลักษณ์แห่งความรักอมตะนิรันดร ชัยชนะ
ความสำเร็จ นำความร่ำรวย ชีวิตรุ่งเรือง
- เดือนพฤษภาคม มรกต เป็นอัญมณีสีเขียว สัญลักษณ์แห่งความเจริญงอกงาม ความอุดมสมบูรณ์ จริงใจ
ไม่เปลี่ยนแปลง
- เดือนมิถุนายน มุกดาหาร เป็นอัญมณีสีขาวขุ่น สัญลักษณ์แห่งความอ่อนโยน ช่วยให้โชคเรื่องความรัก
- เดือนกรกฎาคม ทับทิม เป็นพลอยสีแดง สัญลักษณ์แห่งความผาสุก นำพาโชคลาภ ช่วยเรื่องอำนาจ
ชีวิตคู่มั่นคงยืนยาว
- เดือนสิงหาคม เพริดอต (เขียวส่อง) พลอยสีเขียว สัญลักษณ์แห่งความอบอุ่น ความกรุณา
ช่วยขจัดความหดหู่ เสริมสร้าง จิตใจให้เข้มแข็ง กล้าหาญ มีอำนาจบารมี
- เดือนกันยายน ไพลิน พลอยสีน้ำเงิน สัญลักษณ์แทนความซื่อสัตย์ ความสมหวังในสิ่งที่ตั้งใจ
- เดือนตุลาคม โอปอล เป็นอัญมณีสีสันเป็นประกาย สัญลักษณ์แทนความรัก ความบริสุทธิ์
เสริมสร้างความสำเร็จ
- เดือนพฤศจิกายน บุษราคัม และซิทริน เป็นพลอยสีเหลือง สัญลักษณ์แทนความซื่อสัตย์ มั่นคง จริงใจ
ช่วยส่งเสริมด้านการตัดสินใจ
- เดือนธันวาคม เทอร์คอยส์ และบลูโทพาส พลอยสีเขียวน้ำทะเล หรือสีฟ้า สัญลักษณ์แห่งความมีอำนาจ
ความเฉลียวฉลาด

ข้อแนะนำ
- บริเวณตลาดพลอย เป็นชุมชนค่อนข้างพลุกพล่าน เป็นถนนวันเวย์เยอะ และหาที่จอดรถค่อนข้างยาก หากจอดรถไว้ฝั่งโบสถ์โรมันคาทอลิก แล้วเดินมาบริเวณนี้จะสะดวกกว่าการขับรถไป

สถานที่น่าสนใจบริเวณใกล้กับตลาดพลอย
- ชุมชนริมน้ำจันทบูร สามารถเดินไปได้ในระยะ 200 เมตร
- โบสถ์คาทอลิก สามารถเดินไปได้ในระยะ 300 เมตร
- วัดไผ่ล้อม ห่างไปประมาณ 800 เมตร สามารถนั่งมอเตอร์ไซค์รับจ้างไปได้ในราคาประมาณ 20-25 บาท

การเดินทาง
ห่างจากสวนสาธารณะสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 1 กิโลเมตร
ห่างจากศาลหลักเมือง, ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 2 กิโลเมตร

 

เส้นทางรถยนต์

1ใช้เส้นทางถนนสุขุมวิท (ทางหลวงหมายเลข 3) ตรงมาจากจังหวัดระยอง เมื่อมาถึงแยกเขาไร่ยา ให้เลี้ยวขวาเข้าเมืองจันทบุรี (หมายเลข 316)
 
2พอเลี้ยวแล้ว ตรงตามเส้นทางมาเรื่อยๆ ประมาณ 6 กิโลเมตร พอเข้าเขตตัวเมืองจันท์ เมื่อถึงแยกไฟแดงแรก ตรงแขวงการทางจันทบุรี (สี่แยกพระยาตรัง) ให้เลี้ยวซ้าย
 
3หลังจากเลี้ยวซ้ายแล้ว จะเป็นถนนท่าหลวง ให้ตรงจนผ่านหน้าศาลหลักเมืองไป และตรงไปอีกหน่อย จะเจอแยกตรงสถานีตำรวจ ให้เลี้ยวขวา
 
