โรคภูมิแพ้ทางจมูก เกิดจากอะไร ทำยังไงถึงจะหาย

หัวข้อกระทู้ ใน 'คลังความรู้เรื่องความสวยความงามและสุขภาพ' เริ่มโพสต์โดย Number18, 6 ตุลาคม 2014.

  1. Number18

    Number18 Moderator Staff Member

    โรคภูมิแพ้ทางจมูก เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ" หรือที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่า "โรคแพ้อากาศ" ถือเป็นโรคยอดฮิตอันดับต้นๆ ของคนไทยเลย คนส่วนใหญ่จะคิดว่าเป็นโรคที่ไม่ได้ร้ายแรงใหญ่โตอะไร แค่สร้างความรำคาญ เป็นๆ หายๆ บางคนก็เป็นมาก และมักจะเป็นแบบไม่หายเด็ดขาดซะที อาการที่พบบ่อยก็คือคนที่ตื่นเช้าขึ้นมาจาม หลายๆ ครั้งติดกัน ก็เรียกว่าเป็นพวก "แพ้อากาศ" หรือคนเจอฝุ่นหน่อยก็จาม ก็มักจะเรียกว่า "แพ้ฝุ่น" คนเหล่านี้ก็คือคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ทางจมูก

    โรคภูมิแพ้โดยทั่วไปมีอยู่ 7 อย่าง คือ ภูมิแพ้อาหาร ภูมิแพ้ยา ภูมิแพ้ทางหลอดลม ภูมิแพ้ทางผิวหนัง ภูมิแพ้ทางตา ภูมิแพ้ทางจมูก และการแพ้ในภาวะช็อกรุนแรง ภูมิแพ้ที่เป็นกันมากที่สุดคือโรคภูมิแพ้ทางจมูก พบมากกับคนเมือง ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่แออัด มีควัน และฝุ่นละออง ที่คอยเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการแพ้


    โรคภูมิแพ้ทางจมูก เกิดจากอะไร
    โรคภูมิแพ้ทางจมูก ไม่ใช่โรคติดต่อ สามารถเกิดได้กับทุกเพศ ทุกวัย ปัจจุบันพบกับคนที่อายุน้อยลงเรื่อยๆ และเป็นโรคที่มักจะไม่หายขาด สาเหตุของการเกิดโรคเป็นได้ทั้งจากพันธุกรรม และจากสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเกิดโรค คนที่พ่อแม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกก็มักจะมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ได้ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นภูมิแพ้ในแบบเดียวกัน ส่วนนึงเกิดจากสิ่งแวดล้อม ที่ร่างกายรับสารกระตุ้น และเกิดระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายผิดปกติขึ้นมา

    โรคภูมิแพ้ทางจมูก เกิดขึ้นเมื่อเราหายใจเอาเศษละอองของสิ่งกระตุ้น เป็นละอองเล็กๆ ที่ปะปนอยู่ในอากาศ ที่เราอาจมองไม่เห็น เช่นพวก ฝุ่น ควัน ละอองเกสรดอกไม้ ละอองสารเคมี เมื่อร่างกายได้รับสารกระตุ้น ร่างกายจะเกิดปฏิกิริยาต่อต้านสารนั้น ทำให้เกิดการคันจมูก จาม มีน้ำมูกใสๆ บางคนเป็นเฉพาะตอนตื่นนอนตอนเช้า หรือตอนเจอสิ่งกระตุ้น บางทีก็เป็นแค่ไม่กี่นาที บางทีก็เป็นชั่วโมง คล้ายกับคนเป็นหวัด บางคนมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คันตา คันคอ หู หรือที่เพดานปาก ไอ เจ็บคอ หรือเป็นหวัดเรื้อรัง มีกลิ่นปาก ขอบตาคล้ำ รู้สึกเหนื่อยง่าย หากร่างกายอ่อนแอ ก็อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ เช่นปวดหัว ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมอักเสบ ภาวะหอบหืด จมูกไม่ได้กลิ่น เสียงเปลี่ยน คนที่เป็นมากที่มีโอกาสเกิดอันตรายได้ หากมีอาการหูอื้อ มีเสียงดังในหู แน่นหน้าอก เกิดอาการบวม หายใจไม่ออก เกิดภาวะความดันต่ำ เป็นต้น หากถ้าเป็นกับเด็กเล็กๆ อาจทำให้เด็กมีพัฒนาการช้ากว่าปกติได้

    สารกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ มีหลายชนิดอยู่รอบๆ ตัวเรา ทั้งสารกระตุ้นที่อยู่ภายในบ้าน และนอกบ้าน ซึ่งแล้วแต่ว่าบางคนจะแพ้สารกระตุ้นชนิดไหน ส่วนใหญ่การแพ้ เกิดจากพวก ฝุ่นละออง ไรฝุ่น เชื้อรา ควันบุหรี่ ละอองเกสรดอกไม้ พวกดอกหญ้า ดอกกระถินณรงค์ ดองธูปฤาษี ดอกพญาสัตบรรณ์ ใยพืช เช่นใยนุ่น ขนและรังแคของสัตว์เลี้ยง เช่นขนหมา ขนแมว เป็ด ไก่ นก เศษซากแมลงต่างๆ ภายในบ้าน เช่น แมลงสาบ แมลงวัน

    โรคภูมิแพ้


    ภูมิแพ้หายได้... จริงหรือ




    การรักษาทางการแพทย์
    โรคภูมิแพ้ทางจมูก จะเกิดอาการไม่เท่ากันในแต่ละคน บางคนเป็นนิดหน่อย แต่บางคนเป็นมากถึงขนาดทำงานไม่ได้ น้ำมูกไหลตลอดเวลา คัดจมูก หายใจไม่สะดวก การรักษาอาการภูมิแพ้สามารถทำได้หลายวิธี เช่น

    1. การใช้ยา

    - ยาแก้แพ้จำพวกแอนตี้ฮิสตามีน (Antihistamine) ยาที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine) หรือที่ชาวบ้านชอบเรียกกันว่า "ยาแก้แพ้เม็ดเหลือง" หรือเรียกสั้นๆ ว่า "คลอเฟน" ยานี้ช่วยบรรเทาอาการคัดจมูก ลดน้ำมูก ซึ่งค่อนข้างจะปลอดภัย ได้ผล และราคาไม่แพง ข้อเสียของยาชนิดนี้ก็คือ กินแล้วจะง่วงนอน การใช้ยาจึงต้องควรระมัดระวัง ไม่ใช้ในขณะขับรถ หรือทำงานกับเครื่องจักรกล เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ ปัจจุบันมียาแก้แพ้แบบไม่ทำให้ง่วงนอน เช่น เซทิริซีน (Cetrizine) เฟกโซเฟนาดรีน (Fexofenadrine) ลอราทาดีน (Loratadine) เลโวเซทิริซีน (Levocetirizine) เดสลอราทาดีน (Desloratadine) เป็นต้น ยากลุ่มใหม่นี้ออกฤทธิ์ได้นาน จึงทำให้ไม่ต้องกินวันละหลายครั้ง หากกินยาแก้แพ้แล้วไม่ได้ผล ควรไปพบแพทย์

    - การใช้ยาหยอดจมูก เป็นการบรรเทาอาการคัดจมูกน้ำมูกไหล เป็นยาที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว ทำให้อาการบวมในจมูกยุบลง หายใจสะดวกขึ้น มีผล 4-6 ชั่วโมง การเลือกใช้ยาหยอดจมูกนี้ ควรได้รับคำแนะนำจากคุณหมอก่อน และไม่ควรใช้ยาพ่นเพื่อลดบวมในจมูกติดต่อกันนานเกิน 5 วัน