4หลังจากเลี้ยวตรงแยกสถานีตำรวจมาแล้ว ให้ตรงไปจนเกือบถึงสะพาน จะเจอย่านตลาดพลอย
เส้นทางเดินเท้า
>หากจอดรถที่โบสถ์คาทอลิก ให้เดินข้ามสะพานด้านหน้าโบสถ์ จากนั้นเลี้ยวซ้ายไปหน่อย จะเจอตรอกกระจ่างอยู่ทางขวามือ เลี้ยวไปตามตรอกกระจ่าง ก็จะเป็นตลาดพลอย
>หากเดินมาจากถนนท่าหลวง เดินตามถนนสุขาภิบาลมาเรื่อยๆ (ประมาณ 1 กิโลเมตร) ให้เดินตรงมาทางตลาดล่างจนเกือบสุดทาง จะมีทางเลี้ยวขวาไปตรอกกระจ่าง เข้าซอยไปจะเจอตลาดพลอย

 

Image
Gallery

แผนที่

แสดงร้านอาหารใกล้เคียง
สถานที่เที่ยวใกล้เคียง
ห่างออกไป ประมาณ: 0.4 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
ชุมชนริมน้ำจันทบูร เป็นถนนเก่าที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ วิถีชุมชน ศิลปวัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมเก่าแก่ ที่มาความเป็นมานานมากกว่า 300 ปี เป็นชุมชนที่เคยเป็นศูนย์กลางการค้าที่ใหญ่ที่สุด มีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด โดยมีการพยายามอนุรักษ์ไว้ให้อยู่ในสภาพเดิม เพื่อให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ที่เหมือนได้ย้อนกลับไปในอดีต
ห่างออกไป ประมาณ: 0.5 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
โบสถ์คาทอลิกจันทบุรี เป็นอีกหนึ่งสถานที่ไฮไลท์ของการท่องเที่ยวในเขตตัวเมืองจันทบุรี เป็นโบสถ์คริสต์ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 100 ปีมีความสวยงามและเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย เปิดให้ผู้คนแวะเข้าไปเยี่ยมชมภายในโบสถ์ได้ มีผู้คนแวะมาถ่ายรูป
ห่างออกไป ประมาณ: 0.5 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
วัดไผ่ล้อม (พระอารามหลวง) เป็นวัดเก่าแก่นานกว่า 200 ปี เป็นสถานที่ที่ยังคงอนุรักษ์ศิลปวัตถุ และโบสถ์เก่าแก่เอาไว้ สามารถแวะเที่ยวชมโบสถ์เก่าแก่ กราบสักการะพระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกที่ประดิษฐานอยู่ภายในวิหารพระพุทธไสยาสน์ เพื่อความเป็นสิริมงคล
ห่างออกไป ประมาณ: 1 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
สวนสาธารณะสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ทุ่งนาเชย) เสมือนเป็นปอดของจังหวัดจันทบุรี เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจขนาดใหญ่ใจกลางเมือง สำหรับเดินเล่น ออกกำลังกาย ที่สำคัญบริเวณเกาะกลางสวน ยังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่เป็นรูปปั้นเดียวกันกับรูปด้านหลังแบ้งค์ยี่สิบเก่า สามารถเดินเข้าไปในเกาะกลางน้ำ กราบสักการะ และถ่ายรูปพระบรมราชานุสาวรีย์ได้
ห่างออกไป ประมาณ: 1.1 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
ศาลหลักเมือง เป็นศาลคู่บ้านคู่เมือง และเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัดจันทบุรี ที่ชาวจันทบุรีเคารพนับถือ ในแต่ละวันจะมีผู้คนมาไหว้ สักการะ ปิดทอง ขอพร ขอให้มีโชคลาภเป็นจำนวนมาก ศาลหลักเมืองอยู่ในตัวเมือง ริมถนนท่าหลวง เป็นจุดที่อยู่ติดกันกับศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หากแวะที่เดียว ก็สามารถสักการะได้ทั้งสองจุด
ห่างออกไป ประมาณ: 1.2 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นสถานที่สำคัญของเมืองจันทบุรี เสมือนเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวจันทบุรี ที่แสดงถึงความศรัทธา และจงรักภักดีที่มีต่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สำหรับผู้ที่เดินทางมาถึงตัวเมืองจันทบุรีแล้ว ไม่ควรพลาดแวะสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลและขอพร
ห่างออกไป ประมาณ: 3.7 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
จุดชมวิวเนินนางพญา เป็นจุดชมวิวที่มีคนพูดถึงมากที่สุด ถือเป็นหนึ่งใน เส้นทางชวนฝัน (Dream Destination) บนถนนเฉลิมบูรพาชลทิต จุดที่สวยที่สุดในภาคตะวันออก ได้เห็นวิวชายฝั่งทะเลแบบกว้างๆ และถนนโค้งสวยๆ ริมชายฝั่งทะเล ราวกับวิวต่างประเทศ โดยจุดชมวิวเนินนางพญานั้น ตั้งอยู่บนถนนเฉลิมบูรพาชลทิต แถวบริเวณหาดคุ้งวิมาน จันทบุรี
ห่างออกไป ประมาณ: 4 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
จุดชมวิวเนินนางพญา เป็นจุดชมวิวที่มีคนพูดถึงมากที่สุด ถือเป็นหนึ่งใน เส้นทางชวนฝัน (Dream Destination) บนถนนเฉลิมบูรพาชลทิต จุดที่สวยที่สุดในภาคตะวันออก ได้เห็นวิวชายฝั่งทะเลแบบกว้างๆ และถนนโค้งสวยๆ ริมชายฝั่งทะเล ราวกับวิวต่างประเทศ โดยจุดชมวิวเนินนางพญานั้น ตั้งอยู่บนถนนเฉลิมบูรพาชลทิต แถวบริเวณหาดคุ้งวิมาน จันทบุรี
ห่างออกไป ประมาณ: 5.4 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
วัดโยธานิมิต เป็นวัดประจำเมืองจันทบุรีในสมัยรัชกาลที่ 3 ครั้งที่เมืองจันทบุรีได้ย้ายมาอยู่ที่ค่ายเนินวง ภายในวัดมีพระคู่บ้านคู่เมือง หรือหลวงพ่อใหญ่ที่เป็นที่เคารพสักการะ สามารถแวะขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคล วัดตั้งอยู่ไม่ไกลจากตัวเมือง ห่างไปเพียง 5 กิโลเมตร ใกล้กับวัดโยธานิมิต ยังสามารถแวะศาลหลักเมืองเก่า ชมป้อมค่าย และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี ที่อยู่ในระแวกเดียวกันได้ด้วย
ห่างออกไป ประมาณ: 5.6 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ที่จัดแสดงและรวบรวมโบราณวัตถุที่นำขึ้นมาจากใต้น้ำ ทั้งในทะเล และแม่น้ำ รวมถึงการจัดแสดงให้เห็นวิธีการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานของนักโบราณคดีใต้น้ำ วิถีชีวิตชาวเรือ และลักษณะของเรือต่างๆ ที่เคยใช้ในประเทศไทย เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ไม่ควรพลาดชม เหมาะกับทุกเพศทุกวัย
ห่างออกไป ประมาณ: 5.7 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