    - ยาพ่นกลุ่มสเตียรอยด์ ช่วยลดอาการคันจมูก น้ำมูกไหล ได้ผลดี แต่ก็ควรอยู่ในคำแนะนำของแพทย์ ยาพ่นกลุ่มนี้อาจต้องพ่นบ่อยเกือบทุกวัน และอาจมีผลข้างเคียงได้
    (ดูข้อมูลผลข้างเคียงจากยาสเตียรอยด์ได้จาก http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=987)

    2. การฉีดวัคซีนรักษาโรคภูมิแพ้
    เป็นการรักษาโรคภูมิแพ้อีกวิธีนึง โดยการฉีดสารสกัดจากตัวก่อภูมิแพ้ เข้าไปในร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดภูมิต้านทาน การฉีดต้องฉีดทีละน้อย แล้วค่อยๆ เพิ่มปริมาณ และต้องฉีดอย่างต่อเนื่องเป็นเดือน หรือเป็นปี ส่วนใหญ่จะฉีดให้กับคนที่แพ้มาก

    3. การผ่าตัด
    การผ่าตัดเป็นการช่วยบรรเทาการคัดจมูก ให้กับคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ สำหรับคนที่ใช้วิธีการรักษาในแบบต่างๆ แล้วไม่ได้ผล คุณหมออาจแนะนำให้ทำการผ่าตัด ปัจจุบันมีการผ่าตัดโดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ (Radiofrequency Volumetric Tissue Reduction : RFVTR) ซึ่งเป็นการผ่าตัดเล็ก ทำเสร็จแล้วกลับบ้านได้เลย ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล และไม่มีบาดแผลให้เห็นจากภายนอก นิยมใช้กับการลดอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล

    วิธีการก็คือ คุณหมอจะใช้เข็มเล็กๆ แหย่เข้าไปที่เนื้อเยื่อบุจมูก แล้วส่งคลื่นความถี่สูง เป็นระยะเวลา 6 วินาที จำนวน 3 จุดต่อจมูก 1 ข้าง ซึ่งคลื่นความถี่จะกลายเป็นความร้อน ทำให้เนื้อเยื่อรอบๆ สูญเสียสภาพชั้นใต้เยื่อบุบางส่วน ต่อมาจะเกิดเนื้อเยื่อที่เป็นพังผืด ทำให้มีการหดตัว โพรงจมูกก็จะโล่งขึ้น หายใจได้สะดวกขึ้น และยังช่วยทำให้ต่อมสร้างน้ำมูก สร้างน้ำมูกลดลง การผ่าตัดโดยใช้คลื่นความถี่วิทยุนี้สามารถลดอาการคัดจมูกได้ดี และมีผลอยู่นาน 6 เดือน - 2 ปี
    (ข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท 3)
  2. Number18

    Number18 Moderator Staff Member

    การดูแล และการป้องกันโรคภูมิแพ้
    คนเป็นโรคภูมิแพ้ ควรดูแลตัวเองให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอ และหาทางป้องกันตัวเองจากสิ่งที่ทำให้แพ้ ซึ่งได้แก่

    1. การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงกิน อาหารที่มีประโยชน์ รับประทานผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ฝรั่ง ส้ม พักผ่อนเพียงพอ ที่สำคัญมากๆ คือการออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้มากขึ้น หลายคนเป็นภูมิแพ้ แต่ไม่ต้องไปหาหมอ เพราะแค่หาเวลา เพียงวันละ 20 - 30 นาที เดินแบบไม่หยุด วิ่งวันละ 15 - 20 นาที หรือว่ายน้ำ ออกกำลังกายบ่อยๆ ช่วยให้โรคภูมิแพ้หายไปได้เองด้วย

    2. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้สิ่งกระตุ้นเช่น คนแพ้ละอองเกสรดอกไม้ ไม่ควรประดับบ้านด้วยดอกไม้ หรืออยู่ใกล้แหล่งที่มีดอกไม้ ซึ่งอาจมีละอองเกสรดอกไม้ปลิวกระจายอยู่ในอากาศ คนที่แพ้ควันบุหรี่ ก็ควรอยู่ห่างจากคนที่สูบบุหรี่ แพ้ไรฝุ่น ก็ควรหาวิธีกำจัดไรฝุ่นภายในบ้าน