โบราณสถานค่ายเนินวง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ที่มีมานานกว่า 180 ปี เป็นอดีตเมืองเก่าของจันทบุรี และเป็นป้อมปราการที่แข็งแรงที่สุดทางภาคตะวันออกในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ค่ายเนินวงอยู่ไม่ไกลจากตัวเมือง แวะได้สะดวก สามารถขับรถเข้าไปภายในค่ายและชมสถานที่ที่น่าสนใจอื่นๆ ภายในค่ายได้ เช่น ศาลหลักเมืองเก่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี และวัดโยธานิมิต
ห่างออกไป ประมาณ: 6.6 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
วังสวนบ้านแก้ว เป็นวังเก่าแก่ ที่เคยเป็นพระตำหนักสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ที่เคยประทับนานถึง 18 ปี ปัจจุบันได้จัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์ เพื่อให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมท้องถิ่น วังสวนบ้านแก้ว ตั้งอยู่ใกล้ตัวเมือง สามารถแวะเที่ยวชมได้สะดวก
ห่างออกไป ประมาณ: 7 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
วัดพลับ เป็นวัดเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมานานกว่า 250 ปี มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เป็นสถานที่ที่เคยประกอบพิธีทางศาสนาของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และยังคงมีการอนุรักษ์ศิลปะแบบอยุธยาตอนปลายเอาไว้ให้ชมหลายอย่าง วัดพลับอยู่ใกล้ตัวเมืองจันท์ แวะง่าย และยังใกล้สถานที่ท่องเที่ยวอีกหลายแห่ง เช่นค่ายเนินวง พิพิธภัณฑ์สถาน พาณิชย์นาวี เป็นต้น
ห่างออกไป ประมาณ: 7.2 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
จุดชมวิวเนินนางพญา เป็นจุดชมวิวที่มีคนพูดถึงมากที่สุด ถือเป็นหนึ่งใน เส้นทางชวนฝัน (Dream Destination) บนถนนเฉลิมบูรพาชลทิต จุดที่สวยที่สุดในภาคตะวันออก ได้เห็นวิวชายฝั่งทะเลแบบกว้างๆ และถนนโค้งสวยๆ ริมชายฝั่งทะเล ราวกับวิวต่างประเทศ โดยจุดชมวิวเนินนางพญานั้น ตั้งอยู่บนถนนเฉลิมบูรพาชลทิต แถวบริเวณหาดคุ้งวิมาน จันทบุรี
ห่างออกไป ประมาณ: 8.2 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
วัดเขาพลอยแหวน เป็นวัดเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 190 ปี เป็นวัดที่อยู่ใกล้ตัวเมือง ห่างจากตัวเมืองจันท์เพียง 10 กิโลเมตร สามารถแวะกราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุที่รัตนคีรีเจดีย์ และชมพระพุทธบาทจำลองที่อยู่บนยอดเขา และยังได้ชมวิวทิวทัศน์สวยๆ ของเมืองจันท์จากบนยอดเขา
ห่างออกไป ประมาณ: 9.4 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก เป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญในอดีต ที่ยังคงปรากฏหลักฐาน และร่องรอยที่ช่วยสานต่อเรื่องราวทางประวัติศาสตร์สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน เป็นแหล่งความรู้สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาด้านประวัติศาสตร์ และโบราณคดี
ร้านอาหารใกล้เคียง
ห่างออกไป ประมาณ: 0.2 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
ก๋วยเตี๋ยวเจ๊อี๊ด ริมน้ำ เป็นอีกหนึ่งในร้านก๋วยเตี๋ยวทะเลชื่อดังของจังหวัดจันทบุรี เป็นร้านแนะนำสำหรับคนชอบก๋วยเตี๋ยวกั้ง และซีฟู้ดประเภท กุ้ง ปู หมึกไข่ ร้านอยู่ในตัวเมือง แถวชุมชนริมน้ำจันทบูร บริเวณตลาดล่าง เป็นถนนเส้นเล็กๆ ที่รถยนต์เข้าไปไม่สะดวก แต่ก็สามารถจอดรถไว้ที่วัดโรมันคาทอลิก(โบสถ์คาทอลิก) แล้วเดินมาได้ไม่ไกล
ห่างออกไป ประมาณ: 0.4 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
ร้านป้าภา เป็นร้านอาหารประเภทอาหารอีสาน ส้มตำ ไก่ทอด เป็นร้านเล็กๆ ริมถนนสุขาภิบาล (ชุมชนริมน้ำจันทบูร) ได้ชมวิวชิลๆ เน้นบรรยากาศริมน้ำ อาหารรสชาติแซบได้ใจ ราคาอาหารไม่แพงมากนัก ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ สำหรับคนที่กำลังมองหาร้านส้มตำในตัวเมืองจันทบุรี
ห่างออกไป ประมาณ: 0.4 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
ก๋วยเตี๋ยวเจ๊เพ็ญเย็นตาโฟ ตรงหน้าวัดไผ่ล้อม เป็นก๋วยเตี๋ยวที่ดังมากในตัวจังหวัดจันทบุรี ด้วยความอร่อย และกิติศัพท์ในเรื่องก๋วยเตี๋ยวกั้ง/ปู ที่เน้นเครื่องเยอะจนคับชาม จนทำให้หลายคนตามมากิน คนเป็นแฟนพันธ์แท้ก๋วยเตี๋ยวทะเลต้องไม่พลาดชิม
ห่างออกไป ประมาณ: 0.5 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
ก๋วยเตี๋ยวหน้าไปรษณีย์ เป็นร้านก๋วยเตี๋ยวที่คนจันท์ชื่นชอบ ตั้งอยู่ในตัวเมือง อยู่ในตรอกตรงข้ามไปรษณีย์ สาขาจันท์ธานี ก๋วยเตี๋ยวเน้นไปทางก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้น มีทั้งเนื้อและหมู มีดีที่ความหลากหลายของลูกชิ้น และเครื่องต่างๆ ที่สำคัญราคาไม่แพง
ห่างออกไป ประมาณ: 0.5 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
ครัวร่มไม้ริมน้ำ เป็นร้านอาหารบรรยากาศริมแม่น้ำ อยู่ตรงข้ามฝั่งแม่น้ำกับถนนชุมชนริมน้ำจันทบูร ถือว่าใกล้ตัวเมืองมาก เดินทางสะดวก มีที่จอดรถสบาย เหมาะกับการนั่งรับประทานอาหาร รับลม ชมวิวริมแม่นำ้จันทบุรี แบบชิวๆ สบายๆ
ห่างออกไป ประมาณ: 0.6 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
ร้านข้าวต้มสมบูรณ์ เป็นร้านข้าวต้มชื่อดังประจำจังหวัดจันทบุรี เป็นร้านเก่าแก่ที่เปิดมานาน ร้านอยู่บริเวณตลาดซุ้ย ใจกลางเมืองจันทบุรี บรรยากาศแบบร้านตามสั่งริมทางธรรมดา แต่ได้รสชาติอร่อย เมนูอาหารหลากหลาย ได้เยอะ อาหารออกเร็ว ไม่ต้องรอนาน แถมราคาไม่แพง คุ้มค่า เรียกว่าเอาใจคนที่ชอบหาของกินยามดึก ช่วงหัวค่ำคนแน่นร้านแทบทุกวัน
ห่างออกไป ประมาณ: 0.6 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
ร้านซิปังโต้ ถือเป็นร้านอาหารญี่ปุ่นเจ้าแรกในจังหวัดจันทบุรี จึงที่เป็นที่รู้จักกันดี ตั้งอยู่ในตัวเมือง ตอนนี้มี 2 สาขา เป็นร้านอาหารญี่ปุ่นที่อร่อย คุ้มค่า ราคาไม่แพง คนที่มาจันทบุรีแล้วเบื่ออาหารทะเล แต่นึกอยากกินอาหารญี่ปุ่น มักจะนึกถึงร้านซิปังโต้ก่อนเสมอ
ห่างออกไป ประมาณ: 0.6 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