    3. สร้างสุขลักษณะที่ดีภายในบ้าน
    จัดการ สิ่งแวดล้อมเพื่อจัดการกับสิ่งกระตุ้นการแพ้ เช่น คนที่แพ้ฝุ่น ก็ต้องทำความสะอาดบ้าน โดยเฉพาะในห้องนอน ควรทำความสะอาดหมอน ที่นอน พัดลม แอร์ เพื่อให้มีฝุ่นน้อยที่สุด ใช้วิธีการดูดฝุ่นด้วยเครื่องดูดฝุ่น หรือการถูพื้นด้วยผ้าหมาดๆ แทนการกวาดให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย ใช้ผ้าปิดจมูก ปาก เพื่อเลี่ยงฝุ่น คนที่แพ้ไรฝุ่น ควรทำความสะอาดผ้าห่ม หมอน ที่นอนด้วยนำออกตากแดด หรือนำไปซักบ่อยๆ หากแพ้ขนสัตว์ ก็ควรเลี่ยงการนำสัตว์มาเลี้ยงในบ้าน เป็นต้น

    4. การใช้ยาสมุนไพรไทย
    การ รักษาโรคภูมิแพ้ อาจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง คนที่เป็นโรคนี้ควรเสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ให้มีภูมิต้านทาน มีวิตามิน และสมุนไพรบางตัวที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับคนเป็นโรคภูมิแพ้ได้ เช่น กระเทียมอัดแคปซูล ช่วยลดการเกิดภูมิแพ้ อาการเรื้อรังทางระบบทางเดินหายใจ เห็ดหลินจือ ช่วยลดการเป็นภูมิแพ้ได้ เป็นต้น

    ข้อมูลสรรพคุณเห็ดหลินจือ http://www.thairath.co.th/content/353901
    สรรพคุณของกระเทียม http://frynn.com/กระเทียม/

    5. การล้างจมูก
    การ ล้างจมูก เป็นการช่วยทำความสะอาดโพรงจมูก เพื่อลดอาการบวมในจมูก บรรเทาอาการคัดจมูก เพิ่มความชุ่มชื้น และช่วยล้างสิ่งสกปรก น้ำมูก หรือหนองที่อยู่ในโพรงจมูก ทำให้จมูกโล่งขึ้น หายใจสะดวกขึ้น การล้างจมูกสามารถทำเป็นประจำทุกวัน วันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอน ควรล้างจมูกก่อนใช้ยาพ่นจมูก และน้ำยาที่ใช้ล้างจมูกควรสกัดจากธรรมชาติ เช่นสเปรย์น้ำทะเลธรรมชาติที่มีส่วนผสมของวิตามิน B5 หรือใช้น้ำเกลือ Saline Solution 0.9% (ที่ใช้ล้างแผล) การล้างจมูกอาจใช้เป็นสลิ้ง ฉีดน้ำเกลือเข้าไปในจมูก หรือจะใช้อุปกรณ์สำเร็จรูป ที่สามารถล้างจมูกได้ง่ายขึ้น และหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป
    ราคาอุปกรณ์ และน้ำเกลือสำเร็จรูป ประมาณ 140 - 250 บาท/กล่อง (ใช้ได้ 15 ครั้ง)

    วิธี การล้างจมูกในโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ http://www.samitivejhospitals.com/healtharticle_detail/วิธีการล้างจมูกใน โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้_936/th

    รีวิว การล้างจมูกด้วยอุปกรณ์สำเร็จรูป http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=mhunoiii&date=18-12-2013&group=4&gblog=214

    การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ ยูทูป




    การทดสอบโรคภูมิแพ้
    เมื่อ เราไปหาหมอเพื่อให้หมอตรวจการเป็นโรคภูมิแพ้ คุณหมอจะทำการซักประวัติเราก่อนว่า มีคนในครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้รึเปล่า อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการแพ้อากาศหรือไม่ จากนั้นก็จะตรวจคอ หู จมูก ว่าปกติหรือไม่ คนที่จะเข้าทำการทดสอบโรคภูมิแพ้ ควรงดยาแก้แพ้ ยาแก้หวัด แก้คัน ยาลดน้ำมูก ก่อนทำการทดสอบ 7 วัน สำหรับคนที่รับประทานยาเกี่ยวกับโรคหัวใจ โรคความดันสูง ก็ควรแจ้งชื่อยากับแพทย์ก่อน
    การทดสอบโรคภูมิแพ้สามารถทำได้ 2 วิธีคือ

    1. การทดสอบที่ผิวหนังที่ใต้ท้องแขน (Allergy Skin Testing)

    เป็นวิธีการทดสอบโดยนำสารกระตุ้นมาแตะที่ตัวเรา เพื่อดูว่าเราแพ้สารกระตุ้นตัวไหนบ้าง

    - วิธีสะกิดผิวหนัง (Skin prick test)
    เป็น การใช้น้ำยาสกัดจากสารก่อภูมิแพ้บริสุทธิ์หยดลงบนผิวหนัง แล้วใช้เข็มฉีดยาสะกิดให้สารซึมเข้าใต้ชั้นผิวหนัง แบบไม่มีบาดแผล วิธีนี้ทำได้ง่าย และรวดเร็ว บางแห่งจะใช้เป็นพลาสติกปลายแหลม ที่จุ่มสารกระตุ้นทิ่มไปที่ผิวหนังบริเวณท้องแขน ทิ้งไว้เพื่อรอผล 15 นาที ผิวหนังส่วนไหนที่โดนสารกระตุ้นแล้วผิวบริเวณนั้นเกิดการบวมนูนขึ้นมา แสดงว่ามีอาการแพ้สารกระตุ้นชนิดนั้น

    สาร ที่ใช้ในการทดสอบ เป็นสารกระตุ้นหลายประเภท ทั้งที่เป็นสารทั่วไปที่สามารถพบเจอภายในบ้าน และจากสิ่งแวดล้อมนอกบ้าน สารคนไทยมีการแพ้กันมาก ได้แก่ ไรฝุ่น ขนแมว ขนสุนัข แมลงสาบ เชื้อรา เกสรหญ้าแพรก หญ้าพง เกสรดอกกระถินณรงค์ เป็นต้น

    รีวิว การทดสอบแพ้อากาศ 2 ยูทูป


    รีวิว การทดสอบแพ้อากาศ 2 ยูทูป
    www.youtube.com/watch?v=CDKjuVcaYyk

    - วิธีการฉีดเข้าผิวหนัง (Intradermal Test)
    คุณ หมอจะใช้น้ำยาฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ซึ่งเสียเวลา และเจ็บมากกว่า ส่วนใหญ่จะทดสอบด้วยการสะกิดผิวหนังก่อน เมื่อต้องการผลที่แน่ชัดจึงทดสอบด้วยวิธีนี้

    2. การตรวจเลือด (Blood Tests)
    เป็น การตรวจจากผลเลือด เมื่อไม่สามารถตรวจทางผิวหนังได้ ใช้สำหรับคนที่แพ้มาก และเสี่ยงกับการทดสอบทางผิวหนัง การทดสอบด้วยการตรวจเลือด ให้ผลค่อนข้างแน่นอน แต่ใช้เวลารอผลการตรวจนานกว่าการทดสอบทางผิวหนัง

    (ข้อมูลจาก http://www.samitivejhospitals.com/healtharticle_detail/ภูมิแพ้_ตอนที่_3_การตรวจหาสารที่แพ้_1151/th)

แบ่งปันหน้านี้