ร้านท่ามาจัน อยู่ในตัวเมือง บนถนนสุขาภิบาล หรือที่รู้จักว่าย่านชุมชนริมน้ำจันทบูร เป็นร้านอาหารแบบนั่งชิวๆ ในบรรยากาศสบายๆ สไตล์ย้อนยุค มีทั้งส่วนริมน้ำ และในห้องแอร์ที่มีการตกแต่งแนวคลาสสิกร่วมสมัย เหมาะกับการนั่งกินข้าว นัดสังสรรค์ นั่งเล่นเพลินๆ จิบเครื่องดื่มเบาๆ เคล้าเสียงเพลง หรือต้องการสร้างความประทับใจให้คนรัก
ห่างออกไป ประมาณ: 0.6 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
ร้านจันทรโภชนา เป็นร้านอาหารพื้นบ้านที่อยู่ใจกลางเมือง เปิดมานานกว่า 50 ปี ใครที่มาจังหวัดจันทบุรี แล้วอยากรู้จักคนจันท์แท้ๆ ต้องแวะมาลองลิ้มชิมอาหารพื้นเมือง ร้านจันทรโภชนา เมนูอาหารของที่ร้าน เป็นอาหารที่หากินได้ยาก มีเมนูที่นำผักผลไม้พื้นเมืองมาดัดแปลงเป็นอาหารจานเด็ดแม้แต่คนจันท์เองยังต้องตามมากินที่นี่
ห่างออกไป ประมาณ: 0.6 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
ร้านก๋วยจั๊บป้าไหม จันทบุรี เป็นร้านก๋วยจั๊บเก่าแก่ บนถนนสุขาภิบาล ในย่านชุมชนริมน้ำจันทบูร ใครผ่านไปผ่านมา จะได้กลิ่นของน้ำซุปสูตรโบราณ หอมเตะจมูกชวนให้หิวตั้งแต่เช้า ร้านก๋วยจั๊บป้าไหม หาไม่ยาก อยู่ใกล้กับศาลเจ้าตั้วเล่าเอี๊ย
ห่างออกไป ประมาณ: 1.1 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
ร้านดรีม สเต็ก เป็นร้านอาหารประเภทอาหารฝรั่ง และสเต็ก ใช้วัตถุดิบคุณภาพดี รสชาติถูกปาก ราคาประหยัด ถูกใจคนไทย ชาวจันทบุรีรู้จักดีว่า หากต้องการกินสเต็กอร่อย ในราคาพอคบได้ ต้องมาที่นี่ ร้านหาง่าย อยู่ในปั๊มเชลล์ จอดรถได้สะดวก
ห่างออกไป ประมาณ: 1.2 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
ชามโต เตี๋ยวต้มยำ เป็นร้านก๋วยเตี๋ยวใกล้ตัวเมือง อยู่ในซอยทางเข้าวัดป่าคลองกุ้ง เป็นร้านก๋วยเตี๋ยวที่มาเขย่าวงการก๋วยเตี๋ยวประเภทซีฟู้ด ด้วยการใส่เครื่องซีฟู้ดแน่นเต็มชาม จนเป็นที่ติดใจ บอกต่อกันไปอย่างรวดเร็ว
ห่างออกไป ประมาณ: 1.4 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
จุดชมวิวเนินนางพญา เป็นจุดชมวิวที่มีคนพูดถึงมากที่สุด ถือเป็นหนึ่งใน เส้นทางชวนฝัน (Dream Destination) บนถนนเฉลิมบูรพาชลทิต จุดที่สวยที่สุดในภาคตะวันออก ได้เห็นวิวชายฝั่งทะเลแบบกว้างๆ และถนนโค้งสวยๆ ริมชายฝั่งทะเล ราวกับวิวต่างประเทศ โดยจุดชมวิวเนินนางพญานั้น ตั้งอยู่บนถนนเฉลิมบูรพาชลทิต แถวบริเวณหาดคุ้งวิมาน จันทบุรี
ห่างออกไป ประมาณ: 1.5 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
ร้านข้าวต้มเห็นแล้วหิว เป็นร้านข้าวต้มรอบดึก อยู่ริมถนนมหาราช ร้านค่อนข้างใหญ่ เห็นชัด หาง่าย มีโต๊ะนั่งเยอะ และยังมีห้องจัดเลี้ยงด้วย เมนูอาหารหลากหลาย เป็นพวกกับข้าว ในลักษณะอาหารตามสั่ง มีรายการอาหารทะเลบ้าง บริการรวดเร็ว และราคาไม่แพง
ห่างออกไป ประมาณ: 1.6 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
ครัวลุงเชย เป็นร้านอาหารที่เปิดมานานกว่า 15 ปี ร้านอยู่ในตัวเมืองจันทบุรี ใกล้กับบริเวณที่ชาวจันท์เรียกว่า แยกเจพี ครัวลุงเชยมีอาหารหลากหลายทั้งแบบกินเล่น กับแกล้ม กับข้าว อาหารทะเล อาหารพื้นบ้าน อาหารใต้ แทบจะครบทุกหมวด อร่อยทุกรายการ เพราะทางร้านใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ สด สะอาด และราคาไม่แพง จึงเป็นที่นิยม กับคนทุกระดับ เหมาะกับการมากินข้าวกับครอบครัว พบปะสังสรรค์ในกลุ่มเพื่อนฝูง เป็นสถานที่นัดเจอที่สะดวก นั่งได้แบบสบายๆ
ห่างออกไป ประมาณ: 1.9 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
ครัวตะลุมบอล ร้านอาหารสไตล์ผับกึ่งเรสทัวรองท์ อยู่ห่างจากตัวเมืองไปหน่อย เป็นร้านที่ตั้งอยู่ในบริเวณสนามบอล บรรยากาศร่มรื่น เหมาะสำหรับการนัดพบ สังสรรค์ แบบสบายๆ หรือมาเป็นแบบครอบครัวก็มีสนามเด็กเล่นในร่ม อาหารรสชาติดี ราคาไม่แพงมาก
ห่างออกไป ประมาณ: 3.9 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
ร้านปั้นจิ้ม เป็นร้านอาหารในแถบท่าแฉลบ บรรยากาศริมแม่น้ำจันทบุรี เป็นร้านเก่าแก่ที่ย้ายมาจากถนนมหาราช ตกแต่งให้ดูทันสมัย เรียบง่าย นั่งสบายแบบชิวๆ เหมาะกับการสังสรร นัดพบปะเพื่อนฝูง และกินข้าวกับครอบครัวในวันพักผ่อน มีสนามเด็กเล่น ห้องคาราโอเกะ ฃมีอาหารให้เลือกหลากหลายประเภท รสชาติอร่อย ในราคามาตรฐาน
ห่างออกไป ประมาณ: 5.1 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
ก๋วยเตี๋ยวหมูเลียงพระยาตรัง เป็นร้านก๋วยเตี๋ยวหมูเลียงที่โด่งดังที่สุดในเขตตัวเมืองจันท์ ใครที่อยากกินก๋วยเตี๋ยวเลียงสูตรต้นตำรับ มักจะนึกถึงร้านที่พระยาตรังเป็นอันดับแรก เพราะเป็นร้านขนาดใหญ่ เปิดมานานกว่า 30 ปี ตกทอดกันมาหลายรุ่น เป็นที่รู้จัก โดยดูได้จากกรอบรูปที่มีดาราและคนดังๆ หลายคนที่เคยแวะมาชิมร้านนี้ ร้านหาไม่ยาก มีที่จอดรถสะดวก
ห่างออกไป ประมาณ: 5.8 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
บ้านปีระกา เป็นร้านอาหารที่อยู่ใกล้มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี (ใกล้กับแยกเขาไร่ยา) ภายในร้านมีบรรยากาศร่มรื่น เงียบสงบท่ามกลางแมกไม้ ร้านอยู่ในรีสอร์ทที่ตกแต่งสวนสไตล์บาหลี เหมาะกับการนั่งสบายๆ เพลินๆ กลางคืนได้บรรยากาศโรแมนติก เมนูอาหาร มีหลากหลายอาหารไทย-อีสาน สเต็ก และอาหารทะเล อาหารรสชาติอร่อย และราคาอาหารไม่แพง
ห่างออกไป ประมาณ: 9 กิโลเมตร
* วัดจากเส้นตรง ไม่ใช่เส้นถนน
ส้มตำเจ๊เก๋อ เนินโพธิ์ เป็นร้านอาหารอีสาน อยู่ในตำบลหนองบัว ที่ค่อนข้างห่างไกลจากตัวเมืองไปสักหน่อย แต่ด้วยกิติศัพท์รสชาติความอร่อย ราคาไม่แพง ทำให้ร้านโด่งดัง เป็นที่รู้จักของบรรดาสาวกส้มตำ และอาหารรสแซบ ต่างแวะเวียนกันมาชิมอย่างไม่ขาดสาย ส้มตำเจ๊เก๋อ เนินโพธิ์ อยู่เส้นทางเดียวกับอู่ต่อเรือพระเจ้าตาก หากแวะไปแถวหนองบัว ต้องไม่พลาดร้านนี้
Tourism Authority of Thailand    Amazing Thailand     Pattaya Concierge     ChonHub     Kanchanaburi dot Co
Copyright © 2016 - 2024 | Ceediz.Com Contact: info@ceediz.com, info.ceediz@gmail.com